• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

ประสิทธิผลการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งขององค์กรกลางไปปฏิบัติการ : วิจัยปฏิบัติการเรื่องการนำระบบข่าวสารข้อมูลด้านกว้างและด้านลึกเพื่อแจ้งเตือนผู้ที่อยู่ในข่ายเบาะแสละเมิดกฎหมายเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช

by สาคร บุญอาจ

Title:

ประสิทธิผลการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งขององค์กรกลางไปปฏิบัติการ : วิจัยปฏิบัติการเรื่องการนำระบบข่าวสารข้อมูลด้านกว้างและด้านลึกเพื่อแจ้งเตือนผู้ที่อยู่ในข่ายเบาะแสละเมิดกฎหมายเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช

Other title(s):

The effectiveness of policy implementation on protecting election dishonesty of the Poll Watch Committee : a case study of action research on the use of open and specific target group media of information system for warning the suspected election law violators in election area C Nakornsrithammarath Province

Author(s):

สาคร บุญอาจ

Advisor:

แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ ผู้วิจัยได้เข้าไปร่วมปฏิบัติการในพื้นที่ทดลองเป็นเวลา 1 เดือน โดย มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงผลของการนำระบบข่าวสารข้อมูลด้านกว้างและด้านลึกเพื่อแจ้งเตือนผู้ที่อยู่ในข่ายเบาะแสละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งขององค์กรกลางไปปฏิบัติ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือ หัวคะแนนของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่ในข่ายเบาะแสละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง.
ผลการวิจัยพบว่า.
1. การนำสื่อด้านกว้าง อันได้แก่ โปสเตอร์ สติกเกอร์ สื่อโฆษณาทางทีวีและวิทยุกระจายเสียง ฯลฯ ไปใช้ในการแจ้งเตือนที่ไม่เน้นกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมายใดโดยเฉพาะ พบว่าการใช้สื่อด้านกว้างนั้นส่งผลต่อการรับรู้ของประชาชนอยู่ในระดับหนึ่ง แต่มิได้เกิดผลในด้านการนำไปปฏิบัติ ปัญหาของกลไกการกระจายสื่อด้านกว้างคือความล่าช้าในการส่งไปยังพื้นที่ต่าง ๆ และอาสาสมัครบางส่วนไม่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ต่อ
2. การนำสื่อด้านลึกโดยใช้รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่จำนวน 4 คัน ซึ่งติดคัดเอาท์, เทปบันทึกเสียง, แจกใบปลิว, ติดโปสเตอร์, การปราศรัย ตลอดจนการปรากฏตัวแบบเผชิญหน้า พร้อมทั้งขยายผลการปรากฏตัว ซึ่งเป็นยุทธวิธีแจ้งเตือนที่มีลักษณะเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายและพื้นเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่าสื่อด้านลึกทำให้เกิดผลในการยับยั้งพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของหัวคะแนนไม่ให้กระทำการทุจริตในการเลือกตั้ง.
3. กระบวนการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งขององค์กรกลางไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จได้ด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ
3.1 ด้านความแจ่มชัดในเป้านโยบาย คือ มีเป้าในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 3 ด้านด้วยกันคือ เป้าป้องกันการทุจริต เป้าปราบปรามการทุจริต และเป้าส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุเมื่อพบเห็นผู้กระทำความผิด
3.2 ด้านการมีแผนปฏิบัติการในการแจ้งเตือน ได้มีการประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่สองรอบคือ รอบแรกกระทำในช่วงกลางฤดูการเลือกตั้งในพื้นที่เป้าหมายทุกตำบลใน 5 อำเภอ รอบที่สอง กระทำในช่วงปลายฤดูการเลือกตั้งในพื้นที่เป้าหมายหลัก เพื่อเป็นการตอกย้ำให้หัวคะแนนรับรู้ว่ากำลังถูกองค์กรกลางและมหาดไทยจับตามองอยู่
3.3 ด้านยุทธวิธีในการแจ้งเตือน มีการเลือกรูปแบบการแจ้งเตือนที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมายคือ การปรากฏตัวแบบเผชิญหน้าโดยการสัมภาษณ์หัวคะแนนในพื้นที่อำเภอ ค และดักจับรถขนธนบัตรในพื้นที่อำเภอ ง พร้อมทั้งมีการขยายผลการปรากฏตัวไปยังพื้นที่อำเภอ ก, ข และ จ
3.4 ด้านความพร้อมในทรัพยากรการบริหาร ซึ่งประกอบด้วย อัตรากำลัง งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลา พบว่ามีความเหมาะสม
4. ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งไปปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ
4.1 ด้านคุณภาพโดยการสังเกตพฤติกรรมแบบไม่มีส่วนร่วมจากการสัมภาษณ์หัวคะแนนในพื้นที่อำเภอ ค พบว่า หัวคะแนนส่วนใหญ่มีความหวาดหวั่น เกรงกลัว ระแวงกลัวถูกลงโทษ
4.2 ด้านปริมาณ โดยใช้เป้าชนะเปรียบเทียบกับผลคะแนนที่ผู้สมัครได้รับจากการเลือกตั้ง พบว่า ผู้สมัครของพรรคที่หัวคะแนนถูกแจ้งเตือนได้คะแนนต่ำกว่าเป้าชนะ และพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั้งสามราย เนื่องจากหัวคะแนนส่วนใหญ่หยุดพฤติกรรมการเคลื่อนไหว เพราะเกรงกลัว หวาดหวั่น ระแวง กลัวถูกลงโทษ
สรุปผลการวิจัย.
การนำเอานโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งขององค์กรกลางไปปฏิบัติประสบความสำเร็จได้ ด้วยการนำระบบข่าวสารข้อมูลด้านกว้างและด้านลึก เพื่อแจ้งเตือนประกอบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อด้านลึกนั้น สามารถยับยั้งพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของหัวคะแนนที่ถูกแจ้งเตือน

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

การเลือกตั้ง -- ไทย
หัวคะแนน -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Resource type:

Thesis

Extent:

ก-ช [100], 34 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1768
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-ths-b5084.pdf ( 2,543.48 KB )

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
nida-ths-b5084ab.pdf ( 143.20 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [522]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×