• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวงสาธารณสุข

by อุทัยวรรณ ศิลปพิพัฒน์

Title:

การบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวงสาธารณสุข

Other title(s):

Personnel administration in southern border area of the Ministry of Public Health

Author(s):

อุทัยวรรณ ศิลปพิพัฒน์

Advisor:

วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและกระบวนการในการบริหารงานบุคคลของระบบราชการไทย โดยเฉพาะระบบการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานสาธารณสุข (2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาของการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวงสาธารณสุข และเสนอแนะมาตรการเชิงการนำนโยบายไปปฏิบัติเกี่ยวกับการสนับสนุนการบริหารงานบุคคล
การรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะจง จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งมี ผู้บริหาร ข้าราชการ ลูกจ้างของหน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัดดังกล่าว รวม 343 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษามีข้อสรุปได้ดังนี้
1) การสรรหาคัดเลือก บรรจุแต่งตั้งและโยกย้าย พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่าบุคลากรไม่พอเพียง ได้เสนอแนะแนวทางแก้ไข คือ ขอยืมตัวข้าราชการจากหน่วยงานอื่นมาช่วยราชการ และมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบ ส่วนคุณสมบัติตามมติครม.มีความเห็นว่า เหมาะสมด้านความประพฤติ บุคลิกลักษณะดี ประวัติการทำงานดี ความสามารถในการปฏิบัติงาน และการเข้ากับประชาชนและระบุว่าไม่มีผลดีในการใช้ระบบอุปถัมภ์ ข้าราชการและลูกจ้างส่วนใหญ่ระบุว่า บุคลากรไม่พอเพียงเช่นเดียวกันโดยเฉพาะตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระดับตำบล และมีการใช้ระบบอุปถัมภ์ โดยเฉพาะระดับจังหวัดและอำเภอเมือง.
2) การเลื่อนตำแหน่ง ผู้บริหารส่วนใหญ่ระบุว่าควรมีการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งให้ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดภาคใต้ก่อน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และเห็นด้วยกับการใช้วิธีสอบแข่งขันและเสนอผลงาน และระบุว่ามีการใช้ระบบอุปถัมภ์ในการเลื่อนตำแหน่งสำหรับข้าราชการและลูกจ้างเกือบทั้งหมด ไม่เคยติดขั้นเงินเดือนและเห็นว่าควรใช้วิธีการสอบแข่งขัน และเสนอผลงานในการเลื่อนตำแหน่ง.
3) รางวัลและการลงโทษ ทั้งผู้บริหารและข้าราชการ เห็นว่าในการพิจารณาความดีความชอบโดยใช้ผลงานดีเด่นเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 2 ขั้นปกติ และ 2 ขั้นพิเศษ
4) การพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารระบุว่า มีแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน ส่วนการประเมินผลการฝึกอบรม หลักสูตร ศอ.บต. พบว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ระดับค่อนข้างมาก ส่วนข้าราชการและลูกจ้าง สองในสาม ระบุว่า ไม่ได้รับการฝึกอบรม ดูงาน ศึกษาต่อ ส่วนการประเมิน ศอ.บต. และระบุว่าได้รับประโยชน์มากจากการปฐมนิเทศ และเห็นว่าจังหวัดเป็นหน่วยงานที่พัฒนาบุคลากรได้ดีที่สุด โดยให้เหตุผลว่าวิทยากรมีความรู้ รู้สภาพปัญหาของพื้นที่ และเป็นวิทยากรมาจากกระทรวงต่าง ๆ ใน จชต.
5) สวัสดิการ ผู้บริหารส่วนใหญ่ระบุว่า มีหลักเกณฑ์ในการจัดบ้านพัก และเป็นไปตามเกณฑ์ สำหรับข้าราชการและลูกจ้าง ส่วนใหญ่ระบุว่ามีเกณฑ์ในการจัดบ้านพัก และเป็นไปตามเกณฑ์ ปัญหาที่ประสบคือ ด้านความปลอดภัย ได้เสนอความเห็นว่า ควรเพิ่มเงินค่าเบี้ยเสี่ยงภัย ค่าเสี่ยงภัยเกี่ยวกับโรคเอดส์ และค่าล่วงเวลา และส่วนใหญ่ระบุว่า สหกรณ์ออมทรัพย์สามารถช่วยแก้ปัญหาสวัสดิการได้มาก
ข้อเสนอแนะโดยทั่วไป ควรใช้ระบบคุณธรรม และควรให้สิทธิพิเศษแก่คนในพื้นที่ กระทรวงควรกระจายอำนาจ การสรรหา คัดเลือก บรรจุ แต่งตั้งและโยกย้าย ให้ส่วนหน่วยงานภูมิภาค และกำหนดอัตรากำลังให้พอเพียงกับปริมาณงาน ควรมีการกระจายโควต้า 2 ขั้นพิเศษ เหรียญพิทักษ์เสรีชน การนับเวลาทวีคูณ และเบี้ยเสี่ยงภัย ให้ทั่วทุกหน่วยงานอย่างเป็นธรรม และควรจัดการปฐมนิเทศสำหรับข้าราชการที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ครั้งแรกให้ทั่วถึง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

การบริหารงานบุคคล -- ไทย (ภาคใต้)
ข้าราชการพลเรือน -- ไทย (ภาคใต้)

Keyword(s):

ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

13, 267, [58] แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1748
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9837ab.pdf ( 144.35 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9837.pdf ( 5,369.75 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×