ลักษณะทางพุทธศาสนาและลักษณะทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี
by รุ้งสวรรค์ วรรณสุทธิ์
Title: | ลักษณะทางพุทธศาสนาและลักษณะทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี |
Other title(s): | Buddhist and psychosocial characteristics affected to working behaviors of students of the Rajamangala Institute of Technology, Pathumthani campus |
Author(s): | รุ้งสวรรค์ วรรณสุทธิ์ |
Advisor: | ทิพวรรณ กิตติวิบูลย์, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 1997 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษา ลักษณะทางพุทธศาสนา และลักษณะทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางชีวสังคม กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาว่า ลักษณะทางพุทธศาสนา และลักษณะทางจิตสังคมของนักศึกษา ที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาหรือไม่ / ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับชั้น ปวช. และ ปวส. หรือเทียบเท่าของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี จำนวน 165 คน เป็นนักศึกษาระดับ ปวช. จำนวน 82 คน และระดับ ปวส.หรือเทียบเท่า จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1) แบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม ส่วนที่ 2) แบบวัดลักษณะทางพุทธศาสนา ส่วนที่ 3) แบบวัดลักษณะทางจิตสังคม ได้แก่ แบบวัดความเชื่ออำนาจในตน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดทัศนคติต่ออาชีพการเกษตร แบบวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและ ส่วนที่ 4) แบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานหรือการฝึกปฏิบัติงานเกษตรของนักศึกษา ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรม 5 ด้าน คือพฤติกรรมตรงต่อเวลา พฤติกรรมเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้สอน พฤติกรรมในการปฏิบัติงานเกษตรเพื่อส่วนรวม พฤติกรรมในการปฏิบัติงานเกษตรจนสำเร็จเป็นอย่างดี และพฤติกรรมในการวางแผนการปฏิบัติงานเกษตร แบบวัดพฤติกรรมดังกล่าว มีลักษณะของมาตรประเมินค่า (Rating scale) มีคำตอบให้เลือก 5 ระดับ คือ ปฏิบัติทุกครั้ง ปฏิบัติบ่อย ปฏิบัติค่อนข้างบ่อย ปฏิบัติน้อยครั้ง และไม่เคยปฏิบัติเลย แบบวัดนี้ได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า (Face validity) และมีค่า ความเชื่อถือได้ (Reliability) ของแบบวัดอยู่ในเกณฑ์สูง (ค่า Alpha coefficient เท่ากับ .81) / ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ / 1. พฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติค่อนข้างบ่อย (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.57) และเมื่อพิจารณาในพฤติกรรมย่อย พบว่า พฤติกรรมในการตรงต่อเวลา และพฤติกรรมเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้สอน อยู่ในระดับปฏิบัติบ่อย (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และ 4.01 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมในการวางแบบแผนการปฏิบัติงานเกษตร และพฤติกรรมการปฏิบัติงานเกษตรเพื่อส่วนรวม อยู่ในระดับปฏิบัติค่อนข้างบ่อย (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 และ 3.00 ตามลำดับ) / 2. ลักษณะทางชีวสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน คือ ระดับชั้นการศึกษา โดยพบว่า นักศึกษาระดับ ปวส. มีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานดีกว่านักศึกษาระดับ ปวช. อย่างมี |
Description: |
Methodology: T test, Pearson product moment correlation |
Subject(s): | การปรับพฤติกรรม
การเรียนรู้ (จิตวิทยา) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล -- วิทยาเขตปทุมธานี -- นักศึกษา -- พฤติกรรม |
Resource type: | Thesis |
Extent: | 9, 114 แผ่น ; 30 ซม |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Access rights: | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1778 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View nida-ths-b98494.pdf ( 2,303.56 KB ) |
Files in this item (EXCERPT) |
|
View nida-ths-b98494ab.pdf ( 127.82 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|