• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

บทบาทของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการจัดการทรัพยากร : ศึกษาเฉพาะกรณีกระเช้าดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

by บุษบา ศิวะสมบูรณ์

Title:

บทบาทของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการจัดการทรัพยากร : ศึกษาเฉพาะกรณีกระเช้าดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

Other title(s):

The role of environmental conservation groups in resource management : a case study of Skyline Project Doi Suthep, Chiang Mai

Author(s):

บุษบา ศิวะสมบูรณ์

Advisor:

วิวัฒน์ชัย อัตถากร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1991

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องบทบาทของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการจัดการทรัพยากร : ศึกษาเฉพาะกรณีกระเช้าลอยฟ้าดอยสุเทพจังหวัดเชียงใหม่นี้ มุ่งที่จะทำความเข้าใจกับบทบาทประชาชนในการจัดการทรัพยากรภายในท้องถิ่น ซึ่งบทบาทนี้แสดงออกมาโดยการรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มการเมืองที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งในที่นี้เรียกว่า กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งกลุ่มนี้พยายามที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายในการจัดการทรัพยากรของรัฐให้เป็นประโยชน์กับกลุ่มของตนและท้องถิ่น โดยอาศัยกรอบคิดเกี่ยวกับการรวมตัวในลักษณะกลุ่มการเมืองที่ไม่เป็นทางการ ตลอดจนทฤษฎีเสริมอื่น ๆ เพื่อตีความและอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการในเชิงประวัติศาสตร์ในการศึกษา ข้อมูลปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นที่ได้จากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงประวัติศาสตร์จากเอกสารต่าง ๆ นอกจากนี้ก็ยังได้มีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในผู้ให้ข่าวสารสำคัญ การสัมภาษณ์แบบสอบถามกับชาวบ้านโดยทั่วไป.
ผลของการศึกษาพบว่าในกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนในท้องถิ่นที่ไม่พอใจต่อการพัฒนาทางการท่องเที่ยวที่ผ่านมาประกอบด้วยกลุ่มต่าง ๆ หลายกลุ่มซึ่งสามารถแบ่งตามแนวคิดในการเข้ามาร่วมกลุ่มเพื่อคัดค้านได้ 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรก คือกลุ่มที่มีปัญญาชนซึ่งก็คือนักวิชาการ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในเชียงใหม่ กลุ่มที่มีความสำคัญมากที่สุดก็คือชมรมเพื่อเชียงใหม่ที่เกิดจากการรวมตัวของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และผู้นำท้องถิ่นบางคนที่มีประสบการณ์ในการคัดค้านกระเช้าลอยฟ้าในปี 2518 ในชมรมเพื่อเชียงใหม่นี้มีโครงสร้างแบบกลุ่มการเมืองที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะการรวมตัวที่หลวม ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้สมาชิกปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การสรรหาสมาชิกมาจากความสัมพันธ์ส่วนตัวของแกนนำของชมรม บทบาทที่สำคัญของชมรมเพื่อเชียงใหม่ในกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็คือเป็นการโต้ตอบข้อมูลที่เกี่ยวกับวิชาการและนิเวศวิทยา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับประชาชนได้ตัดสินใจว่าต้องการโครงการกระเช้าลอยฟ้าหรือไม่
กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่มีแนวคิดการจัดการทรัพยากรดอยสุเทพในเชิงวัฒนธรรมประกอบด้วยประชาชนในท้องถิ่นเชียงใหม่และพระสงฆ์ กลุ่มที่เป็นแกนนำก็คือพระสงฆ์ที่มีโครงสร้างกลุ่มเป็นทางการ กลุ่มนี้เข้าร่วมคัดค้านโครงการสร้างกระเช้าลอยฟ้านั้นเป็นการไม่คำนึงถึงความหมายทางด้านจิตใจของดอยสุเทพที่มีต่อประชาชนและพระสงฆ์ที่อยู่ในท้องถิ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ นั้นมีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์ส่วนบุคคลระหว่างสมาชิกของกลุ่มย่อยต่าง ๆ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือระหว่างกันและกันอยู่เสมอ แต่ละกลุ่มนั้นมีอิสระในการตัดสินใจเคลื่อนไหวคัดค้านของตนเอง แต่เมื่อร่วมมือกันเคลื่อนไหวแล้ว กลุ่มที่เป็นแกนนำก็คือกลุ่มชมรมเพื่อเชียงใหม่และกลุ่มพระสงฆ์ซึ่งเป็นกลุ่มที่เลือกยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวกำหนดวันเวลา ชักชวนให้กลุ่มต่าง ๆ เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวคัดค้านครั้งสำคัญต่าง ๆ.
ส่วนยุทธศาสตร์ที่กลุ่มใช้นั้นสามารถแบ่งตามจุดมุ่งหมายได้ 3 กลุ่ม คือ
1. ยุทธศาสตร์ต่อฝ่ายผู้เสนอโครงการ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพยายามกดดันฝ่ายผู้เสนอโครงการโดยกำหนดคัดค้านสิ่งที่ผู้เสนอโครงการเสนอว่าเป็นผลดีซึ่งจะได้จากการสร้างกระเช้าลอยฟ้าโดยมีการโต้ตอบกันทางด้านข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในเรื่องผลกระทบต่อนิเวศวิทยาดอยสุเทพ และโดยผ่านกลุ่มพระสงฆ์ซึ่งมีเครือข่ายสัมพันธ์โยงใยไปถึงประชาชนในอำเภอต่าง ๆ ของเชียงใหม่ ทำให้ได้พลังของประชาชนเข้ามาร่วมคัดค้าน ทำให้ฝ่ายผู้เสนอโครงการนั้นไม่กล้าที่จะลงมือสร้างเนื่องจากอาจจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นดังเช่นที่เกิดขึ้นที่ภูเก็ต
2. ยุทธศาสตร์ต่อประชาชน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพยายามแสดงให้เห็นว่าเป็นกลุ่มที่เป็นตัวแทนของประชาชนในเชียงใหม่โดยมีการรื้อฟื้นวัฒนธรรมเดิมขึ้นมาเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดอยสุเทพให้เกิดขึ้นกับประชาชนเชียงใหม่
3. ยุทธศาสตร์ต่อรัฐ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้พยายามเข้าไปติดต่อกับกลุ่มผนึกอำนาจในรัฐโดยอาศัยความสัมพันธ์เป็นส่วนตัวเพื่อให้เกิดพลังต่อรองกับรัฐ ทำให้รัฐหันมาสนองความต้องการของกลุ่มท้องถิ่นด้วย.
ยุทธศาสตร์ทั้งหลายที่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนำมาใช้นั้นสะท้อนถึงความพยายามของคนในท้องถิ่นที่พยายามสร้างอำนาจต่อรองเพื่อจะเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตน โดยมีพื้นฐานของการเคลื่อนไหวอยู่ที่เครือข่ายความสัมพันธ์ส่วนบุคคลทั้งในการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวคัดค้าน ซึ่งในที่สุดความพยายามของกลุ่มก็ประสบความสำเร็จทำให้ฝ่ายผู้เสนอโครงการกระเช้าลอยฟ้าประกาศระงับโครงการนี้ไป.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.

Subject(s):

การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

Keyword(s):

กระเช้าลอยฟ้าดอยสุเทพ
สิ่งแวดล้อม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

126 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1735
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b2039ab.pdf ( 179.04 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b2039.pdf ( 7,369.97 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×