องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปริญญาโทของนักศึกษาภาคพิเศษ กทม. คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Publisher
Issued Date
1993
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 144 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กุลวดี ตริยานนท์ (1993). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปริญญาโทของนักศึกษาภาคพิเศษ กทม. คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1780.
Title
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปริญญาโทของนักศึกษาภาคพิเศษ กทม. คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Alternative Title(s)
Factors influencing the academic achievement of the special master degree program students in Bangkok, School of Social Development, National Institute of Development Administration
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางด้านส่วนตัว องค์ประกอบทางด้านเศรษฐกิจ องค์ประกอบทางด้านการเรียน องค์ประกอบด้านการปรับตัว ปัญหาส่วนตัว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสรัางสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาภาคพิเศษ กทม. รุ่น 1 คณะพัฒนาสังคม จำนวน 122 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน ตอนที่หนึ่ง เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวและฐานะทางเศรษฐกิจ ตอนที่สอง เป็นแบบสอบถามด้านทัศนคติและนิสัยในการเรียน ตอนที่สาม เป็นแบบสอบถามด้านการปรับตัว ตอนที่สี่เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว แบบสอบถามตอนที่หนึ่ง เป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบและเติมคำ แบบสอบถามตอนที่สอง สาม และสี่ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการ "การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ"
ผลการศึกษา พบว่า ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์วิชาแนวคิดทฤษฎีทางพัฒนาสังคม คือ เทคนิคการเรียน
ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์วิชาพื้นฐานและกระบวนการนโยบายสังคม คือ ทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาวิชาพื้นฐานและกระบวนการนโยบายสังคม และเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี
ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์วิชาจิตวิทยาสังคมกับการพัฒนา คือ วิธีการทำงานและการปรับตัวกับงาน
ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวม 4 วิชา คือ เทคนิคการเรียน ซึ่งได้สมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน = 10.88564 + .06098 (เทคนิคการเรียน)
ในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า เทคนิคการเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาและโดยรวมของนักศึกษาภาคพิเศษ ดังนั้น การที่จะเรียนให้ได้ผลดี ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในตนเอง มีการวางแผนการเรียน รู้จักแบ่งเวลา มีความเอาใจใส่หมั่นทบทวนบทเรียนและค้นคว้าสม่ำเสมอ นอกจากนี้อาจารย์ประจำรายวิชาหรืออาจารย์ที่ปรึกษา ควรได้มีการสำรวจปัญหาของนักศึกษา หลังจากที่นักศึกษาเข้ามาศึกษาในระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพื่อขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และชี้แนะแนวทางเพื่อให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการศึกษา.
ข้อเสนอแนะของนักศึกษาภาคพิเศษ
ด้านการจัดการเรียนการสอน 1. เสนอให้รับนักศึกษาจำนวนน้อยลง รุ่นละประมาณ 70 คน 2. จัดการเรียนการสอนแบบ 3 วิชา พร้อมกันในแต่ละเทอมแทนการเรียนแบบครั้งละวิชา 3. ไม่ควรเร่งรัดให้นักศึกษาจบเร็ว ทำให้เครียดควรเป็นไปตามกำหนดการเดิม
ด้านหลักสูตร 1. คณะควรพิจารณาหลักสูตรที่ภาคเอกชนนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมได้ 2. ควรฝึกให้นักศึกษาทำวิจัยเดี่ยวบ้าง นอกจากนั้นวิชาวิจัยควรสอนคนเดียว เพื่อป้องกันการสับสน
ด้านอาจารย์ผู้สอน 1. การเรียนการสอนควรมีการสัมมนา เพื่อที่จะได้รับความรู้ความคิดที่หลากหลาย 2. ควรมีการจัดสัมมนาทางวิชาการ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ทางวิชาการ 3. การสอนควรมีการศึกษาดูงาน ทำให้ได้ความรู้ระหว่างทฤษฎีกับความเป็นจริง.
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน ตอนที่หนึ่ง เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวและฐานะทางเศรษฐกิจ ตอนที่สอง เป็นแบบสอบถามด้านทัศนคติและนิสัยในการเรียน ตอนที่สาม เป็นแบบสอบถามด้านการปรับตัว ตอนที่สี่เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว แบบสอบถามตอนที่หนึ่ง เป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบและเติมคำ แบบสอบถามตอนที่สอง สาม และสี่ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการ "การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ"
ผลการศึกษา พบว่า ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์วิชาแนวคิดทฤษฎีทางพัฒนาสังคม คือ เทคนิคการเรียน
ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์วิชาพื้นฐานและกระบวนการนโยบายสังคม คือ ทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาวิชาพื้นฐานและกระบวนการนโยบายสังคม และเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี
ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์วิชาจิตวิทยาสังคมกับการพัฒนา คือ วิธีการทำงานและการปรับตัวกับงาน
ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวม 4 วิชา คือ เทคนิคการเรียน ซึ่งได้สมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน = 10.88564 + .06098 (เทคนิคการเรียน)
ในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า เทคนิคการเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาและโดยรวมของนักศึกษาภาคพิเศษ ดังนั้น การที่จะเรียนให้ได้ผลดี ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในตนเอง มีการวางแผนการเรียน รู้จักแบ่งเวลา มีความเอาใจใส่หมั่นทบทวนบทเรียนและค้นคว้าสม่ำเสมอ นอกจากนี้อาจารย์ประจำรายวิชาหรืออาจารย์ที่ปรึกษา ควรได้มีการสำรวจปัญหาของนักศึกษา หลังจากที่นักศึกษาเข้ามาศึกษาในระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพื่อขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และชี้แนะแนวทางเพื่อให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการศึกษา.
ข้อเสนอแนะของนักศึกษาภาคพิเศษ
ด้านการจัดการเรียนการสอน 1. เสนอให้รับนักศึกษาจำนวนน้อยลง รุ่นละประมาณ 70 คน 2. จัดการเรียนการสอนแบบ 3 วิชา พร้อมกันในแต่ละเทอมแทนการเรียนแบบครั้งละวิชา 3. ไม่ควรเร่งรัดให้นักศึกษาจบเร็ว ทำให้เครียดควรเป็นไปตามกำหนดการเดิม
ด้านหลักสูตร 1. คณะควรพิจารณาหลักสูตรที่ภาคเอกชนนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมได้ 2. ควรฝึกให้นักศึกษาทำวิจัยเดี่ยวบ้าง นอกจากนั้นวิชาวิจัยควรสอนคนเดียว เพื่อป้องกันการสับสน
ด้านอาจารย์ผู้สอน 1. การเรียนการสอนควรมีการสัมมนา เพื่อที่จะได้รับความรู้ความคิดที่หลากหลาย 2. ควรมีการจัดสัมมนาทางวิชาการ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ทางวิชาการ 3. การสอนควรมีการศึกษาดูงาน ทำให้ได้ความรู้ระหว่างทฤษฎีกับความเป็นจริง.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.