การประเมินโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : ศึกษากรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเภทมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
1998
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[13], 141 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม
ISBN
9742310564
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อิทธิพล ใจสมัคร (1998). การประเมินโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : ศึกษากรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเภทมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1749.
Title
การประเมินโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : ศึกษากรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเภทมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
The evaluation of Students Loan Fund Project : a case study of private higher education institutions for university in Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องการประเมินโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : ศึกษากรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเภทมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปัจจัยนำเข้าการดำเนินโครงการกองทุนเพื่อการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประกอบด้วย การรับรู้เข้าใจโครงการ การวางแผนและควบคุมของคณะกรรมการกองทุนประจำสถาบัน สมรรถนะองค์กร การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ 2) ประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการศึกษา คือ การศึกษาจากเอกสารควบคู่กับการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานและดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเภทมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเฉพาะ จำนวน 11 สถาบัน มีประชากรทั้งสิ้น 55 คน และมีประชากรกลุ่มตัวอย่างรวม 42 คน คิดเป็นร้อยละ 76.4 ผลการศึกษา ปรากฎว่า ด้านการบริหารและจัดการดำเนินงานโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 1. การรับรู้และเข้าใจโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของผู้ปฏิบัติงานและดำเนินโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมฯ มีการรับรู้ข่าวสารทุกคน โดยรับรู้ข้อมูลจากกองบริการการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยมากที่สุด (ร้อยละ 92.9) ซึ่งเป็นการรับรู้ข่าวสารที่มาจากคู่มือปฏิบัติงานโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมฯ ของทบวงมหาวิทยาลัย สำหรับการเข้าใจโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมฯ ส่วนใหญ่เข้าใจวัตถุประสงค์สอดคล้องตามพระราชบัญญัติ คือ เป็นกองทุนให้กู้ยืมฯ แก่นักศึกษาและนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายการศึกษาและค่าครองชีพระหว่างการศึกษา 2. การวางแผนและควบคุมของคณะกรรมการกองทุนประจำสถาบัน มีการจัดเตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี (ร้อยละ 81.0) โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติงานกองทุนฯ ตามมติคณะกรรมการคือ มุ่งการบริหารงบประมาณให้ครบถ้วนสมบูรณ์ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการและมีการวางแผนและควบคุมการดำเนินตามระเบียบและกระบวนการที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดทุกประการ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการปฏิบัติงานจะจัดตั้งครั้งเดียวแล้วประกาศใช้ตลอดไป มีการสรรหาคณะอนุกรรมการจากคณะหน่วยงานต่าง ๆ และฝ่ายกิจการนักศึกษาควบคู่กันส่วนการปฏิบัติงานคณะอนุกรรมการจะเคร่งครัดระเบียบกฎเกณฑ์เป็นสำคัญ แต่ก็ยังประสบปัญหาการปฏิบัติงานด้านความสมบูรณ์และความ
ชัดเจนของระเบียบและกฎเกณฑ์ เป็นต้นว่า คุณสมบัติผู้ที่มีสิทธิกู้ยืม หลักฐานการกู้ยืม นโยบายเชิงปฏิบัติและการจัดสรรคงบประมาณของทบวงมหาวิทยาลัย 3. การจัดการด้านสมรรถนะองค์กร ในเรื่องความพร้อมของบุคลากรและสถานที่ มีระดับความพร้อมน้อย 4. การจัดประชาสัมพันธ์และเผยแำร่ข่าวสารข้อมูลโครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นการเผยแำร่ด้วยสื่อประเภทโปสเตอร์และบอร์ดข่าวสารเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.6) โดยได้รับสื่อจากทบวงมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.8) ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยจัดส่งให้กระชั้นชิด ทำให้การประชาสัมพันธ์ของฝ่ายกิจการนักศึกษาแต่ละสถาบันมีระยะดำเนินการกระชั้นชิดมากไปด้วย ด้านการดำเนินงานตามกระบวนการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ส่วนใหญ่ฝ่ายกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนดำเนินการตามกระบวนการที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดขั้นตอนไว้เป็นอย่างดีและยึดถือระเบียบของคู่มือปฏิบัติงานที่ทบวงมหาวิทยาลัยจัดส่งให้ขั้นตอนที่เป็นปัญหามาก คือ การพิจารณาคัดเลือกและการสัมภาษณ์ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอกู้ยืมไม่ชัดเจนเท่าใดนักและการสัมภาษณ์ไม่มีกรอบหลักเกณฑ์ ผู้ปฏิบัติงานจะเป็นผู้กำหนดเองเป็นส่วนมาก โดยพิจารณาสัมภาษณ์ประเด็นฐานะเศรษฐกิจด้านรายได้และทรัพย์สินของครอบครัวเป็นหลักสำคัญ สำหรับการประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกและสัมภาษณ์นั้นจะประกาศที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาของแต่ละสถาบันเป็นหลัก ส่วนการทำสัญญานั้นกว่าครึ่งหนึ่งทำสัญญาที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ และอีกเกือบครึ่งให้ทำสัญญาที่ท้องที่ของผู้กู้ยืม เป็นปัญหาต่อกระบวนการตรวจสอบสัญญา ส่วนการติดตามผลของฝ่ายกิจการนักศึกษา ส่วนใหญ่มีการติดตาม ด้านผลการเรียนของผู้กู้และรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกให้ทบวงมหาวิทาลัยรับรู้ แต่ด้านการสำรวจความต้องการเงินกองทุนของนักศึกษา การตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ของผู้กู้ยืมและการพ้นสภาพนักศึกษามีการติดตามน้อยมาก ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาปรากฎว่า ด้านปัจจัยนำเข้าที่เน้นการบริหารและจัดการโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมฯ และด้านกระบวนการดำเนินงานภายใต้กรอบระเบียบคู่มือที่ทบวงมหาวิทยาลัยจัดส่งเป็นสำคัญ ซึ่งมีความหละหลวมและบกพร่องเชิงปฏิบัติหลายประการ จำเป็นต้องแก้ไขและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กล่าวคือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 1) ต้องสร้างความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติโครงการกองทุนเเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีทิศทางเดียวกันทุกสถาบัน 2) ต้องแก้ไขและปรับปรุงระเบียบกฎเกณฑ์
ปฏิบัติงานให้รัดกุมมากขั้น เช่น ความสมบูรณ์และความชัดเจนของหลักฐานขอกู้ คุณสมบัติผู้มีสิทธิกู้ยืม 3) ต้องเพิ่มสมรรถนะการจัดการองค์กรด้านบุคลากรและสถานที่ให้เพียงพอกับปริมาณงาน เพื่อช่วยการปฏิบัติงานให้รวดเร็ว สะดวกยิ่งขึ้น 4) ต้องจัดประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลให้เที่ยงตรง ถูกต้อง รวดเร็ว และเท่าเทียมกันเพื่อนำสู่การปฏิบัติได้โดยตรง ด้านกระบวนการ (Process) 1) ต้องแก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและการสัมภาษณ์ให้มีวิธีการและหลักการพิจารณาตัดสินใจได้ถูกต้อง อาทิ ผลการเรียน รายได้ครอบครัว เป้าหมายสูงสุด เป็นต้น 2) ต้องสร้างกระบวนการและวิธีการทำสัญญาให้รัดกุม รอบคอบ และตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและข้อมูลสัญญาได้ อาทิ ลายมือชื่อ บุคคลค้ำประกัน ต้องสอดคล้องกับหลักฐานการขอกู้ 3) ต้องเร่งดำเนินการติดตามผลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ อาทิ การตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ผู้กู้ยืม การพ้นสภาพนักศึกษา การสำรวจความต้องการเงินกองทุน เพื่อเป็นข้อมูลการวางแผนการดำเนินงานต่อไป 4) ต้องมีโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างเครือข่ายปฏิบัติงานกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งจัดอบรมผู้กู้ยืมให้ตระหนักคุณค่าเงินและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง.
ชัดเจนของระเบียบและกฎเกณฑ์ เป็นต้นว่า คุณสมบัติผู้ที่มีสิทธิกู้ยืม หลักฐานการกู้ยืม นโยบายเชิงปฏิบัติและการจัดสรรคงบประมาณของทบวงมหาวิทยาลัย 3. การจัดการด้านสมรรถนะองค์กร ในเรื่องความพร้อมของบุคลากรและสถานที่ มีระดับความพร้อมน้อย 4. การจัดประชาสัมพันธ์และเผยแำร่ข่าวสารข้อมูลโครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นการเผยแำร่ด้วยสื่อประเภทโปสเตอร์และบอร์ดข่าวสารเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.6) โดยได้รับสื่อจากทบวงมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.8) ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยจัดส่งให้กระชั้นชิด ทำให้การประชาสัมพันธ์ของฝ่ายกิจการนักศึกษาแต่ละสถาบันมีระยะดำเนินการกระชั้นชิดมากไปด้วย ด้านการดำเนินงานตามกระบวนการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ส่วนใหญ่ฝ่ายกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนดำเนินการตามกระบวนการที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดขั้นตอนไว้เป็นอย่างดีและยึดถือระเบียบของคู่มือปฏิบัติงานที่ทบวงมหาวิทยาลัยจัดส่งให้ขั้นตอนที่เป็นปัญหามาก คือ การพิจารณาคัดเลือกและการสัมภาษณ์ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอกู้ยืมไม่ชัดเจนเท่าใดนักและการสัมภาษณ์ไม่มีกรอบหลักเกณฑ์ ผู้ปฏิบัติงานจะเป็นผู้กำหนดเองเป็นส่วนมาก โดยพิจารณาสัมภาษณ์ประเด็นฐานะเศรษฐกิจด้านรายได้และทรัพย์สินของครอบครัวเป็นหลักสำคัญ สำหรับการประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกและสัมภาษณ์นั้นจะประกาศที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาของแต่ละสถาบันเป็นหลัก ส่วนการทำสัญญานั้นกว่าครึ่งหนึ่งทำสัญญาที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ และอีกเกือบครึ่งให้ทำสัญญาที่ท้องที่ของผู้กู้ยืม เป็นปัญหาต่อกระบวนการตรวจสอบสัญญา ส่วนการติดตามผลของฝ่ายกิจการนักศึกษา ส่วนใหญ่มีการติดตาม ด้านผลการเรียนของผู้กู้และรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกให้ทบวงมหาวิทาลัยรับรู้ แต่ด้านการสำรวจความต้องการเงินกองทุนของนักศึกษา การตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ของผู้กู้ยืมและการพ้นสภาพนักศึกษามีการติดตามน้อยมาก ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาปรากฎว่า ด้านปัจจัยนำเข้าที่เน้นการบริหารและจัดการโครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมฯ และด้านกระบวนการดำเนินงานภายใต้กรอบระเบียบคู่มือที่ทบวงมหาวิทยาลัยจัดส่งเป็นสำคัญ ซึ่งมีความหละหลวมและบกพร่องเชิงปฏิบัติหลายประการ จำเป็นต้องแก้ไขและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กล่าวคือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 1) ต้องสร้างความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติโครงการกองทุนเเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีทิศทางเดียวกันทุกสถาบัน 2) ต้องแก้ไขและปรับปรุงระเบียบกฎเกณฑ์
ปฏิบัติงานให้รัดกุมมากขั้น เช่น ความสมบูรณ์และความชัดเจนของหลักฐานขอกู้ คุณสมบัติผู้มีสิทธิกู้ยืม 3) ต้องเพิ่มสมรรถนะการจัดการองค์กรด้านบุคลากรและสถานที่ให้เพียงพอกับปริมาณงาน เพื่อช่วยการปฏิบัติงานให้รวดเร็ว สะดวกยิ่งขึ้น 4) ต้องจัดประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลให้เที่ยงตรง ถูกต้อง รวดเร็ว และเท่าเทียมกันเพื่อนำสู่การปฏิบัติได้โดยตรง ด้านกระบวนการ (Process) 1) ต้องแก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและการสัมภาษณ์ให้มีวิธีการและหลักการพิจารณาตัดสินใจได้ถูกต้อง อาทิ ผลการเรียน รายได้ครอบครัว เป้าหมายสูงสุด เป็นต้น 2) ต้องสร้างกระบวนการและวิธีการทำสัญญาให้รัดกุม รอบคอบ และตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและข้อมูลสัญญาได้ อาทิ ลายมือชื่อ บุคคลค้ำประกัน ต้องสอดคล้องกับหลักฐานการขอกู้ 3) ต้องเร่งดำเนินการติดตามผลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ อาทิ การตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ผู้กู้ยืม การพ้นสภาพนักศึกษา การสำรวจความต้องการเงินกองทุน เพื่อเป็นข้อมูลการวางแผนการดำเนินงานต่อไป 4) ต้องมีโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างเครือข่ายปฏิบัติงานกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งจัดอบรมผู้กู้ยืมให้ตระหนักคุณค่าเงินและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.