• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การจ้างงานในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ : กรณีศึกษาอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

by พรทิพย์ อริยปิติพันธ์

Title:

การจ้างงานในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ : กรณีศึกษาอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Other title(s):

The employment in electronic industries : a case study in Bangpakong District, Chacheongsao Province

Author(s):

พรทิพย์ อริยปิติพันธ์

Advisor:

แตงอ่อน มั่นใจตน, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ในการศึกษาการจ้างงานในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ กรณีศึกษาอำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งนี้ มีด้วยกัน 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงสภาพการจ้างงาน 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและ 3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 นายจ้างหรือผู้ประกอบการหรือผู้จัดการฝ่ายบุคคลของโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 15 โรงงาน และกลุ่มที่ 2 ลูกจ้างหรือผู้ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ ของอำเภอดังกล่าว จำนวน 141 คน ซึ่งเลือกตัวอย่างโดย ขั้นแรกทำการเลือกโรงงานแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นต่อมา ทำการเลือกลูกจ้างจากโรงงานที่ได้จากการเลือกในขั้นแรก แบบ Accidental Sampling.
ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้จัดการฝ่ายบุคคลของโรงงาน 15 แห่ง พบว่า.
1) อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการจ้างแรงงานหญิง (60.80 เปอร์เซนต์) มากกว่าแรงงานชาย (39.20 เปอร์เซนต์) แรงงานหญิงและแรงงานชายส่วนมากอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี (54.85 เปอร์เซนต์) โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานระดับล่าง (71.10 เปอร์เซนต์) ซึ่งมีผู้จบการศึกษาระดับมัธยมต้นมากที่สุด (30.60 เปอร์เซนต์) แรงงานทั้งหมดเป็นลูกจ้างประจำ ซึ่งส่วนมากมีอายุการทำงาน 1-2 ปี (36.09 เปอร์เซนต์) และแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานในท้องถิ่น (ภายในอำเภอบางปะกง) (33.30.
2) สัดส่วนของแรงงาน วิศวกร : ช่างเทคนิค : แรงงานอื่น ๆ ของอุตสาหกรรม เป็น 1:5.6:51.2 เมื่อแยกพิจารณาตามประเภทของกลุ่มผลิตภัณฑ์ พบว่า สัดส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็น 1:14.7:84.8 และ สัดส่วนของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ เป็น 1:2:37.
3) สัดส่วนของทุนต่อแรงงานของอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ เท่ากับ 190,030 บาท/คน โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีสัดส่วนทุนต่อแรงงาน เป็น 272,950 บาท/คน ซึ่งสูงกว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ที่มีสัดส่วน เป็น 117,576 บาท/คน
4) สัดส่วนรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม (7,454 บาท/คน/เดือน) เทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของแรงงานในภาคเกษตรกรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา (1,207 บาท/คน/เดือน) เท่ากับ 6.1 : 1.
ผลการศึกษาข้อมูลจากลูกจ้าง 141 คน จาก 6 โรงงาน พบว่า.
1) ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและเข้าสู่อำเภอบางปะกง คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ ค่าจ้าง/เงินเดือนสูง สวัสดิการดี การคมนาคมสะดวกมีรถรับส่ง มีโอกาสก้าวหน้า ได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ฯลฯ.
2) ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายเข้ามาพักอาศัยอยู่ในอำเภอบางปะกงมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสังคม ซึ่งได้แก่ ใกล้ที่ทำงาน สะดวก มีญาติ/เพื่อนอยู่ มีคนชักชวน ลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดจากการเดินทางไกล ฯลฯ.
ผลจากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมของฝ่ายนายจ้างมี 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งเป็นแรงงานวิชาชีพเฉพาะ และแรงงานระดับล่าง ปัญหาการจ่ายค่าจ้างแรงงานสูงสำหรับแรงงานวิชาชีพเฉพาะที่หายาก และปัญหาข้อพิพาทแรงงาน ส่วนปัญหาของฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ ปัญหาเรื่องค่าตอบแทน สภาพแวดล้อมของที่ทำงาน และปัญหาส่วนตัว.
อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่รัฐบาลสามารถส่งเสริมให้มีในภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อช่วยให้เกิดการกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายของแรงงานเข้าสู่กรุงเทพฯได้ แต่รัฐบาลควรมีส่วนเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ เช่น วิศวกร นักคอมพิวเตอร์ โดยการวางแผนการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมประเภทนี้ และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับล่างโดยจัดให้มีการฝึกอบรมแรงงาน ประสานผลประโยชน์และแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ดำเนินการอย่างเข้มงวดในการตรวจสอบและควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งให้มีมาตรการป้องกันมลพิษ

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

แรงงาน -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา -- บางปะกง
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ -- ไทย

Keyword(s):

การจ้างงาน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

17, 163 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1725
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b4840ab.pdf ( 141.27 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b4840.pdf ( 2,711.04 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×