• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

ทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอน

by วิจิตรา ชัยศรี

ชื่อเรื่อง:

ทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

The attitude of citizen toward tour industry development : a case study of Mae Hongson Province

ผู้แต่ง:

วิจิตรา ชัยศรี

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ประเสริฐ รักไทยดี, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะพัฒนาสังคม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2537

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

เป็นการศึกษาถึงปัจจัยด้านอายุ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่ม/ชมรม และภูมิลำเนาเดิมที่แตกต่างกันว่า จะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นในผลกระทบมิติต่าง ๆ คือ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามประเพณี การศึกษาในเรื่องนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 162 ครัวเรือน ในเขตอำเภอเมือง จำนวน 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังได้ทำการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้นำท้องถิ่น เพื่อที่จะทราบถึงผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยว.
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านอายุ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่ม/ชมรมและภูมิลำเนาเดิมที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อความคิดเห็นในผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ประชาชนส่วนใหญ่มีความไม่แน่ใจว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น ถึงแม้จะมีการสร้างงาน สร้างอาชีพ แต่ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวน้อยมาก ผลทางด้านสังคมประชาชนเห็นว่ามีแนวโน้มของปัญหาการเพิ่มขึ้นของหญิงบริการ สถานเริงรมย์ และปัญหาการลักเล็กขโมยน้อย น่าจะเป็นผลโดยตรงส่วนหนึ่งจากการพัฒนาการท่องเที่ยว สำหรับผลทางด้านวัฒนธรรมนั้นประชาชนไม่แน่ใจว่า การฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี เป็นผลมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว การเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีของประชาชนยังเป็นไปตามประเพณีที่มีมาแต่ดั้งเดิม โดยประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญในกิจกรรมดังกล่าวอยู่
ข้อเสนอแนะ
1. เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และการมีงานทำของประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันพิจารณาหาแนวทางการเตรียมความพร้อมของประชาชนในท้องถิ่นเข้าสู่งานบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ด้วยการฝึกอบรมหรือฝึกฝนความชำนาญบางสาขาที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว.
2. ส่งเสริมให้มีศูนย์ศิลปหัตถกรรมของจังหวัด เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าและควรมีการค้นหาและพัฒนารูปแบบของที่ระลึกที่มีเอกลักษณ์แบบไทยใหญ่ นำไปส่งเสริมให้ชาวบ้านในแหล่งท่องเที่ยวผลิต อาจจะเป็นการประยุกต์ระหว่างศิลปท้องถิ่นกับศิลปแนวใหม่ทำการพัฒนาคุณภาพให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ น่าจะเป็นทางหนึ่งในการสร้างงานอาชีพ.
3. นำเสนอเทศกาลและงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ยังคงเดิมให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงดงาม โดยจัดในรูปแบบของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (cultural tourism) หรือการท่องเที่ยวในรูปแบบของการศึกษาประสบการณ์ทางด้านวิชาการ เช่น ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา ศิลปวัฒนธรรม ผสมผสานกับการเที่ยวชมความงามทางธรรมชาติ จัดเป็นเส้นทางไปตามตำบลและหมู่บ้านต่าง ๆ โดยให้ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวได้รับประโยชน์จากการนำชมหมู่บ้าน จากการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม หรือจากการจัดชุดการแสดงประจำท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้ชม
4. เพื่อจะให้การพัฒนาการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างแท้จริง ในระดับนโยบาย รัฐควรให้ความสำคัญแก่ประชาชนในท้องถิ่นผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยรัฐจะต้องพยายามเชื่อมโยงประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการร่วมพิจารณาตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งถ้าหากรัฐได้มีนโยบายที่เด่นชัดและเข้าใจถึงคุณค่าของทรัพยากรการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ จะทำให้เกิดความสอดคล้อง ทั้งนี้ โดยความร่วมมืออันดีระหว่างฝ่ายการเมือง ราชการ ธุรกิจเอกชนและประชากรในท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวม

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การท่องเที่ยว -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

5, 172 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1765
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (EXCERPT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b11697ab.pdf ( 117.08 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b11697.pdf ( 2,682.72 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×