• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การยอมรับภาวะโลกาภิวัตน์ : กรณีศึกษาชุมชนไทพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

by รณรงค์ ศิริพันธุ์

Title:

การยอมรับภาวะโลกาภิวัตน์ : กรณีศึกษาชุมชนไทพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

Other title(s):

The adoption of globalization : a case study of Taiphuan in Tumbon Hinpuk, Banmee District, Lopburi Province

Author(s):

รณรงค์ ศิริพันธุ์

Advisor:

ชัยพร พิบูลศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

พัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1996

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการยอมรับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์ ของชุมชนไทพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยศึกษาถึงปัจจัยด้านเพศ บทบาทและลักษณะของผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มต่างในสังคม การรับรู้ข่าวสาร อายุ การศึกษา รายได้ การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนา และฐานะทางเศรษฐกิจ การเก็บรวมรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์จากประชากร ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี จำนวน 329 คน จำแนกเป็นหัวหน้าครัวเรือน 259 คน และผู้นำท้องถิ่น 70 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแคว ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ / ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทั่วไปของประชากรในชุมชนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตและยึดถือแบบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวไทพวน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 5 คน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน และผู้นำส่วนใหญ่จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 การประกอบอาชีพหลักคือการทำนา การประกอบอาชีพรองมีเป็นจำนวนน้อย อายุของประชากรกลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ย 49 ปี มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวๆ ละ 131,645 บาทต่อปี / ผลการศึกษาระดับการยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์ ของตัวแปรอิสระ ปัจจัยด้านเพศบทบาทและลักษณะผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม และการรับรู้ข่าวสารกับตัวแปรตาม คือ การยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์ (ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มชี้วัด การยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน คือ 1. ทัศนคติต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ 2. ระยะความสัมพันธ์ทางสังคม 3. ภาวะความทันสมัย) ปรากฎว่า ปัจจัยด้านเพศ และการเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในสังคม มีระดับการยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการรับรู้ข่าวสารกับบทบาทและลักษณะผู้นำ มีระดับการยอมรับแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้รับรู้ข่าวสารน้อยจะยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์มากกว่าผู้รับรู้ข่าวสารมาก และผู้นำจะยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้นำ / ผลการศึกษา ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับ 3 กลุ่มชี้วัด การยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์ ปรากฏว่ามีปัจจัยฐานะทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับจำนวนการถือครองที่ดินเพียงปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์ในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ อันได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ การศึกษา รายได้ และการมีส่วนรวมในโครงการพัฒนาท้องถิ่น ไม่ความสัมพันธ์ต่อการยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์
การยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์ของชุมชน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับสิ่งแปลกใหม่ หรือยอมรับการเปลี่ยนแปลง จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงเสนอแนะแนวทางเพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับภาวะโลกาภิวัฒน์มากยิ่งขึ้น ดังนี้ / 1. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้นำท้องถิ่นมีบทบาทในการนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนให้มาก / 2. พัฒนาระบบการสื่อสาร สื่อสารมวลชนต่าง ๆ ให้ขยายเครือข่ายให้แพร่หลายและเน้นการนำเสนอข่าวสารที่เป็นสาระ ความรู้ ให้มากกว่าในด้านการให้ความบันเทิง / 3. ส่งเสริมและพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยการกระจายความเจริญออกไปสู่ชนบท เพื่อให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้มีสถานภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้น / 4. ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยจัดให้มีระบบการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาได้เข้ารับการศึกษามากขึ้น
The objectives of this study were to examine the relationship between the adoption level and the adoption of Globalization of Taipuan in Tambon Hinpak, Banmee District, Lopburi Province. These factors that were sex, Characteristic leader's role, social group nembers, information perception, age, education, economic status, and developmental project participation, were also analized. The data were collected by interviewing from 329 villagers who were 259 household leaders and 70 villages leaders. The statistics this study was Percentage, Mean, Chi-square and Pearson Product Moment Correlation Corfficient. / The characteristics of sample were the life style of villagers were Taipuan traditional culture. The average size of household was 5 persons. The level of household leaders and village leaders was Prathom 4-6, The major occupation was the farmer. The second occupation was a little. The average age was 49 years. The average family income was 131,1645 bath per year. / There were two major finding as follows : / First, it was found that, there was no different for the comparision the adoption of globalization level with sex and social group nembers. In asspect of the information perception an charateristics's leaders there was different between villagers who was lower information perception would be higher globalization level.
Secondly, in the three dimensions the adoption of globalization, there was relationship between economic status and the low globalization level. So, there was not relationships in other dimensions. / Four important recommendations based on the results of this research are prompted here. / 1. To encourage and support villagers leader to be leader of changing for development community. / 2. To develop the communication and mass communication to distribute the news, knowledges more than entertainment. / 3. To improve and develop economics to distribute the civilization to people in the country who had no change to improve themselves. / 4. To promote non-formal education for people who had no change to develop themselves.

Description:

Methodology: Chi square test, Pearson product moment correlation
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539.

Subject(s):

โลกาภิวัตน์
พวน -- ไทย -- ลพบุรี -- บ้านหมี่ -- หินปัก -- ภาวะสังคม

Keyword(s):

การยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ชุมชนไทพวน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

[10], 120, [1] แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1834
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b59440ab.pdf ( 143.95 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b59440.pdf ( 2,492.69 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×