• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ความพึงพอใจของผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการบริการทางการแพทย์ ภายในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 : กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

by สมพร ตั้งสะสม

Title:

ความพึงพอใจของผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการบริการทางการแพทย์ ภายในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 : กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

Other title(s):

The satisfaction of insured persons in Bangkok Metropolitan area on medical services under social security act BC 2533 : the case of non-occupational injury or sickness

Author(s):

สมพร ตั้งสะสม

Advisor:

ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกันตน ต่อบริการทางการแพทย์ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของผู้ประกันตนกับระดับความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของผู้ประกันตนต่อการขอรับบริการทางการแพทย์
ผู้วิจัย ได้เก็บรวบรวมจากผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยมีประสบการณ์ ขอรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลสังกัดประกันสังคม จำนวน 340 คน ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้ปัจจัยในการชี้วัด ความพึงพอใจจากการศึกษาของอเดย์ และ แอนเดอร์เซน เป็นหลักตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน คือ 1. ด้านความสะดวกที่ได้รับจากสถานพยาบาล 2. ความหลากหลายของการบริการ 3. อัธยาศัยความสนใจของเจ้าหน้าที่ 4. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย จากเจ้าหน้าที่ 5. การยอมรับคุณภาพของการบริการ 6. ความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการประกันตน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการทางการแพทย์ โดยส่วนรวม อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์แต่ละด้าน ได้แก่ ความหลากหลายของการบริการ อัธยาศัยความสนใจของเจ้าหน้าที่ และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยจากเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับสูง ส่วนความสะดวกที่ได้รับจากสถานพยาบาล การยอมรับคุณภาพของการบริการ และความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการประกันตน กับ ระดับความพึงพอใจต่อบริการทางแพทย์ พบว่า ระดับการศึกษา การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านบริการทางการแทพย์ และประเภทสถานประกอบการ มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ อายุ รายได้ ประสบการณ์ที่เคยใช้บริการจากสถานพยาบาลอื่น ๆ และประเภทสถานพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับด้านปัญหาอุปสรรคต่อการขอรับบริการทางการแพทย์ พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่สะดวกจากสถานพยาบาล เนื่องจาก สถานที่ตั้งของสถานพยาบาลอยู่ไกลจากที่ทำงานและที่พักอาศัย การใช้เวลารอคอยในสถานพยาบาลเสียเวลานาน
จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะว่า สำนักงานประกันสังคม ควรเร่งรัดแก้ไขระเบียบการให้ผู้ประกันตนเป็นผู้เลือกสถานพยาบาลเองโดยเร็ว และควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง โดยแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ควรให้ความสำคัญ คือ สถานประกอบการของผู้ประกันตน

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

ประกันสังคม -- ไทย -- กรุงเทพฯ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

132 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1763
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9859ab.pdf ( 139.09 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9859.pdf ( 2,267.68 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×