การประเมินผลโครงการนันทนาการเด็ก ณ สถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง บ้านปราณี
Publisher
Issued Date
1991
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
128, 56 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
แม้นเดือน เอี่ยมบรรณพงษ์ (1991). การประเมินผลโครงการนันทนาการเด็ก ณ สถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง บ้านปราณี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1787.
Title
การประเมินผลโครงการนันทนาการเด็ก ณ สถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง บ้านปราณี
Alternative Title(s)
An evaluation of the Youth Recreation Project at "Pranee" Training School, Bangkok, Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลโครงการนันทนาการเด็ก ณ สถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง บ้านปรานี รวมทั้งศึกษาข้อจำกัดในโครงการฯ ปัจจัยที่เอื้อและปัจจัยอุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กและเยาวชนหญิง ณ สนามฝึกฯ บ้านปรานี เฉพาะที่เคยเข้าร่วมโครงการในระยะเวลาที่ทำการศึกษา คือ ธันวาคม 2530 - ธันวาคม 2532 (ครอบคลุมโครงการ 4 ระยะ) จำนวน 14 คน (10 เปอร์เซ็นต์) โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและแบบสอบถาม การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องตามประเด็นที่กำหนด รวมทั้งศึกษาจากกรณีศึกษา แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ท้งในด้านสถิติพรรณา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติวิเคราะห์ (t-test)
จากการประเมินผลโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. พบว่า พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในระยะหลังดำเนินโครงการมีความแตกต่างกับในระยะก่อนดำเนินโครงการ โดยมีค่า t = 4.01 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งแสดงว่าโครงการนันทนาการเด็ก ณ สถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง บ้านปรานี บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ.
2. จากการสัมภาษณ์พบว่า - ข้อจำกัดในโครงการฯ คือ งบประมาณ บุคลากร และระยะเวลาในการจัดกิจกรรม นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ คือ วิธีการดำเนินงานและบุคลากรของ มพด. ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการ คือ ระบบการบริหารงานแบบราชการ ของสถานฝึกฯ บ้านปรานี รวมทั้งการไม่เห็นความสำคัญและขาดการร่วมมือกับโครงการในระยะแรก ตลอดจนการที่ มพด. เองก็ไม่สามารถกระตุ้นให้ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางปรับนโยบายให้เอื้อต่อการพัฒนาเด็กมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าวิทยากรจากภายนอกมีข้อจำกัดด้านเวลา.
จากการสัมภาษณ์พบว่า ผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโครงการมีทั้งแง่บวกและลบ ผลกระทบแง่บวกคือ เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน มีผลทำให้สังคมยอมรับบทบาทและศักยภาพของ มพด. มากขึ้น ซึ่งหน่วยงานอื่นอาจนำเนื้อหา - รูปแบบในการจัดกิจกรรมไปปรับใช้เป็นแนวทางได้ นอกจากนี้ยังพบว่าวิธีการเช่นนี้ช่วยให้เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น ส่วนผลกระทบแง่ลบคือเจ้าหน้าที่ของสถานฝึกฯ บ้านปรานีมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบมากขึ้น รวมทั้งพบว่าเด็กและเยาวชนสนใจในกิจกรรมของโครงการมากจนไม่สนใจในการเรียนและการฝึกอาชีพ.
จากการประเมินผลโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. พบว่า พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในระยะหลังดำเนินโครงการมีความแตกต่างกับในระยะก่อนดำเนินโครงการ โดยมีค่า t = 4.01 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งแสดงว่าโครงการนันทนาการเด็ก ณ สถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง บ้านปรานี บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ.
2. จากการสัมภาษณ์พบว่า - ข้อจำกัดในโครงการฯ คือ งบประมาณ บุคลากร และระยะเวลาในการจัดกิจกรรม นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ คือ วิธีการดำเนินงานและบุคลากรของ มพด. ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการ คือ ระบบการบริหารงานแบบราชการ ของสถานฝึกฯ บ้านปรานี รวมทั้งการไม่เห็นความสำคัญและขาดการร่วมมือกับโครงการในระยะแรก ตลอดจนการที่ มพด. เองก็ไม่สามารถกระตุ้นให้ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางปรับนโยบายให้เอื้อต่อการพัฒนาเด็กมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าวิทยากรจากภายนอกมีข้อจำกัดด้านเวลา.
จากการสัมภาษณ์พบว่า ผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโครงการมีทั้งแง่บวกและลบ ผลกระทบแง่บวกคือ เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน มีผลทำให้สังคมยอมรับบทบาทและศักยภาพของ มพด. มากขึ้น ซึ่งหน่วยงานอื่นอาจนำเนื้อหา - รูปแบบในการจัดกิจกรรมไปปรับใช้เป็นแนวทางได้ นอกจากนี้ยังพบว่าวิธีการเช่นนี้ช่วยให้เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น ส่วนผลกระทบแง่ลบคือเจ้าหน้าที่ของสถานฝึกฯ บ้านปรานีมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบมากขึ้น รวมทั้งพบว่าเด็กและเยาวชนสนใจในกิจกรรมของโครงการมากจนไม่สนใจในการเรียนและการฝึกอาชีพ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.