สัมฤทธิผลของโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Publisher
Issued Date
1992
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
16, 246 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมพันธ์ เตชะอธิก (1992). สัมฤทธิผลของโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1783.
Title
สัมฤทธิผลของโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Alternative Title(s)
An achievement of the Agricultural Land Arrangement for the Poor in the Deteriorated Reserve Forest in the Northeastern Thailand Project
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ปัญหาการลดลงของทรัพยากรป่าไม่มีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัญหาการขาดที่ดินทำกินของราษฎร ความเชื่อที่ว่าราษฎรเป็นผู้บุกรุกป่าและตั้งบ้านเรือนจนเกิดเป็นชุมชนขึ้น จึงต้องแก้ไขโดยการอพยพโยกย้ายราษฎรออกจากป่า เป็นที่มาอันสำคัญของโครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือชื่อย่อว่า "คจก." ซึ่งได้เริ่มดำเนินการในต้นปี 2534 และยุติโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2535 โดยมีสาเหตุที่สำคัญ จากการคัดค้านของราษฎรจำนวนมากที่ได้รับความเดือนร้อนจากโครงการนี้ แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดในการอพยพราษฎรออกจากป่าก็ยังคงดำรงอยู่
การศึกษาเพื่อประเมินสัมฤทธิผลของโครงการนี้จึงเป็นการสรุปคุณค่าของโครงการอีกครั้งหนึ่ง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาจาก 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านคลองเจริญ อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น และหมู่บ้านโนนสวรรค์ อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ มีครัวเรือนตัวอย่าง 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.8 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
เกณฑ์วัดสัมฤทธิผลของโครงการมี 4 ตัวชี้วัด คือ
1. ความพอใจของประชาชนในเขตอพยพต่อการดำเนินงานตามแผนของโครงการ.
2. คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตอพยพตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
3. ความพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการ.
4. ผลกระทบจากโครงการ.
ผลการศึกษา พบว่า สัมฤทธิผลโดยส่วนรวมของโครงการอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการ ประชาชนไม่พอใจถึงร้อยละ 100 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ใช้ความรุนแรง ข่มขู่และหลอกลวงชาวบ้าน
ผลกระทบด้านภาววิสัยจากโครงการส่วนใหญ่เป็นผลกระทบทางลบ เช่น ชาวบ้านยากจนลง ขาดรายได้ มีหนี้สิน รายจ่ายเพิ่มขึ้น จำนวนที่ดินลดลง ผลผลิตเสียหาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพป่าไม้ ที่ดิน และแหล่งน้ำไม่เหมาะสมและไม่เอื้ออำนวยแก่การดำรงชีวิต
ในด้านอัตตวิสัยก็เกิดผลกระทบทางลบทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ครอบครัวต้องแยกกันอยู่ร้อยละ 29.2 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านที่ถูกอพยพกับทหารและเจ้าหน้าที่โครงการและระหว่างชาวบ้านที่อพยพกับชาวบ้านเจ้าของที่ดินเดิม ตลอดจนชาวบ้านที่อพยพมาด้วยกันเองที่มีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่ยอมรับการอพยพโยกย้ายกับฝ่ายที่คัดค้าน
ในด้านการดำเนินงานตามแผนโครงการ ดูเหมือนจะมีความสำเร็จระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 56 ของชาวบ้าน มีความพอใจในด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในเรื่องการจัดที่ดินทำกินไม่ประสบผลสำเร็จ เรื่องนี้จึงเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ จปฐ. ถึงแม้จะเข้าเกณฑ์ จปฐ. ร้อยละ 50 แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดีหรือปานกลาง เพราะแท้ที่จริงแล้วชาวบ้านประสบความทุกข์ยากกว่าเดิมมาก จากการไม่มีที่ดินทำกินและจากผลกระทบอื่น ๆ.
โดยสรุป จึงน่าจะกล่าวได้ว่า คจก. ไม่สัมฤทธิผลหรือมีสัมฤทธิผลน้อยในทุกตัวชี้วัด การยกเลิก คจก. ของรัฐบาลก็เป็นสิ่งสะท้อนผลการประเมินความล้มเหลวของโครงการได้อีกทางหนึ่งด้วย.
ดังนั้น ในด้านแนวคิด รัฐบาลจึงควรยอมรับแนวความคิดที่ว่าคนสามารถอยู่ร่วมกับป่ามากกว่าที่แยกคนออกจากป่า และไม่ควรยึดแนวคิด "รัฐได้ป่า ประชาได้ที่" เพราะแท้ที่จริงชาวบ้านมีศักยภาพในการอนุรักษ์ป่าไม้ดีกว่ารัฐ
ในระดับนโยบาย ควรให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดที่ดินและอนุรักษ์ป่าควบคู่กันไป ไม่ควรกำหนดแนวเขตป่าอนุรักษ์ที่มีชุมชนอยู่แล้วและไม่ใช่เขตต้นน้ำ ไม่มีพันธุ์สัตว์ป่าให้เป็นป่าอนุรักษ์ รัฐควรส่งเสริมการสร้างสำนึกในการรักษาป่า ให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งควรมีพระราชบัญญัติป่าชุมชนโดยด่วน
ในระดับปฏิบัติมี 3 กรณีคือ กรณีที่ไม่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน ควรให้สิทธิในที่ดินจำนวนเท่าเดิม นั่นคือ ยอมรับสิทธิในที่ดินและให้ชาวบ้านร่วมดูแลป่าได้ในพื้นที่เดิม
กรณีที่ไม่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน แต่หากให้สิทธิในที่ดินจำนวนน้อยกว่าเดิม ควรให้เหลือไม่น้อยกว่าครอบครัวละ 25 ไร่ สำหรับผู้มีที่ดินเกิน 25 ไร่อยู่ก่อนแล้ว และจัดที่ดินร้อยละ 10 สำหรับป่าอนุรักษ์หรือป่าชุมชนหรือจัดสรรให้กับผู้ยากไร้
และกรณีที่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน ควรให้สิทธิในที่ดินจำนวนน้อยกว่าเดิม มีหลายประการ คือ
-พื้นที่รองรับและชาวบ้าน ควรมีความพร้อมก่อนการอพยพโยกย้าย.
-การจัดที่ดินทำกิน ควรให้ผู้อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านที่ต้องอพยพได้รับสิทธิทำกินจนครบก่อน
-พื้นที่ทำกินควรเพาะปลูกได้จริง และเพียงพออย่างน้อย 25 ไร่ และมีที่ปลูกบ้าน 2 งาน โดยรัฐควรพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและส่งเสริมการเกษตร.
การศึกษาเพื่อประเมินสัมฤทธิผลของโครงการนี้จึงเป็นการสรุปคุณค่าของโครงการอีกครั้งหนึ่ง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาจาก 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านคลองเจริญ อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น และหมู่บ้านโนนสวรรค์ อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ มีครัวเรือนตัวอย่าง 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.8 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
เกณฑ์วัดสัมฤทธิผลของโครงการมี 4 ตัวชี้วัด คือ
1. ความพอใจของประชาชนในเขตอพยพต่อการดำเนินงานตามแผนของโครงการ.
2. คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตอพยพตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
3. ความพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการ.
4. ผลกระทบจากโครงการ.
ผลการศึกษา พบว่า สัมฤทธิผลโดยส่วนรวมของโครงการอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการ ประชาชนไม่พอใจถึงร้อยละ 100 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ใช้ความรุนแรง ข่มขู่และหลอกลวงชาวบ้าน
ผลกระทบด้านภาววิสัยจากโครงการส่วนใหญ่เป็นผลกระทบทางลบ เช่น ชาวบ้านยากจนลง ขาดรายได้ มีหนี้สิน รายจ่ายเพิ่มขึ้น จำนวนที่ดินลดลง ผลผลิตเสียหาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพป่าไม้ ที่ดิน และแหล่งน้ำไม่เหมาะสมและไม่เอื้ออำนวยแก่การดำรงชีวิต
ในด้านอัตตวิสัยก็เกิดผลกระทบทางลบทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ครอบครัวต้องแยกกันอยู่ร้อยละ 29.2 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านที่ถูกอพยพกับทหารและเจ้าหน้าที่โครงการและระหว่างชาวบ้านที่อพยพกับชาวบ้านเจ้าของที่ดินเดิม ตลอดจนชาวบ้านที่อพยพมาด้วยกันเองที่มีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่ยอมรับการอพยพโยกย้ายกับฝ่ายที่คัดค้าน
ในด้านการดำเนินงานตามแผนโครงการ ดูเหมือนจะมีความสำเร็จระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 56 ของชาวบ้าน มีความพอใจในด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในเรื่องการจัดที่ดินทำกินไม่ประสบผลสำเร็จ เรื่องนี้จึงเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ จปฐ. ถึงแม้จะเข้าเกณฑ์ จปฐ. ร้อยละ 50 แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดีหรือปานกลาง เพราะแท้ที่จริงแล้วชาวบ้านประสบความทุกข์ยากกว่าเดิมมาก จากการไม่มีที่ดินทำกินและจากผลกระทบอื่น ๆ.
โดยสรุป จึงน่าจะกล่าวได้ว่า คจก. ไม่สัมฤทธิผลหรือมีสัมฤทธิผลน้อยในทุกตัวชี้วัด การยกเลิก คจก. ของรัฐบาลก็เป็นสิ่งสะท้อนผลการประเมินความล้มเหลวของโครงการได้อีกทางหนึ่งด้วย.
ดังนั้น ในด้านแนวคิด รัฐบาลจึงควรยอมรับแนวความคิดที่ว่าคนสามารถอยู่ร่วมกับป่ามากกว่าที่แยกคนออกจากป่า และไม่ควรยึดแนวคิด "รัฐได้ป่า ประชาได้ที่" เพราะแท้ที่จริงชาวบ้านมีศักยภาพในการอนุรักษ์ป่าไม้ดีกว่ารัฐ
ในระดับนโยบาย ควรให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดที่ดินและอนุรักษ์ป่าควบคู่กันไป ไม่ควรกำหนดแนวเขตป่าอนุรักษ์ที่มีชุมชนอยู่แล้วและไม่ใช่เขตต้นน้ำ ไม่มีพันธุ์สัตว์ป่าให้เป็นป่าอนุรักษ์ รัฐควรส่งเสริมการสร้างสำนึกในการรักษาป่า ให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งควรมีพระราชบัญญัติป่าชุมชนโดยด่วน
ในระดับปฏิบัติมี 3 กรณีคือ กรณีที่ไม่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน ควรให้สิทธิในที่ดินจำนวนเท่าเดิม นั่นคือ ยอมรับสิทธิในที่ดินและให้ชาวบ้านร่วมดูแลป่าได้ในพื้นที่เดิม
กรณีที่ไม่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน แต่หากให้สิทธิในที่ดินจำนวนน้อยกว่าเดิม ควรให้เหลือไม่น้อยกว่าครอบครัวละ 25 ไร่ สำหรับผู้มีที่ดินเกิน 25 ไร่อยู่ก่อนแล้ว และจัดที่ดินร้อยละ 10 สำหรับป่าอนุรักษ์หรือป่าชุมชนหรือจัดสรรให้กับผู้ยากไร้
และกรณีที่ต้องอพยพโยกย้ายชาวบ้าน ควรให้สิทธิในที่ดินจำนวนน้อยกว่าเดิม มีหลายประการ คือ
-พื้นที่รองรับและชาวบ้าน ควรมีความพร้อมก่อนการอพยพโยกย้าย.
-การจัดที่ดินทำกิน ควรให้ผู้อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านที่ต้องอพยพได้รับสิทธิทำกินจนครบก่อน
-พื้นที่ทำกินควรเพาะปลูกได้จริง และเพียงพออย่างน้อย 25 ไร่ และมีที่ปลูกบ้าน 2 งาน โดยรัฐควรพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและส่งเสริมการเกษตร.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2535.