• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การทดสอบประสิทธิผลของสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 3 ชนิด : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ใช้แรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ

by ปราณี ฤกษ์ปาณี

Title:

การทดสอบประสิทธิผลของสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 3 ชนิด : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ใช้แรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ

Other title(s):

The tests of effectiveness of three AIDS educational media : a study of female factory workers in Samutprakan Province

Author(s):

ปราณี ฤกษ์ปาณี

Advisor:

พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

โรคเอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ เพราะเป็นโรคที่เมื่อปรากฏอาการแล้วผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตทุกราย ไม่มียาใดรักษาให้หายได้ แต่สามารถป้องกันได้โดยการให้ความรู้เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ สื่อจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเพราะสื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความรู้จากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยกระบวนการสื่อความหมาย ซึ่งมีสื่อหลายประเภทที่ใช้ในการเผยแพร่ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อให้ความรู้ 3 ชนิด : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ใช้แรงงานสตรีในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้แรงงานสตรี จำนวน 150 คน จาก 3 โรงงาน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 50 คน ต่อ 1 โรงงาน แต่ละกลุ่มจะได้รับการทดลองใช้สื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ต่างกัน ได้แก่ วีดีโอวิชาการ บุคลากรทางแพทย์ และวีดีโอบันเทิง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลองใช้สื่อและหลังการทดลอง โดยใช้เวลาเก็บข้อมูลแต่ละกลุ่มภายใน 1 วัน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้สองประการ คือ ประการแรก หลังการทดลองใช้สื่อแล้ว กลุ่มตัวอย่างทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิดีโอวิชาการ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มวิดีโอบันเทิงจะมีความรู้เพิ่มขึ้น ประการที่สอง สื่อวีดีโอบันเทิงจะเป็นสื่อที่มีประสิทธิผลมากที่สุด สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Chi-Square, One-Way ANOVA, Multiple Classification Analysis และ T-Test Pair และ Means Tables.
ผลการวิจัย พบว่า.
1. ภายหลังการทดลองใช้สื่อ กลุ่มตัวอย่างทั้งสามมีความรู้เพิ่มขึ้น
2. บุคลากรทางการแพทย์เป็นสื่อที่มีประสิทธิผลมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ควรใช้สื่อบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์
2. ควรเพิ่มข้อคำถามในการวัดระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์มากขึ้นในการศึกษาครั้งต่อไป.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

โรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุม
สื่อมวลชนในสุขศึกษา

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

101 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1726
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b5107ab.pdf ( 101.60 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b5107.pdf ( 1,469.52 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×