การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย รวมกับประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศเกาหลีใต้ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา ระหว่างปี พ.ศ.2523 – 2553 รวมทั้งหมด 31 ปี ซึ่งได้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนรวม กับประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศเกาหลีใต้ มีความสอดคล้องกันในเรื่องระดับการเปิดประเทศ อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง อัตราเงินเฟ้อ และการเปลี่ยนแปลงค่าเงินสกุลท้องถิ่นต่อ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตัวแปรที่มีความสอดคล้องกันตํ่าได้แก่ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เมื่อพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่าความสอดคล้องของตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศต่างๆ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนประเทศที่มีความสอดคล้องกันตํ่าได้แก่ประเทศฟิลิปปินส์ และเมื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องของตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคระหว่างอาเซียน และอาเซียน+3 พบว่าความสอดคล้องของตัวแปรทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน ดังนั้นอาเซียนควรที่จะให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มภายในประเทศสมาชิกมากกว่า และมีระบบกลไกการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกร่วมกัน เพื่อที่จะสามารถพัฒนาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจไปเป็นการใช้เงินตราสกุลร่วมกันในอนาคต
This research aimed at analyzing synchronicity of macroeconomic variables among five ASEAN countries comprising Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore, Thailand and the other three countries comprising Japan, China and South Korea by using time-series secondary data from 1980-2010, totaling 31 years. Data were collected from International Monetary Fund (IMF) and World Bank and analyzed by Pearson Correlation Coefficient. The result reveals that variables which had synchronicity among the ASEAN Plus three countries consisted of degrees of openness, real GDP growth, inflation rate, and the change of local currency per USD, while the variable which has low synchronicity was real interest rate. Also, synchronicity of macroeconomic variables of each country was found at a moderate level except Philippines which had low synchronicity. In addition , ASEAN and ASEAN plus three countries had similar synchronicity of macroeconomic variables. Therefore, ASEAN should place an importance on the unity of country members and have a mutual economic management mechanism in order to develop an economic integration for common currency area in the future.