• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

โครงสร้างการบริหารราชการและระบบการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้

by สุพรรณี เหลืองเกรียงไกร

Title:

โครงสร้างการบริหารราชการและระบบการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Other title(s):

Bureaucracy organization structure and personnel administrative system in southern border provinces

Author(s):

สุพรรณี เหลืองเกรียงไกร

Advisor:

วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ปัญหาเฉพาะของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ที่มีรูปแบบเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รัฐบาลได้พยายามดำเนินการแก้ไข โดยกำหนดนโยบายเฉพาะเกี่ยวกับการบริหารราชการและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดมา แต่ปัญหาดังกล่าวยังคงอยู่
การวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสาเหตุ เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารราชการ และระบบการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา.
ผลการศึกษาอาจสรุปได้ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างการบริหารราชการ พบว่ามีความหลากหลายในการจัดองค์กรของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ทำให้เกิดความแตกต่างในโครงสร้างและการบริหารงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง.
2. ด้านบทบาทของศอ.ตบ.
3. ด้านระบบการบริหารงานบุคคล พบว่า มีความหลากหลายในการจัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคล ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการบริหารงาน ข้าราชการส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณสมบัติไม่สอดคล้องตามมติครม. การบรรจุแต่งตั้งมาจากส่วนกลาง มีการขอย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม และการขอยืมตัวไปช่วยราชการจำนวนมาก ทำให้ทุกหน่วยงานขาดบุคลากร การพัฒนาบุคคลของศอ.บต. ล่าช้า ไม่สามารถทำการปฐมนิเทศข้าราชการที่บรรจุหรือย้ายมาใหม่ได้หมดในระยะเริ่มแรกของการทำงาน เนื่องจากสถานที่คับแคบ ขาดงบประมาณและบุคลากร สวัสดิการไม่เพียงพอ หลักเกณฑ์ ระเบียบและอัตราที่ได้รับไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถจูงใจให้ข้าราชการมาปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การให้บำเหน็จความชอบประจำปีกรณีพิเศษไม่เป็นธรรม ขาดหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม ทำให้ข้าราชการที่ดีเกิดความท้อแท้ ขาดการกระตือรือร้นในการปฏิฺบัติงาน การลงโทษข้าราชการขาดความจริงจังและความฉับพลันในการสอบสวนและลงโทษ
ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรปรับปรุงบทบาทและแนวทางปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคลที่ไม่ชัดเจน และเหลื่อล้ำ.
2. ควรจัดองค์กรภายในของ ศอ.บต. ใหม่ โดยเน้นบทบาทความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา การเมืองและการปกครองเป็นหลัก บุคลากรที่ปฏิบัติงานในศอ.บต. ควรมีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในปัญหาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของข้าราชการจากการหน่วยงานต่าง ๆ.
3. กระทรวงมหาดไทย ควรประสานงานกับหน่วยราชการในกระทรวงอื่น ให้มีการปฏิบัติตามมติครม. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
4.ศอ.บต. ควรเน้นการพัฒนาบุคลากรทั้งระยะแรกและระหว่างปฏิฺบัติงาน โดยปฐมนิเทศและพัฒนาบุคลากรอย่างครอบคลุมทุกหน่วยงาน
5. ควรเน้นการให้สวัสดิการและประโยชน์อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ทั้งระหว่างหน่วยงานและระหว่างพื้นที่อำเภอภายในจังหวัด
6. ควรพิจารณาสอบสวนและลงโทษข้าราชการที่กระทำความผิดอย่างจริงจังและเฉียบพลัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาการช่วยเหลือและกลั่นแกล้งทำให้เสียสิทธิแก่ข้าราชการ.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

การบริหารรัฐกิจ -- ไทย (ภาคใต้)
การบริหารงานบุคคล -- ไทย (ภาคใต้)

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

[11], 204 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1764
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9808ab.pdf ( 137.71 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9808.pdf ( 3,899.14 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×