การประเมินผลโครงการพัฒนาการให้บริการตรวจสุขภาพเด็กระยะที่ 2 (2531-2533) ใน 28 จังหวัด
Publisher
Issued Date
1991
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 134 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ยุทธนา วิปุลากร (1991). การประเมินผลโครงการพัฒนาการให้บริการตรวจสุขภาพเด็กระยะที่ 2 (2531-2533) ใน 28 จังหวัด. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1788.
Title
การประเมินผลโครงการพัฒนาการให้บริการตรวจสุขภาพเด็กระยะที่ 2 (2531-2533) ใน 28 จังหวัด
Alternative Title(s)
An evaluation of the Development of Well Child Care Service Project : the second stage (1988-1990) in the 28 provinces, Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
โครงการพัฒนาการให้บริการตรวจสุขภาพเด็กระยะที่ 2 เป็นโครงการซึ่งได้ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 28 จังหวัด ต่อจากในระยะแรก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพียง 9 จังหวัดเท่านั้น โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีได้รับการตรวจสุขภาพตามที่กำหนดเป็นมาตรฐานการให้การดูแลสุขภาพเด็กแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดีอย่างทั่วถึง.
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ก็เพื่อประเมินเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของสถานีอนามัยที่บรรลุเป้าหมายและไม่บรรลุเป้าหมายของโครงการ และศึกษาให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุเป้าหมายของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือ ผดุงครรภ์อนามัยที่ผ่านการอบรมจากโครงการ จำนวน 48 คน อาสาสมัครสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมจากโครงการ จำนวน 141 คน และมารดาที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งได้นำบุตรของตน ไปรับบริการในคลีนิคตรวจสุขภาพเด็กที่สถานีอนามัย จำนวน 417 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมี 4 ชุด คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับผดุงครรภ์อนามัย อาสาสมัคร มารดา และแบบบันทึกการตรวจสุขภาพเด็กที่สถานีอนามัย (บัตร รบ.1 ต.06) ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลเอกสารดังกล่าวที่กองอนามัยครอบครัว และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขตต่าง ๆ ได้รวบรวมไว้หลังจากการดำเนินงานของโครงการผ่านไปแล้วเป็นเวลา 3 เดือน มาทำการศึกษา.
ผลจากการวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) และการทดสอบค่าสถิติ T (T-Test) พบว่า ความรู้ของผดุงครรภ์อนามัยและมารดาที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 1 ปี และความสามารถของผดุงครรภ์อนามัยในการให้บริหารตรวจสุขภาพเด็ก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบรรลุเป้าหมายของโครงการ สำหรับความถี่ของการจัดคลีนิคตรวจสุขภาพเด็กเฉพาะจำนวนชั่วโมงต่อครั้งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการบรรลุเป้าหมายของโครงการ ส่วนความรู้ของอาสาสมัคร ความถี่ของการจัดคลีนิคในด้านของจำนวนครั้งต่อเดือน การนิเทศงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน/อำเภอ และทัศนคติของอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพเด็ก ไม่มีความสัมพันธ์กับการบรรลุเป้าหมายของโครงการ.
จากผลของการศึกษาครั้งนี้ พอจะสรุปได้ว่า การดำเนินงานของโครงการพัฒนาการให้บริการตรวจสุขภาพเด็กระยะที่ 2 ซึ่งได้ดำเนินงานมาแล้วเป็นระยะเวลาเพียง 3 เดือนนั้น สามารถช่วยให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่อยู่ในชนบทห่างไกล ได้รับการดูแลสุขภาพได้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพดีโดยทั่วถึงกันในอนาคต อันสืบเนื่องมาจาการจัดคลีนิคตรวจสุขภาพเด็กตามที่กำหนดเป็นมาตรฐานการให้การดูแลสุขภาพเด็กแบบเบ็ดเสร็จของสถานีอนามัยในโครงการนั่นเอง.
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ก็เพื่อประเมินเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของสถานีอนามัยที่บรรลุเป้าหมายและไม่บรรลุเป้าหมายของโครงการ และศึกษาให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุเป้าหมายของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือ ผดุงครรภ์อนามัยที่ผ่านการอบรมจากโครงการ จำนวน 48 คน อาสาสมัครสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมจากโครงการ จำนวน 141 คน และมารดาที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งได้นำบุตรของตน ไปรับบริการในคลีนิคตรวจสุขภาพเด็กที่สถานีอนามัย จำนวน 417 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมี 4 ชุด คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับผดุงครรภ์อนามัย อาสาสมัคร มารดา และแบบบันทึกการตรวจสุขภาพเด็กที่สถานีอนามัย (บัตร รบ.1 ต.06) ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลเอกสารดังกล่าวที่กองอนามัยครอบครัว และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขตต่าง ๆ ได้รวบรวมไว้หลังจากการดำเนินงานของโครงการผ่านไปแล้วเป็นเวลา 3 เดือน มาทำการศึกษา.
ผลจากการวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) และการทดสอบค่าสถิติ T (T-Test) พบว่า ความรู้ของผดุงครรภ์อนามัยและมารดาที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 1 ปี และความสามารถของผดุงครรภ์อนามัยในการให้บริหารตรวจสุขภาพเด็ก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบรรลุเป้าหมายของโครงการ สำหรับความถี่ของการจัดคลีนิคตรวจสุขภาพเด็กเฉพาะจำนวนชั่วโมงต่อครั้งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการบรรลุเป้าหมายของโครงการ ส่วนความรู้ของอาสาสมัคร ความถี่ของการจัดคลีนิคในด้านของจำนวนครั้งต่อเดือน การนิเทศงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน/อำเภอ และทัศนคติของอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพเด็ก ไม่มีความสัมพันธ์กับการบรรลุเป้าหมายของโครงการ.
จากผลของการศึกษาครั้งนี้ พอจะสรุปได้ว่า การดำเนินงานของโครงการพัฒนาการให้บริการตรวจสุขภาพเด็กระยะที่ 2 ซึ่งได้ดำเนินงานมาแล้วเป็นระยะเวลาเพียง 3 เดือนนั้น สามารถช่วยให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่อยู่ในชนบทห่างไกล ได้รับการดูแลสุขภาพได้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพดีโดยทั่วถึงกันในอนาคต อันสืบเนื่องมาจาการจัดคลีนิคตรวจสุขภาพเด็กตามที่กำหนดเป็นมาตรฐานการให้การดูแลสุขภาพเด็กแบบเบ็ดเสร็จของสถานีอนามัยในโครงการนั่นเอง.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.