การประเมินผลโครงการฝึกอบรมอาชีพ : ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง
Publisher
Issued Date
1998
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[10], 155 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กนิษฐา สุวัตธกุล (1998). การประเมินผลโครงการฝึกอบรมอาชีพ : ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1751.
Title
การประเมินผลโครงการฝึกอบรมอาชีพ : ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง
Alternative Title(s)
The evaluation of vocational training project : a case study of the Welfare and Vocational Training Center for Women in the Gentral Region
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมอาชีพ ของศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานฝึกอบรมอาชีพ และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม วิธีการประเมินผลโครงการฝึกอบรมอาชีพ เป็นการนำแบบจำลอง CIPP มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผล ข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในศูนย์ จำนวน 30 คน และจากผู้สำเร็จการฝึกอบรม รุ่นที่ 20 จำนวน 139 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test ผลการศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของประชากร พบว่า กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในศูนย์ฯ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ครึ่งหนึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่อบรมและฝึกวิชาชีพ และครูฝึกอาชีพสงเคราะห์โดยมีระยะเวลาการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ต่ำกว่า 10 ปี และนอกเหนือจากงานในตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ยังได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานอื่นอีกด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยตรง และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ก็มีความพึงพอใจค่อนข้างมากต่อหน้าที่ที่ปฏิบัติ กลุ่มผู้สำเร็จการฝึกอบรม มีอายุเฉลี่ยประมาณ 19 ปี และจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าโดยส่วนใหญ่มีสถานภาพโสดและเป็นผู้ที่มาจากภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาชีพหลักของครอบครัว คือ เกษตรกรรม ซึ่งครอบครัวมีฐานะพอมีพอกิน 2) การประเมินสภาพแวดล้อม พบว่า สภาพแวดล้อมในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 3) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ความพอเพียงของทรัพยากรด้านต่าง ๆ มีความพอเพียงในระดับปานกลาง 4) การประเมินกระบวนการ พบว่า กระบวนการฝึกอบรมอาชีพด้านต่าง ๆ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 5) การประเมินผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสมในระดับปานกลางทั้งนี้ผลผลิตของโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และความคาดหวังของผู้สำเร็จการฝึกอบรมตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายของกรมประชาสงเคราะห์ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผลผลิตทางอ้อม ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ประกอบอาชีพมีมากขึ้น ลักษณะอาชีพมีความหลากหลาย และจำนวนรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนช่วยลด หรือแก้ปัญหาการว่างงาน การอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานและปัญหาโสเภณี 6) ผลการประเมินความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมอาชีพพบว่า ผลสำเร็จของโครงการ.
ฝึกอบรมอาชีพในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 7) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานฝึกอบรมอาชีพ ได้แก่ ด้านบุคลากร การขาดความรู้ความชำนาญ และจำนวนครูผู้สอนน้อย ด้านผู้เข้ารับการฝึกอบรมปัญหาสำคัญ คือ การลาออกกลางคันของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ปัญหาครอบครัวและการปรับตัว ด้านการฝึกอบรมอาชีพขาดการนำความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการฝึกอบรม รวมทั้งจำนวนวัสดุอุปกรณ์น้อยและไม่ทันสมัย ข้อเสนอแนะ เนื่องจากการดำเนินงานในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลางจึงมีช่องทางที่จะปรับปรุงอีกดังนี้ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการฝึกอบรมอาชีพมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรมีการจัดการด้านวิชาการ โดยการมุ่งส่งเสริมให้ผุ้เข้ารับการฝึกอบรม เกิดการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และความมั่นใจในความรู้ที่ได้รับการฝึกอบรม และการจัดเตรียมสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการฝึกอบรมอาชีพ ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ ควรปรับปรุงให้ทันสมัยและครบถ้วน เอกสาร ตำรา และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในศูนย์ฯ การติดตามและประเมินผลผู้สำเร็จการฝึกอบรมให้พร้อม รัฐบาลควรสนับสนุนส่งเสริมงบประมาณ เพื่อรับสตรีเพิ่มขึ้น และเพื่อจัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการฝึกอบรมอาชีพ รวมทั้งการสนับสนุนองค์กรเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฝึกอบรมอาชีพให้แก่สตรีชนบทที่ยากจน
ฝึกอบรมอาชีพในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 7) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานฝึกอบรมอาชีพ ได้แก่ ด้านบุคลากร การขาดความรู้ความชำนาญ และจำนวนครูผู้สอนน้อย ด้านผู้เข้ารับการฝึกอบรมปัญหาสำคัญ คือ การลาออกกลางคันของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ปัญหาครอบครัวและการปรับตัว ด้านการฝึกอบรมอาชีพขาดการนำความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการฝึกอบรม รวมทั้งจำนวนวัสดุอุปกรณ์น้อยและไม่ทันสมัย ข้อเสนอแนะ เนื่องจากการดำเนินงานในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลางจึงมีช่องทางที่จะปรับปรุงอีกดังนี้ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการฝึกอบรมอาชีพมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรมีการจัดการด้านวิชาการ โดยการมุ่งส่งเสริมให้ผุ้เข้ารับการฝึกอบรม เกิดการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และความมั่นใจในความรู้ที่ได้รับการฝึกอบรม และการจัดเตรียมสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการฝึกอบรมอาชีพ ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ ควรปรับปรุงให้ทันสมัยและครบถ้วน เอกสาร ตำรา และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในศูนย์ฯ การติดตามและประเมินผลผู้สำเร็จการฝึกอบรมให้พร้อม รัฐบาลควรสนับสนุนส่งเสริมงบประมาณ เพื่อรับสตรีเพิ่มขึ้น และเพื่อจัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการฝึกอบรมอาชีพ รวมทั้งการสนับสนุนองค์กรเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฝึกอบรมอาชีพให้แก่สตรีชนบทที่ยากจน
Table of contents
Description
Methodology: T test
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.