การประเมินผลการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยของโครงการ ทมก : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
Publisher
Issued Date
1994
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[12, 133] แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กนกวรรณ ศรีวิไลลักษณ์ (1994). การประเมินผลการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยของโครงการ ทมก : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1727.
Title
การประเมินผลการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยของโครงการ ทมก : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
An evaluation on general election campaign of the TIP Project : a case study of election area C Nakornratchasima Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) ที่ศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยการวิจัยเชิงปริมาณจากการวิจัยปฏิบัติการกลุ่มตัวอย่างเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครราชสีมา ช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งครั้งที่ 2 วันที่ 13 กันยายน 2535 มาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ
1. เพื่อศึกษานโยบายและการนำนโยบายด้านการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิฺบัติ
2. เพื่อศึกษาการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยโดยผ่านสื่อมวลชนของโครงการ ท.ม.ก.
3. เพื่อประเมินผลการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของโครงการท.ม.ก. โดยผ่านสื่อมวลชน
แนวคิดในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดการประเมินผลโครงการ แนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวคิดสื่อมวลชนและการรณรงค์เผยแพร่ แนวคิดการวิเคราะห์กระบวนการทางนโยบายโดยตัวแบบการจัดการ และแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง.
ผลการวิจัยพบว่า.
นโยบายการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยของโครงการ ท.ม.ก. มีเป้าหมายหลัก คือ ให้การเลือกตั้งควรบริสุทธิ์ยุติธรรมเป็นที่ยอมรับของประชาชน เป้าหมายรอง คือ ให้มีประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น และกล้าแสดงออกเพื่อความยุติธรรมของการเลือกตั้ง.
ผลการศึกษาในเขตพื้นที่เขตเลืกตั้ง ค. พบว่า.
1. ผลการดำเนินงานของทีมวิจัยปฏิบัติการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีสังคม ประสบผลในระดับที่หนึ่งคือ เป้ารับรู้ แต่เป้าพฤติกรรมไม่บรรลุเป้า เนื่องจากประชาชนไม่กล้ามาแจ้งหรือมาแจ้งแต่ไม่กล้ายืนยัน
2. ผลการดำเนินการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง โครงการ ท.ม.ก. ต่อต้านการซื้อขายเสียง ใน 2 ด้าน ได้แก่
2.1 ด้านการรับรู้ กลุ่มตัวอย่างได้รับรู้และเคยได้ยินเกี่ยวกับโครงการ ท.ม.ก. ผ่านสื่อบุคคลและสื่อมวลชน และไม่รู้รายละเอียดของโครงการ แต่เห็นว่าโครงการมีประโยชน์และมีโอกาสเป็นไปได้
2.2 ด้านพฤติกรรมแจ้งรับ เนื่องจากผลด้านการรับรู้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างไม่รู้รายละเอียดของโครงการ ทำให้ไม่มีพฤติกรรมการแจ้งรับหรือมีน้อย ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องของสื่อที่ถ่ายทอดข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่าง ประสบผลเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งมีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง.
ข้อเสนอแนะ
1. ควรปรับปรุงหรือแก้ไขกระบวนการสื่อหรือขั้นตอนการรณรงค์ให้ชัดเจนโดยเฉพาะบุคลากรหรือสื่อบุคคลผู้มีบทบาทในการถ่ายทอดสื่อได้มากที่สุด ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจสื่อที่ได้รับมามากที่สุด และสามารถถ่ายทอดสื่อได้ผลดีมากที่สุด
2. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาไม่ควรเจาะจงเฉพาะหัวหน้าครัวเรือนอย่างเดียวทำให้ข้อมูลผู้ไปใช้สิทธิคลาดเคลื่อนจากการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจริงมาก ควรศึกษารวมถึงสมาชิกในครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่างด้วย.
3. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การถ่ายทอดและการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยครั้งนี้ไม่ประสบผลถึงขั้นเป้าพฤติกรรมนั้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเกิดความสับสนและไม่มั่นใจในการทำงานของทีมวิจัยอาจเกิดจากความผิดพลาดบางอย่างในกระบวรการและขั้นตอนการเปิดเผยข้อมูลของทีมวิจัย ดังนั้น ควรมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลในด้านการทำงานนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น
2. ผลการดำเนินการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของ โครงการ ท.ม.ก. ต่อต้านการซื้อขายเสียงใน 2 ด้าน ได้แก่
2.1 ด้านการรับรู้ กลุ่มตัวอย่างได้รับรู้และเคยได้ยินเกี่ยวกับโครงการ ท.ม.ก. ผ่านสื่อบุคคลและสื่อมวลชน และไม่รู้รายละเอียดของโครงการ แต่เห็นว่าโครงการมีประโยชน์และมีโอกาสเป็นไปได้
2.2 ด้านพฤติกรรมการแจ้งรับ เนื่องจากผลด้านการรับรู้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างไม่รู้รายละเอียดของโครงการ ทำให้ไม่มีพฤติกรรมการแจ้งจับหรือมีน้อย ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องของสื่อที่ถ่ายทอดข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่าง ประสบผลเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งมีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง.
ข้อเสนอแนะ
1. ควรปรับปรุงหรือแก้ไขกระบวนการสื่อหรือขั้นตอนการรณรงค์ให้ชัดเจนโดยเฉพาะบุคลากร หรือสื่อบุคคลผู้มีบทบาทในการถ่ายทอดสื่อได้มากที่สุด ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจสื่อที่ได้รับมามากที่สุด และสามารถถ่ายทอดได้ผลดีมากที่สุด
2. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาไม่ควรเจาะจงเฉพาะหัวหน้าครัวเรือนอย่างเดียว ทำให้ข้อมูลผู้ไปใช้สิทธิคลาดเคลื่อนจากการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจริงมาก ควรศึกษารวมถึงสมาชิกในครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่างด้วย.
3. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การถ่ายทอดและการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยครั้งนี้ไม่ประสบผลถึงขึ้นเป้าพฤติกรรมนั้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเกิดความสับสนและไม่มั่นใจในการทำงานของทีมวิจัยอาจเกิดจากความผิดพลาดบางอย่างในกระบวนการและขั้นตอนการเปิดเผยข้มูลของทีมวิจัย ดังนั้น ควรมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลในด้านการทำงานนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น
1. เพื่อศึกษานโยบายและการนำนโยบายด้านการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิฺบัติ
2. เพื่อศึกษาการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยโดยผ่านสื่อมวลชนของโครงการ ท.ม.ก.
3. เพื่อประเมินผลการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของโครงการท.ม.ก. โดยผ่านสื่อมวลชน
แนวคิดในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดการประเมินผลโครงการ แนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวคิดสื่อมวลชนและการรณรงค์เผยแพร่ แนวคิดการวิเคราะห์กระบวนการทางนโยบายโดยตัวแบบการจัดการ และแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง.
ผลการวิจัยพบว่า.
นโยบายการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยของโครงการ ท.ม.ก. มีเป้าหมายหลัก คือ ให้การเลือกตั้งควรบริสุทธิ์ยุติธรรมเป็นที่ยอมรับของประชาชน เป้าหมายรอง คือ ให้มีประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น และกล้าแสดงออกเพื่อความยุติธรรมของการเลือกตั้ง.
ผลการศึกษาในเขตพื้นที่เขตเลืกตั้ง ค. พบว่า.
1. ผลการดำเนินงานของทีมวิจัยปฏิบัติการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีสังคม ประสบผลในระดับที่หนึ่งคือ เป้ารับรู้ แต่เป้าพฤติกรรมไม่บรรลุเป้า เนื่องจากประชาชนไม่กล้ามาแจ้งหรือมาแจ้งแต่ไม่กล้ายืนยัน
2. ผลการดำเนินการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง โครงการ ท.ม.ก. ต่อต้านการซื้อขายเสียง ใน 2 ด้าน ได้แก่
2.1 ด้านการรับรู้ กลุ่มตัวอย่างได้รับรู้และเคยได้ยินเกี่ยวกับโครงการ ท.ม.ก. ผ่านสื่อบุคคลและสื่อมวลชน และไม่รู้รายละเอียดของโครงการ แต่เห็นว่าโครงการมีประโยชน์และมีโอกาสเป็นไปได้
2.2 ด้านพฤติกรรมแจ้งรับ เนื่องจากผลด้านการรับรู้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างไม่รู้รายละเอียดของโครงการ ทำให้ไม่มีพฤติกรรมการแจ้งรับหรือมีน้อย ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องของสื่อที่ถ่ายทอดข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่าง ประสบผลเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งมีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง.
ข้อเสนอแนะ
1. ควรปรับปรุงหรือแก้ไขกระบวนการสื่อหรือขั้นตอนการรณรงค์ให้ชัดเจนโดยเฉพาะบุคลากรหรือสื่อบุคคลผู้มีบทบาทในการถ่ายทอดสื่อได้มากที่สุด ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจสื่อที่ได้รับมามากที่สุด และสามารถถ่ายทอดสื่อได้ผลดีมากที่สุด
2. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาไม่ควรเจาะจงเฉพาะหัวหน้าครัวเรือนอย่างเดียวทำให้ข้อมูลผู้ไปใช้สิทธิคลาดเคลื่อนจากการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจริงมาก ควรศึกษารวมถึงสมาชิกในครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่างด้วย.
3. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การถ่ายทอดและการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยครั้งนี้ไม่ประสบผลถึงขั้นเป้าพฤติกรรมนั้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเกิดความสับสนและไม่มั่นใจในการทำงานของทีมวิจัยอาจเกิดจากความผิดพลาดบางอย่างในกระบวรการและขั้นตอนการเปิดเผยข้อมูลของทีมวิจัย ดังนั้น ควรมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลในด้านการทำงานนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น
2. ผลการดำเนินการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของ โครงการ ท.ม.ก. ต่อต้านการซื้อขายเสียงใน 2 ด้าน ได้แก่
2.1 ด้านการรับรู้ กลุ่มตัวอย่างได้รับรู้และเคยได้ยินเกี่ยวกับโครงการ ท.ม.ก. ผ่านสื่อบุคคลและสื่อมวลชน และไม่รู้รายละเอียดของโครงการ แต่เห็นว่าโครงการมีประโยชน์และมีโอกาสเป็นไปได้
2.2 ด้านพฤติกรรมการแจ้งรับ เนื่องจากผลด้านการรับรู้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างไม่รู้รายละเอียดของโครงการ ทำให้ไม่มีพฤติกรรมการแจ้งจับหรือมีน้อย ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องของสื่อที่ถ่ายทอดข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่าง ประสบผลเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งมีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง.
ข้อเสนอแนะ
1. ควรปรับปรุงหรือแก้ไขกระบวนการสื่อหรือขั้นตอนการรณรงค์ให้ชัดเจนโดยเฉพาะบุคลากร หรือสื่อบุคคลผู้มีบทบาทในการถ่ายทอดสื่อได้มากที่สุด ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจสื่อที่ได้รับมามากที่สุด และสามารถถ่ายทอดได้ผลดีมากที่สุด
2. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาไม่ควรเจาะจงเฉพาะหัวหน้าครัวเรือนอย่างเดียว ทำให้ข้อมูลผู้ไปใช้สิทธิคลาดเคลื่อนจากการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจริงมาก ควรศึกษารวมถึงสมาชิกในครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่างด้วย.
3. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การถ่ายทอดและการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยครั้งนี้ไม่ประสบผลถึงขึ้นเป้าพฤติกรรมนั้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเกิดความสับสนและไม่มั่นใจในการทำงานของทีมวิจัยอาจเกิดจากความผิดพลาดบางอย่างในกระบวนการและขั้นตอนการเปิดเผยข้มูลของทีมวิจัย ดังนั้น ควรมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลในด้านการทำงานนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.