• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การสำรวจฐานคะแนนนิยมเพื่อปฏิบัติการทางการเมืองตามแนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ของแผนการรณรงค์เลือกตั้ง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ ณ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อครั้งการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535

by วีรพล เพชราภา

Title:

การสำรวจฐานคะแนนนิยมเพื่อปฏิบัติการทางการเมืองตามแนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ของแผนการรณรงค์เลือกตั้ง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ ณ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อครั้งการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535

Other title(s):

Survey on popularity base for political action in accordance with the concept of three strategic areas of election campaigning plan : a case of action research in constituency C Nakornsrithammarat province on September 13, 1992 of general election

Author(s):

วีรพล เพชราภา

Advisor:

แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

นโยบายและการวางแผนทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ ผู้วิจัยได้เข้าร่วมปฏิบัติการในพื้นที่เป็นเวลา 1 เดือน มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการสำรวจฐานคะแนนนิยมเพื่อหยั่งเสียงพรรคการเมืองและผู้สมัคร และนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจฐานคะแนนนิยมมาใช้กำหนดยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งตามแนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ โดยแบ่งการสำรวจฐานคะแนนนิยมออกเป็นช่วงต้นฤดูและปลายฤดูการรณรงค์ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลในพื้นที่ปฏิบัติการจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในช่วงต้นฤดูเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 13-15 สิงหาคม 2535 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,762 ราย ช่วงปลายฤดูเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2535 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,768 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า.
1. เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงฐานคะแนนนิยมของพรรคการเมืองทั้งสอง โดยพรรค ข. มีฐานคะแนนนิยมเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ส่วนพรรค ก. ฐานคะแนนนิยมกลับมีทิศทางที่ลดลง ทำให้สถานการณ์ของพรรค ข. ได้เปรียบพรรค ก. ดังนี้
กรณีพรรค ข.
1) มีคะแนนนิยมจากพรรคเดิมร้อยละ 57.49 เพิ่มเป็นร้อยละ 59.77.
2) มีผู้ตัดสินใจเลือกพรรคแน่นอนแล้วจากเดิมร้อยละ 31.61 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42.13.
3) ผู้สมัครของพรรคมีคะแนนนิยมและมีผู้ตัดสินเลือกแน่นอนแล้วอยู่ในอันดับที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ.
กรณีพรรค ก.
1) มีคะแนนนิยมพรรคจากเดิมร้อยละ 42.51 ลดลงเหลือร้อยละ 40.23.
2) มีผู้ตัดสินเลือกพรรคแน่นอนแล้วจากเดิมร้อยละ 20.60 เป็นร้อยละ 23.86 ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเพิ่มของพรรค ข.
3) ผู้สมัครของพรรคมีคะแนนนิยมและมีผู้ตัดสินใจเลือกแน่นอนแล้วอยู่ในอันดับ 4, 5, 6 ตามลำดับ.
2. ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนำมากำหนดยุทธวิธีการรณรงค์ คือ
1) กลุ่มบุคคลที่สนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายเราสำหรับเป็นกลุ่มเป้าหมายในการรณรงค์เป็นอันดับแรก ได้แก่ กลุ่มชนชั้นกลาง กลุ่มเมือง.
2) กลุ่มเฉยเมย เป็นกลุ่มเฉยเมยไร้เดียงสาในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มเฉยเมยปัญญาร้อยละ 37.18 : 12.34.
3) ข้อมูลที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์ด้านกว้างเพื่อใช้ในการปราศรัย และการจัดทำแผ่นป้าย ได้แก่ หัวหน้าพรรคมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นพรรคที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ผู้สมัครของพรรคเป็นผู้ที่นำผลประโยชน์มาให้ชุนชน และเป็นปากเป็นเสียงให้กับชาวบ้าน
3. ผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายตามที่ต้องการ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเขตยุทธศาสตร์เพิ่มขึ้นจากเขตเรา มีเพียง 3 ตำบล เพิ่มขึ้นเป็น 19 ตำบล เขตเป็นกลางโน้มเอียงเราจากเดิม 4 ตำบล เพิ่มขึ้นเป็น 18 ตำบล เขตเขาจากเดิม 30 ตำบล ลดลงเหลือเพียง 10 ตำบล
4. แนวคิดสามยุทธศาสตร์สามารถจำแนกพื้นที่และกลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครศรีธรรมราช ออกเป็น 3 กลุ่ม หรือ 3 เขตได้อย่างชัดเจน
5. พฤติกรรมการเลือกตั้งของชาวนครศรีธรรมราช ตัดสินใจโดยพิจารณาเลือกพรรคเป็นหลักมากกว่ายึดถือตัวบุคคล และมีความนิยมผู้สมัครที่เป็นคนภาคเดียวกันมากกว่าภาคอื่น
สรุปผลการวิจัย.
การสำรวจฐานคะแนนนิยม เพื่อปฏิบัติทางการเมืองตามแนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ เป็นการนำวิชาการมาสนับสนุนเกื้อกูลเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับการรณรงค์เลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครศรีธรรมราช.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- ไทย -- นครศรีธรรมราช -- การเลือกตั้ง, 2535
การเลือกตั้ง -- ไทย -- นครศรีธรรมราช

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

ก-ฏ, 124 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1790
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b5874ab.pdf ( 141.25 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b5874.pdf ( 2,025.58 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×