• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอุบลราชธานี

by อุทุมพร ศิลปนุรักษ์

Title:

การใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอุบลราชธานี

Other title(s):

Theutilization of the National Rural Development data system (NRD data system) for Changwad Rural Development Planning : case study of Changwad Nakhon Ratchasima, Changwad Nong Khai, Changwad Khon Kaen and Changwad Ubon Ratchathani

Author(s):

อุทุมพร ศิลปนุรักษ์

Advisor:

รพี สุวรรณะชฎ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

นโยบายและการวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1991

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้เป็นการศึกษาถึงประเภทข้อมูล กชช. และปัจจัยที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในขั้นตอนการกำหนดกรอบนโยบายจังหวัดและขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาชนบทประจำปีระดับจังหวัด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด ปัญหาอุปสรรคในการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด ตลอดจนความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด โดยทำการศึกษาเฉพาะกรณีการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัดประจำปี 2535 ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนของหน่วยงานหลักในระดับจังหวัด 5 หน่วยงาน คือ 1) ที่ทำการพัฒนาชุมชนจังหวัด 2) สำนักงานเกษตรจังหวัด 3) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 4) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ 5) สำนักงานจังหวัด
จากการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนส่วนใหญ่ใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด ทั้งในขั้นตอนการกำหนดกรอบนโยบายจังหวัดและขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาชนบทประจำปีระดับจังหวัด โดยมีจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ใช้ระบบข้อมูล กชช. ในขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาชนบทประจำปีระดับจังหวัดมากกว่าจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ใช้ระบบข้อมูล กชช. ในขั้นตอนการกำหนดกรอบนโยบายจังหวัด ในเรื่องประเภทข้อมูลที่ใช้และปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการใช้ระบบข้อมูล กชช. สรุปได้ดังนี้
1. ประเภทข้อมูล กชช. ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด
สรุป : ประเภทข้อมูล กชช. ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด จำแนกตามขั้นตอนการวางแผนพัฒนาจังหวัดและตามจังหวัด
ขั้นตอนการกำหนดนโยบายจังหวัด
1. ผลการประเมินระดับการพัฒนาของหมู่บ้านระดับจังหวัด นค. ขก. อบ. นม.
2. บัญชีสรุปหมู่บ้านเร่งรัดการพัฒนาระดับจังหวัด นค. ขก. อบ. นม.
3. ผลการประมวลข้อมูล กชช.2ค. ระดับจังหวัด นค. ขก. อบ. นม.
4. บัญชีตัวชี้วัดย่อยจำแนกสาเหตุ ตัวชี้วัดหลัก 5 ตัว ขก. อบ.
5. ผลการประเมินการอนุมัติแผนปฏิบัติการจำแนกตามอำเภอ อบ.
6. กรอบแนวทางการพัฒนาชนบทประจำปีของกระทรวงหลัก (กรอบนโยบายกระทรวง) นค. ขก. นม.
7. กรอบแนวทางการพัฒนาชนบทประจำปีของจังหวัด (กรอบนโยบายจังหวัด)
8. คู่มือการเลือกโครงการพัฒนาชนบทของกระทรวงหลัก
9. แผนพัฒนาชนบทประจำปีของอำเภอ
ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาชนบทประจำปี ระดับจังหวัด
1. ผลการประเมินระดับการพัฒนาของหมู่บ้านระดับจังหวัด นค. ขก. อบ.
2. บัญชีสรุปหมู่บ้านเร่งรัดการพัฒนาระดับจังหวัด นค. ขก. อบ. นม.
3. ผลการประมวลข้อมูล กชช.2ค. ระดับจังหวัด -
4. บัญชีตัวชี้วัดย่อยจำแนกสาเหตุ ตัวชี้วัดหลัก 5 ตัว -
5. ผลการประเมินการอนุมัติแผนปฏิบัติการจำแนกตามอำเภอ นค. อบ.
6. กรอบแนวทางการพัฒนาชนบทประจำปีของกระทรวงหลัก (กรอบนโยบายกระทรวง) -
7. กรอบแนวทางการพัฒนาชนบทประจำปีของจังหวัด (กรอบนโยบายจังหวัด) นค. อบ. นม.
8. คู่มือการเลือกโครงการพัฒนาชนบทของกระทรวงหลัก -
9. แผนพัฒนาชนบทประจำปีของอำเภอ นค. ขก. นม.
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด
"การยอมรับระบบข้อมูล กชช." เป็นปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด ส่วน "ความเข้าใจในการใช้ระบบข้อมูล กชช." "ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์" และ "ประสบการณ์ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในศูนย์ข้อมูล" เป็นปัจจัยที่ไม่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด
3. ปัญหาในการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัดที่สำคัญมีดังนี้
3.1 ข้อมูล กชช. มีจำนวนน้อย ขาดความถูกต้อง และไม่ทันสมัย.
3.2 ความล่าช้าในขั้นต่าง ๆ ของขบวนการวางแผน และหน่วยงานระดับล่าง ตั้งแต่อำเภอลงไปไม่ใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบท.
3.3 ศูนย์ข้อมูลมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนน้อยและมีประสิทธิภาพต่ำ พนักงานบันทึกข้อมูลมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ขาดความรู้และทักษะในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้มีความขัดข้องด้านระบบ และมีความจำกัดของโปรแกรม
4. ข้อเสนอแนะ ผู้ศึกษาเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัดที่สำคัญ ดังนี้
4.1 ควรส่งเสริมและผลักดันให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบข้อมูล กชช. ทุกระดับตระหนักในความสำคัญของระบบข้อมูล กชช. และใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด ควบคุมให้มีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง โดยจะต้องมีการชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกระดับมีความรู้ความเข้าใจในแบบสอบถาม กชช. 2ค.
4.2 บันทึกข้อมูลที่มีความทันสมัยเพิ่มเติมอยู่เสมอ และใช้ข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนแล้วนี้เป็นประโยชน์ในการวางแผนและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาชนบทให้มากที่สุด
4.3 สปข. ควรทำการปรับปรุงโปรแกรมระบบข้อมูล กชช. ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และให้สามารถใช้งานต่าง ๆ ได้กว้างขวางขึ้น
4.4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่แผนในเรื่องการวางแผน, การใช้ระบบข้อมูล กชช. ในการวางแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด และการใช้ประโยชน์เครื่องคอมพิวเตอร์ในการวางแผนพัฒนาชนบทอย่างจริงจัง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.

Subject(s):

การพัฒนาชนบท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด

Keyword(s):

ระบบ กชช.

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

13, 168 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1786
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8452.pdf ( 3,131.26 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Related items

Showing items related by title, author, creator and subject.

  • Thumbnail

    การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด: กรณีศึกษา สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสงคราม 

    นุชชา ดอกตาลยงค์; สุวิชา เป้าอารีย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่อยู่ในโครงการนำร่องและสำนักงานยุติธรรมจังหวัดแบบเมตริกซ์ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่อยู่ในโครงการนำร่องและสำนักงานยุติธรรมจังหวัดแบบเมตริกซ์ และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดให้มีประสิทธิผล วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตพฤติกรรม ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเอกสารและรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์รายบุคคลรวมทั้งสิ้น 17 คน
  • Thumbnail

    การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานบุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัดและระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษาเฉพาะกรณี : จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส 

    ทิพยา เผื่อนพิภพ; วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995)
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การบริหารการศึกษาประชาบาลในหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด : ศึกษาเฉพาะจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง 

    ธรรมนูญ ตัณฑะเตมีย์; สมพร แสงชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1971)

    การบริหารการศึกษาประชาบาลเฉพาะที่เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยตรง และเป็นการศึกษาเฉพาะจังหวัดเดียวในภาคกลาง โดยศึกษาโครงสร้างและกลไกขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อขัดข้องในการบริหารการศึกษาประชาบาล พฤติกรรมของข้าราชการส่วนจังหวัด พฤติกรรมของหน่วยราชการส่วนกลางในการควบคุมและประสานงาน พฤติกรรมของสมาชิกสภาจังหวัดในการควบคุมการบริหารการศึกษาประชาบาล พร้อมทั้งผลและสาเหตุของพฤติกรรมเช่นนั้น ตลอดจนศึกษากรณีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในวงการบริหารการศึกษาประชาบาลครั้งใหญ่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ทำการศึกษา ...

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×