• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

โครงสร้างอำนาจของชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนชาวอโศก

by ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

Title:

โครงสร้างอำนาจของชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนชาวอโศก

Other title(s):

Community power structure : a case study of Asoke community

Author(s):

ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

Advisor:

ประเสริฐ รักไทยดี, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาโครงสร้างการปกครองในชุมชนชาวอโศก ซึ่งก่อกำเนิดมาจากกลุ่มผู้เลื่อมใสศรัทธาในแนวการสอนพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาของพระโพธิรักษ์ แห่งสำนักสันติอโศก จนกระทั่งมีการรวมตัวกันจัดตั้งชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะ มีการปกครองโดยใช้พระธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว มีการประพฤติปฏิบัติที่ "ทวนกระแส" ค่านิยมโลก เน้นความมัธยัสถ์ ขยัน เสียสละ ไม่สะสม มุ่งสร้างสรรสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ฯลฯ โดยทำการศึกษาตามรูปแบบโครงสร้างอำนาจของชุมชนแบบสังคมมวลชน หรือ Popular Rule Model ซึ่งเน้นเรื่องการอยู่ร่วมกันในชุมชนที่ยึดโยงกันด้วยวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม มีความเท่าเทียมกัน มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย กลมกลืนกับธรรมชาติ มีสำนึกของการเป็นเจ้าของชุมชนและเห็นความสำคัญของการเข้าร่วมในกิจกรรมของชุมชน ยอมรับมติเสียงส่วนใหญ่และมีการกระจายอำนาจออกจากส่วนกลาง ฯลฯ.
จากการศึกษาทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมอโศก กฎระเบียบ วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งได้ทำการออกแบบสอบถามสมาชิกชาวอโศกกว่า 400 ราย ผลปรากฏดังนี้
1. การปกครองในสังคมอโศกแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายฆราวาส มีการจัดโครงสร้างภายในสังคมอย่างเป็นระบบและสอดประสานกัน ทั้งฝ่ายศาสนา ฝ่ายการปกครอง ฝ่ายการพาณิชย์ ฝ่ายการศึกษา และฝ่ายนันทนาการ.
2. สมาชิกชาวอโศกมีลักษณะสังคมมวลชนสูง โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ ร้อยละ 88.5 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้คะแนนอยู่ในระดับสูง.
3. ในการจำแนกชาวอโศกตามความแตกต่างของเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา รายได้ ที่พักอาศัย ระยะเวลาที่มาปฏิบัติธรรม และจำนวนสมาชิกที่ร่วมปฏิบัติธรรมว่ามีความสัมพันธ์กับการมีลักษณะสังคมมวลชนต่างกันหรือไม่ และจากการศึกษาพบว่า มีความแตกต่างในบางกลุ่มและในประเด็นย่อยเท่านั้น คือ
3.1 ลักษณะการไม่จำกัดตนเอง พบว่าชาวอโศกที่มีภูมิลำเนาจาก กทม. มีความจำกัดตนเองมากกว่าชาวอโศกที่มาจากภูมิลำเนาอื่น ๆ.
3.2 ลักษณะการใช้ชีวิตเรียบง่าย พบว่ามีอยู่ในกลุ่มการศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่ากลุ่มการศึกษาอื่น ๆ3.3 กลุ่มมีการยอมรับในเรื่องการกระจายอำนาจ พบว่ากลุ่มที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาและกลุ่มผู้มีรายได้ระหว่าง 3,001-6,000 บาท มีการกระจายอำนาจต่ำสุด
- กลุ่มเกษตรกรและรับจ้างมีความเป็นเจ้าของชุมชน (อโศก) น้อยที่สุด
- กลุ่มที่ปฏิบัติธรรมมาเป็นเวลาต่ำกว่า 5 ปี มีสำนึกของการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนน้อยที่สุด
นอกจากนั้นชาวอโศกจะมีความคล้ายคลึงกันแทบทุกประการ.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

อำนาจชุมชน -- ไทย

Keyword(s):

ชุมชนชาวอโศก

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

11, 137 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1743
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9811ab.pdf ( 98.84 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9811.pdf ( 2,425.84 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×