• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของพ่อในมุมมองของวัยรุ่น : ศึกษากรณีนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

by ชื่นสุข ฤกษ์งาม

Title:

บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของพ่อในมุมมองของวัยรุ่น : ศึกษากรณีนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Expected and actual roles of fathers in the viewpoint of the adolescents : a case study of secondary school students in Bangkok

Author(s):

ชื่นสุข ฤกษ์งาม

Advisor:

ทิพวรรณ กิตติวิบูลย์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพ่อในสังคมปัจจุบัน ตามความคิดเห็นและการรับรู้ของวัยรุ่น โดยศึกษาทั้งบทบาทที่วัยรุ่นคาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริง แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน นอกจากนี้ ยังศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของพ่อด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 364 คน เป็นเพศชาย 170 คน หญิง 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง.
ส่วนที่ 2 แบบวัดบทบาทของพ่อ
ส่วนที่ 3 แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างพ่อกับแม่
ส่วนที่ 4 แบบวัดสุขภาพจิต
ผลการศึกษา พบว่า บทบาทของพ่อในสังคมปัจจุบันมีลักษณะเป็นบทบาทพ่อแบบสมัยใหม่ คือ เป็นทั้งผู้หาเลี้ยงครอบครัวและมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูก นอกจากนี้นักเรียนวัยรุ่นก็ยังมีความคาดหวังในบทบาทของพ่อสูงกว่าบทบาทของพ่อปฏิบัติจริง เมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่า วัยรุ่นหญิงมีความคาดหวังในบทบาทพ่อสูงกว่าวัยรุ่นชาย โดยเฉพาะบทบาทแบบการแสดงออก (Expressive Role) ส่วนบทบาทที่ปฏิบัติจริงของพ่อนั้น ทั้งวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิงมีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน
สำหรับปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริง ได้แก่ ระดับการศึกษาของพ่อ สัมพันธภาพระหว่างพ่อกับแม่และสุขภาพจิตของวัยรุ่น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว อายุของพ่อ การประกอบอาชีพของแม่ และความใกล้ชิดระหว่างวัยรุ่นกับพ่อนั้น ไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของพ่อ
การศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้พบว่า ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของพ่อ คือ ระดับการศึกษาของพ่อ สัมพันธภาพระหว่างพ่อกับแม่ และสุขภาพจิตของวัยรุ่น จึงน่าจะได้มีการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่ และบทบาทของพ่อ ทั้งโดยในแง่ของผู้ที่กำลังเป็นพ่อเป็นแม่ในปัจจุบัน และวัยรุ่นชายและหญิงที่จะต้องเรียนรู้บทบาทของพ่อเพื่อจะมีพ่อที่ดีมาก ๆ ในสังคมอนาคตต่อไป.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

บิดาและบุตร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

ก-ญ, 86 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1737
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11695ab.pdf ( 97.31 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11695.pdf ( 1,620.59 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×