การประสานงานขององค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ในงานพัฒนาเด็กและเยาวชน
by ขวัญชนก ศิริวรวาท
Title: | การประสานงานขององค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ในงานพัฒนาเด็กและเยาวชน |
Other title(s): | Coordination ability of NGOs responsible for children and youth development |
Author(s): | ขวัญชนก ศิริวรวาท |
Advisor: | สุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | พัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 1999 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการประสานงานในปัจจุบันขององค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งการประสานงานภายในองค์การและการประสานงานภายนอกองค์การ ซึ่งประกอบด้วยการประสานงานกับองค์การภาครัฐ และการประสานงานกับองค์การเอกชนสาธารณประโยชน์อื่น ๆ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการประสานงานในทัศนะของเจ้าหน้าที่องค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวข้อง และ 3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการประสานงานในงานพัฒนาเด็กและเยาวชน / การศึกษาดำเนินการโดยอาศัยข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-imformant) จำนวน 12 รายจากองค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน 5 องค์การในกรุงเทพฯ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยเทียบเคียงแนวคิดทฤษฎีควบคู่บริบท ประกอบกับการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย / ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการประสานงานขององค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ในงานพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้ง 2 ระดับคือ 1) ในการดำเนินงานระดับนโยบาย พบว่า การประสานงานภายนอกองค์การเป็นการประสานงานในรูปแบบโดยแผนและข้อตกลง ทั้งแบบเป็นระบบ (System) และแบบความสัมพันธ์สองฝ่าย (Dyadic) ส่วนการประสานงานภายในองค์การ จะใช้รูปแบบการประสานงานในแนวดิ่งและการประสานงานทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ 2) ในการดำเนินงานระดับปฏิบัติ พบว่าการประสานงานภายนอกองค์การ ใช้รูปแบบการประสานงานทั้งการประสานงานโดยอำนาจ การประสานงานโดยแผนหรือข้อตกลง และการประสานงานโดยการปรับตัวเข้ากันแบบความสัมพันธ์สองฝ่าย (Dyadic) ส่วนการประสานงานภายในองค์การพบรูปแบบการประสานงานทั้งแนวดิ่งและแนวนอน โดยความสมัครใจ โดยบังคับบัญชา และโดยการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน / ปัจจัยที่มีผลต่อการประสานงาน ได้แก่ การสร้างมนุษยสัมพันธ์เป็นปัจจัยที่ถือว่ามีผลต่อการประสานงานมากที่สุด รองลงมาคือ ความรู้ความเข้าใจในงาน/องค์การ การติดต่อสื่อสาร และการจัดหน่วยงานที่กระชับ / ปัญหาและอุปสรรคในการประสานงาน พบว่า องค์การประสบปัญหาและอุปสรรคมากที่สุดในด้านตัวบุคคล คือ ความขัดแย้งทางแนวความคิดอันเนื่องมาจากเป้าหมายและรูปแบบการทำงานที่ต่างกันสำหรับด้านระบบงาน จะประสบปัญหาและอุปสรรคมากที่สุดในระบบโครงสร้าง ในเรื่องความสลับซับซ้อนของสายการบังคับบัญชา ซึ่งจะพบในการประสานงานกับภาครัฐ นอกจากนี้องค์การยังประสบปัญหาและอุปสรรคอื่น ๆ ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจ การขาดทัศนคติที่ดีต่อ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1999. |
Subject(s): | องค์กรพัฒนาเอกชน -- การจัดการ
องค์กรพัฒนาเอกชน -- ไทย การประสานงาน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 10, 151 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1818 |
Files in this item (EXCERPT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|