• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทย

by อุทัยวรรณ กสานติ์สกุล

Title:

ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทย

Other title(s):

Factors affecting the life satisfaction of the aged : a study of the Ministry of Interior retired officers

Author(s):

อุทัยวรรณ กสานติ์สกุล

Advisor:

ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุกับสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ความพอใจในสถานภาพการเงิน การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อน และการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรม3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ
การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมข้าราชการบำนาญมหาดไทย จำนวน 211 คน โดยใช้แบบสอบถามส่งทางไปรษณีย์ ระหว่างวันที่ 14 กันยายน 2536 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2536 สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และ Multiple Regression Analysis วิธี Forward selection โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS+ PC.
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า.
1. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในชีวิตปานกลาง.
2. ความพึงพอใจในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยความพอใจในสถานภาพการเงินมากที่สุด ปัจจัยรองลงมาได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อน การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมตามลำดับ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01.
3. ตัวแปรที่มีความสำคัญในการร่วมกันพยากรณ์ระดับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุตามลำดับคือ ความพอใจในสถานภาพการเงิน การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรม การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพ และความสัมพันธ์ในครอบครัว ตัวแปรกลุ่มนี้สามารถพยากรณ์ระดับความพึงพอใจในชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 52 (R2 = .52)
ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ ให้หน่วยงานของรัฐเป็นแกนกลางในการประสานงานสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับข้าราชการบำนาญ ทำให้เกิดความพึงพอใจในชีวิตมากขึ้น อันนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

ผู้สูงอายุ -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี

Resource type:

Thesis

Extent:

7, 78 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1738
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-ths-b9384.pdf ( 1,320.54 KB )

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
nida-ths-b9384ab.pdf ( 79.13 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [522]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×