• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน : กรณีศึกษาหมู่บ้านสามทองและหมู่บ้านตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

by วนิดา ลิ้มจิตสมบูรณ์

Title:

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน : กรณีศึกษาหมู่บ้านสามทองและหมู่บ้านตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Other title(s):

Factors affecting the efficiency of village committees : case study of Samthong village and Talingchan village, Muang district Suphanburi

Author(s):

วนิดา ลิ้มจิตสมบูรณ์

Advisor:

รพี สุวรรณะชฎ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์ (1) ลักษณะทั่วไปของคณะกรรมการหมู่บ้านสามทองและคณะกรรมการหมู่บ้านตลิ่งชัน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ กม. หมู่บ้านสามทอง (64 คน) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูง และ กม. หมู่บ้านตลิ่งชัน (65 คน) ซึ่งเป็นคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่ำ ในตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนรวมทั้งสิ้น 129 คน ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการสรุปลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา และใช้วิธีการสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) และแบบวิธีที่มีขั้นตอน (Stepwise Method) เพื่อทดสอบสมมติฐาน
จากผลการศึกษาพบว่า กม. ที่ศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 89.1) เป็นชาย มากกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 36.4) มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 91.5) แต่งงานแล้วและอยู่ด้วยกัน เกือบสามในสี่ (ร้อยละ 73.6) จบการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาปีที่ 4 กม. ที่ศึกษาจำแนกตามตำแหน่ง ประกอบด้วยประธาน (ร้อยละ 1.6) รองประธาน (ร้อยละ 1.6) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ร้อยละ 10.8) กรรมการฝ่ายกิจการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ (ร้อยละ 12.5) กรรมการฝ่ายกิจการปกครอง (ร้อยละ 11.6) กรรมการฝ่ายกิจการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย (ร้อยละ 13.2) กรรมการฝ่ายกิจการคลัง (ร้อยละ 12.4) กรรมการฝ่ายกิจการสาธารณสุข (ร้อยละ 13.2) กรรมการฝ่ายกิจการศึกษาและวัฒนธรรม (ร้อยละ 11.6) กรรมการฝ่ายกิจการสวัสดิการและสังคม (ร้อยละ 11.6) มากกว่าสามในสี่ (ร้อยละ 79.8) ดำรงตำแหน่งในช่วง 1-3 ปี ประมาณหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 25.6) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านระหว่าง 41-50 ปี มากกว่าสามในสี่ (ร้อยละ 77.5) ประกอบอาชีพทำนา น้อยกว่าครึ่ง (ร้อยละ 40.3) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในระหว่าง 2,000-3,000 บาท.
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ กม. ระหว่าง กม. หมู่บ้านสามทอง และ กม. หมู่บ้านตลิ่งชัน พบว่า กม. หมู่บ้านสามทอง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96.9) มีความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของ กม. ในระดับสูง มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 57.8) มีความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของ กม. ในระดับสูง ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53.1) มีลักษณะผู้นำในระดับสูง เกือบสามในสี่ (ร้อยละ 71.9) มีการประสานงานภายในองค์กร กม. ในระดับสูง มากกว่าสามในสี่ (ร้อยละ 84.4) ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูง และส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.9) ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในระดับสูง และ (2) กม. หมู่บ้านตลิ่งชัน สามในสี่ (ร้อยละ 75.4) มีความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของ กม. ในระดับสูง มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 60) มีความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ในระดับสูง มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 61.5) มีลักษณะผู้นำในระดับต่ำ มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 67.7) มีการประสานงานภายในองค์กร กม. ในระดับต่ำ มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 56.9) ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ำ และมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 58.5) ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในระดับต่ำ.
จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ กม. สูงสุดคือ การได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ รองลงมาคือ การได้รับความร่วมมือจากประชาชน ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของ กม. ลักษณะผู้นำของ กม. และความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของ กม. สำหรับการประสานงานภายในองค์กร กม. ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ กม.
ข้อเสนอแนะ
1. ควรกำหนดตำแหน่งและหน้าที่ของ กม. ให้ชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อน เช่น หน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านคือ เป็นประธาน กม. เพียงตำแหน่งเดียว ไม่ควรให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานฝ่ายต่าง ๆ ถึงสามสี่ฝ่าย ทั้งนี้เพราะผู้ใหญ่บ้านมีงานต้องปฏิบัติในหน้าที่ประธาน กม. อยู่แล้วเป็นจำนวนมาก ประธานกรรมการ นอกจากนั้นควรให้ กม. คัดเลือกประธานกรรมการฝ่ายต่าง ๆ จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำหมู่บ้านที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2. ควรให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันที่มีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้านเป็น กม. ในหมู่บ้านนั้น ๆ โดยตำแหน่ง.
3. ควรปรับปรุงคุณสมบัติบางประการของ กม. ให้ข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในหมู่บ้านนั้น ๆ สมัครรับเลือกตั้งเป็น กม. ได้ และควรกำหนดให้มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นควรมีการกำหนดวุฒิการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้าน เพื่อช่วยให้ได้ กม. ที่มีความรู้ความสามารถเข้าร่วมปฏิบัติงาน
4. ควรกำหนดอำนาจของผู้ใหญ่บ้านและอำนาจของ กม. ให้ชัดเจนว่าเรื่องใดเป็นการบริหารภายในหมู่บ้าน ซึ่งผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจพิจารณาได้ด้วยตนเอง และเรื่องใดที่ผู้ใหญ่บ้านจะต้องปรึกษาหารือและได้รับความเห็นชอบจาก กม.
5. ควรมีสวัสดิการหรือสิทธิพิเศษบางประการหรือมีเบี้ยประชุมให้แก่ กม. บ้าง เพื่อเป็นการจูงใจแก่ผู้ที่เป็น กม. และกรรมการฝ่ายปฏิบัติงานอย่างจริงจัง.
6. ควรพัฒนา กม. ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของ กม. ให้ชัดแจ้ง โดยจัดให้มีการฝึกอบรม การไปดูงานในหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
7. ส่งเสริมให้ กม. เข้ามาบริหารงานในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้ทำหน้าที่กำหนดปัญหา วางแผนพัฒนาหมู่บ้าน และปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาตามความต้องการของประชาชนและติดตามผลงานอย่างสม่ำเสมอ
8. ควรให้ประชาชนคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง กม. จากผู้ที่มีคุณลักษณะผู้นำที่เหมาะสม ไม่ใช่ให้ผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้แต่งตั้งเพื่อให้ได้ กม. ที่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่วนรวมมากกว่าเพื่อส่วนตัว.
9. เจ้าหน้าที่ของรัฐควรสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของ กม. อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น ให้คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาที่ กม.ไม่สามารถแก้ไขได้หรือให้ข่าวสารความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน และเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน
10. รัฐควรสนับสนุนให้มีการนำกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาลงสู่หมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ กม. มีความกระตือรือร้นและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา.
11. รัฐควรจัดสรรงบประมาณรายปีที่แน่นอนให้ กม. ไว้ช่วยเหลือหมู่บ้านพัฒนาทุกหมู่บ้าน
12. ควรมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับหน้าที่และความสำคัญของ กม. ในการพัฒนาหมู่บ้านหรือจัดนิทรรศการแสดงผลงานของ กม. ให้แพร่หลาย เพื่อประชาชนจะได้ทราบและมีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาร่วมกับ กม.
13. ควรพัฒนาทัศนคติและค่านิยมของประชาชนให้นิยมวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย ไร้อบายมุข และให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยวิธีกระบวนการทางสังคม (Socialization) ผ่านทางสถาบันครอบครัว โรงเรียน สถาบันศาสนา และทางสื่อมวลชนทุกรูปแบบ.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

คณะกรรมการหมู่บ้าน
การพัฒนาชนบท -- ไทย -- สุพรรณบุรี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

9, 202 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1739
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11694ab.pdf ( 221.04 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11694.pdf ( 3,494.53 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×