โครงสร้างการบริหารราชการและระบบการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Publisher
Issued Date
1994
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[11], 204 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุพรรณี เหลืองเกรียงไกร (1994). โครงสร้างการบริหารราชการและระบบการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1764.
Title
โครงสร้างการบริหารราชการและระบบการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Alternative Title(s)
Bureaucracy organization structure and personnel administrative system in southern border provinces
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ปัญหาเฉพาะของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ที่มีรูปแบบเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รัฐบาลได้พยายามดำเนินการแก้ไข โดยกำหนดนโยบายเฉพาะเกี่ยวกับการบริหารราชการและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดมา แต่ปัญหาดังกล่าวยังคงอยู่
การวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสาเหตุ เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารราชการ และระบบการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา.
ผลการศึกษาอาจสรุปได้ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างการบริหารราชการ พบว่ามีความหลากหลายในการจัดองค์กรของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ทำให้เกิดความแตกต่างในโครงสร้างและการบริหารงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง.
2. ด้านบทบาทของศอ.ตบ.
3. ด้านระบบการบริหารงานบุคคล พบว่า มีความหลากหลายในการจัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคล ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการบริหารงาน ข้าราชการส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณสมบัติไม่สอดคล้องตามมติครม. การบรรจุแต่งตั้งมาจากส่วนกลาง มีการขอย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม และการขอยืมตัวไปช่วยราชการจำนวนมาก ทำให้ทุกหน่วยงานขาดบุคลากร การพัฒนาบุคคลของศอ.บต. ล่าช้า ไม่สามารถทำการปฐมนิเทศข้าราชการที่บรรจุหรือย้ายมาใหม่ได้หมดในระยะเริ่มแรกของการทำงาน เนื่องจากสถานที่คับแคบ ขาดงบประมาณและบุคลากร สวัสดิการไม่เพียงพอ หลักเกณฑ์ ระเบียบและอัตราที่ได้รับไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถจูงใจให้ข้าราชการมาปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การให้บำเหน็จความชอบประจำปีกรณีพิเศษไม่เป็นธรรม ขาดหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม ทำให้ข้าราชการที่ดีเกิดความท้อแท้ ขาดการกระตือรือร้นในการปฏิฺบัติงาน การลงโทษข้าราชการขาดความจริงจังและความฉับพลันในการสอบสวนและลงโทษ
ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรปรับปรุงบทบาทและแนวทางปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคลที่ไม่ชัดเจน และเหลื่อล้ำ.
2. ควรจัดองค์กรภายในของ ศอ.บต. ใหม่ โดยเน้นบทบาทความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา การเมืองและการปกครองเป็นหลัก บุคลากรที่ปฏิบัติงานในศอ.บต. ควรมีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในปัญหาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของข้าราชการจากการหน่วยงานต่าง ๆ.
3. กระทรวงมหาดไทย ควรประสานงานกับหน่วยราชการในกระทรวงอื่น ให้มีการปฏิบัติตามมติครม. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
4.ศอ.บต. ควรเน้นการพัฒนาบุคลากรทั้งระยะแรกและระหว่างปฏิฺบัติงาน โดยปฐมนิเทศและพัฒนาบุคลากรอย่างครอบคลุมทุกหน่วยงาน
5. ควรเน้นการให้สวัสดิการและประโยชน์อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ทั้งระหว่างหน่วยงานและระหว่างพื้นที่อำเภอภายในจังหวัด
6. ควรพิจารณาสอบสวนและลงโทษข้าราชการที่กระทำความผิดอย่างจริงจังและเฉียบพลัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาการช่วยเหลือและกลั่นแกล้งทำให้เสียสิทธิแก่ข้าราชการ.
การวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสาเหตุ เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารราชการ และระบบการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา.
ผลการศึกษาอาจสรุปได้ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างการบริหารราชการ พบว่ามีความหลากหลายในการจัดองค์กรของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ทำให้เกิดความแตกต่างในโครงสร้างและการบริหารงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง.
2. ด้านบทบาทของศอ.ตบ.
3. ด้านระบบการบริหารงานบุคคล พบว่า มีความหลากหลายในการจัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคล ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการบริหารงาน ข้าราชการส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณสมบัติไม่สอดคล้องตามมติครม. การบรรจุแต่งตั้งมาจากส่วนกลาง มีการขอย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม และการขอยืมตัวไปช่วยราชการจำนวนมาก ทำให้ทุกหน่วยงานขาดบุคลากร การพัฒนาบุคคลของศอ.บต. ล่าช้า ไม่สามารถทำการปฐมนิเทศข้าราชการที่บรรจุหรือย้ายมาใหม่ได้หมดในระยะเริ่มแรกของการทำงาน เนื่องจากสถานที่คับแคบ ขาดงบประมาณและบุคลากร สวัสดิการไม่เพียงพอ หลักเกณฑ์ ระเบียบและอัตราที่ได้รับไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถจูงใจให้ข้าราชการมาปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การให้บำเหน็จความชอบประจำปีกรณีพิเศษไม่เป็นธรรม ขาดหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม ทำให้ข้าราชการที่ดีเกิดความท้อแท้ ขาดการกระตือรือร้นในการปฏิฺบัติงาน การลงโทษข้าราชการขาดความจริงจังและความฉับพลันในการสอบสวนและลงโทษ
ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรปรับปรุงบทบาทและแนวทางปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคลที่ไม่ชัดเจน และเหลื่อล้ำ.
2. ควรจัดองค์กรภายในของ ศอ.บต. ใหม่ โดยเน้นบทบาทความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา การเมืองและการปกครองเป็นหลัก บุคลากรที่ปฏิบัติงานในศอ.บต. ควรมีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในปัญหาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของข้าราชการจากการหน่วยงานต่าง ๆ.
3. กระทรวงมหาดไทย ควรประสานงานกับหน่วยราชการในกระทรวงอื่น ให้มีการปฏิบัติตามมติครม. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้
4.ศอ.บต. ควรเน้นการพัฒนาบุคลากรทั้งระยะแรกและระหว่างปฏิฺบัติงาน โดยปฐมนิเทศและพัฒนาบุคลากรอย่างครอบคลุมทุกหน่วยงาน
5. ควรเน้นการให้สวัสดิการและประโยชน์อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ทั้งระหว่างหน่วยงานและระหว่างพื้นที่อำเภอภายในจังหวัด
6. ควรพิจารณาสอบสวนและลงโทษข้าราชการที่กระทำความผิดอย่างจริงจังและเฉียบพลัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาการช่วยเหลือและกลั่นแกล้งทำให้เสียสิทธิแก่ข้าราชการ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.