การศึกษาวิถีชีวิตชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในจังหวัดระนอง
Publisher
Issued Date
1996
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
(15), 266 แผ่น ; 30 ซม
ISBN
9742310092
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ลือชัย วงษ์ทอง (1996). การศึกษาวิถีชีวิตชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในจังหวัดระนอง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1845.
Title
การศึกษาวิถีชีวิตชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในจังหวัดระนอง
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ ประการแรก เพื่อที่จะทราบถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่การอพยพวิธีการติดต่อ การลักลอบเข้าเมืองของชาวพม่าที่หลบหนี้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ประการที่สอง เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางด้านเศรษฐกิจของชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดฎหมายว่ามีการดำเนินการวิถีชิวิตอยู่ในสภาพอย่างไร ได้แก่ค่าจ้าง การใช้จ่าย การเก็บออม ประการที่สาม เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางสังคม-วัฒนธรรม ของชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายว่ามีการดำเนินชีวิตอยู่ในสภาพอย่างไร การเก็บรวมรวบข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์โดยมีล่ามชาวพม่าที่พูดภาษาไทยได้เป็นผู้แปลใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจง โดยกระจายไปตามอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ อาชีพประมง อาชีพทำงานโรงงานอุตสาหกรรม อาชีพบริการร้านอาหาร และอาชีพก่อสร้าง จำนวนตัวอย่าง 200 ตัวอย่าง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌ์เลขคณิต และค่าไคสแควร์ ผลจากการศึกษามีดังต่อไปนี้ 1. ปัจจัยส่วนบุคคล จากการศึกษาพบว่าชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายจะเป็นชายมากกว่าหญิง อยู่ในระหว่างอายุไม่เกิน 30 ปี เป็นส่วนใหญ่ จะเป็นเชื้อชาติพม่ามากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ การศึกษาจบเกรด 5 และต่ำกว่าเกรด 5 สถานภาพโสดกับสถานภาพสมรสพอ ๆ กัน
2. ปัจจัยในการอพยพ ชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมายที่อพยพเข้ามาทำงานในประเทศไทย จะมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่จากทวาย มะริด มอละแหม่ง จะเดินทางโดยทางเรือมาที่เกาะสอง ส่วนผู้ที่มาจากย่างกุ้งจะมาโดยเครื่องบินมาที่เกาะสอง แล้วจึงข้ามเข้ามาที่ท่าเรือสะพานปลา อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และมีอีกกลุ่มหนึ่งที่มากับเรือประมงแล้วเข้ามาที่แพนายจ้างโดยตรง สาเหตุที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ได้แก่ รัฐบาลพม่าเผด็จการ ความแร้นแค้น และประเทศไทยหางานทำได้ง่ายในการติดต่อหางานทำนั้นจะติดต่อโดยมีญาติ หรือเพื่อน ๆ ติดต่อไว้ให้ก่อนแล้ว พอมาถึงก็เข้ามาทำงานได้เลย และมีบางส่วนที่มาอาศัยอยู่กับญาติหรือเพื่อน ๆ ก่อนแล้วจึงหางานทำด้วยตนเอง ประเภทของงานที่ชาวพม่าหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทำได้แก่ อาชีพประมง อาชีพโรงงานอุตสาหกรรม อาชีพบริการร้านอาหาร และอาชีพก่อสร้าง 3. พฤติกรรมทางสังคม การดำเนินวิถีชีวิตของชาวพม่าหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเหล่านี้ ไม่พยามยามปรับตัวให้เข้ากับชาวไทย เช่น การพูดภาษาไทย การเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีด้วยกันและมีการแต่งงานกันระหว่างชาวไทยกับชาวพม่าน้อยมากโดยเฉพาะชายพม่ากับหญิงไทยและในทางตรงกันข้ามจะเป็นการแต่งงานระหว่างชายไทยกับหญิงพม่ามากกว่า ซึ่งก็เป็นการดำเนินวิถีชีวิตแรงงานชาวพม่าเพื่อความเป็นอยู่ในสังคมเดียวกันกับชาวพม่าเท่านั้น
4. พฤติกรรมทางด้านเศรษฐกิจ การดำเนินวิถีชีวิตของชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ที่ทำงานในประเทศไทย ชายส่วนใหญ่จะทำงานประมง ส่วนหญิงจะทำงานบริการ ร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ในงานโรงงานอุตสาหกรรม ชายและหญิงจะพอ ๆ กัน ส่วนรายได้ของแรงงานชาวพม่านี้ชายส่วนใหญ่จะมีรายได้ในช่วง 2,001-3,000 บาท ส่วนหญิงจะมีรายได้อยู่ในช่วง 1,001-2,000 บาทเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับที่ทำในพม่าจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแรงงานชาวพม่ามีรายได้ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งส่งผลทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นตามมาด้วย การใช้จ่ายส่วนใหญ่แรงงานชาวพม่าจะซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จะเป็นเท่านั้น จากนั้นจะเก็บออมไว้แล้วส่งเงินกลับบ้าน และซื้อทองเก็บไว้ แรงงานชาวพม่าจะมีลักษณะเดียวกันเป็นส่วนใหญ่คือมีเงินแล้วก็จะกลับไปภูมิลำเนาเดิมในประเทศของตนเอง ไม่คิดที่จะตั้งรากฐานถาวรในประเทศไทย จากการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจชาวพม่า รัฐบาลควรมีนโยบายต่อชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างรอบคอบและเข็มงวด เพราะการเข้าประเทศของชาวพม่ามีจำนวนมากขึ้น และเข้ามาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และที่สำคัญปัจจุบันมีนโยบายในการผ่อนปรนให้ผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายให้มีโอกาสในการทำงานมากขึ้น ในพื้นที่ 34 จังหวัด อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีการหลั่งไหลของชาวพม่ามากขึ้น รัฐบาลควรจะต้องมีมาตรการที่ชัดเจน และการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ.
A Study of the Way of Life of lllegal Burmese Immigrants in Ranong Province. The study was conducted for 3 main purposes. First, it was aimed at finding out the important factors influencing their migration and the way they contacted the human trafficking agencies. Secondly, it focused on studying the economic behavior of the illegal Burmese immigrants i.e., their way of life -- by considing the wage, expenses, saving. The third purpose was to study their socio-cultural behavior. A Burmese interpretator was hired to interview 200 illegal Burmese !aborers in Ranong. The subjects were purposively selected to get the subjects from various occupations, i.e., those in the fishing industry, those in industrial factories, those working at restaurants or food shops and those in construction work. Percentage, mean and Chi-square were employed to analyed the data. The findings were reported below :
1. General personal backgrounds. Most of the illegal Burmese immigrants were males. Their ages were not beyond 30. They were of Burmese race rather than other races. They completed Grade 5 or below. The number of the married was more or less the same as that of the single. 2. Factors contributing to their migration. Most of the illegal Burmese laborers in Thailand came from Tawai, Marid and Moramang by boat, starting from Song lsland. Those who came from Rangoon flew by plane to Song Island first and after that they went to Saphanpla Pier in Muang District, Ranong Province. Another group came in fishing boats diredly to the employer's pier. The reasons why they went to look for jobs in Thailand were that Burma was ruled by dictatorship, and that famine was widespread there. In Thaialnd it was easy for them to find jobs. In seeking employment, they would contact their relatives or friends before they went to Thailand. So when they arrived in Thailand, they could get jobs immediately. Only a few came to stay with their relatives of friends first and looked for a job by themselves after that. The occupations that they worked in were fishing boat crew, factory workers, waiters/waitresses and construction workers.
3. Social behavior. The illegal Burmese laborers did not try to adapt themselves to the Thai culture. For example, they did not want to learn to speak Thai, or join in any activity. There were few intermarriges between Thais and the illegal Burmese immigrants. If there were any, it was between a Thai man and a Burmese woman. 4. Economic behavior. Most illegal Burmese laborers worked in fishing industry, while most women worked at restaurants. In factories. the figures were more of less the same. Most Burmese women earned 2,001-3,000 baht a month whereas, most Burmese women earned 1,001-2,000 baht a month. When compared with their income in Burma, the monthly income they earned in Thailand was much higher, so they had a better living condition. Most of them would spend money on necessary things only and saved some to send back to their country. Some bought gold to save instead of money. They did not think of setting permanently in Thailand.
It was recommended that the government should have a strict measure to control the illegal immigration of Burmese people, as the number was formidably increasing. At present, there was a lenient policy to allow the foreign laborers to work in 34 provinces. it was time for the Thai government to do something about this issue, as the nation's stability as vulnerable at present.
2. ปัจจัยในการอพยพ ชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมายที่อพยพเข้ามาทำงานในประเทศไทย จะมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่จากทวาย มะริด มอละแหม่ง จะเดินทางโดยทางเรือมาที่เกาะสอง ส่วนผู้ที่มาจากย่างกุ้งจะมาโดยเครื่องบินมาที่เกาะสอง แล้วจึงข้ามเข้ามาที่ท่าเรือสะพานปลา อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และมีอีกกลุ่มหนึ่งที่มากับเรือประมงแล้วเข้ามาที่แพนายจ้างโดยตรง สาเหตุที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ได้แก่ รัฐบาลพม่าเผด็จการ ความแร้นแค้น และประเทศไทยหางานทำได้ง่ายในการติดต่อหางานทำนั้นจะติดต่อโดยมีญาติ หรือเพื่อน ๆ ติดต่อไว้ให้ก่อนแล้ว พอมาถึงก็เข้ามาทำงานได้เลย และมีบางส่วนที่มาอาศัยอยู่กับญาติหรือเพื่อน ๆ ก่อนแล้วจึงหางานทำด้วยตนเอง ประเภทของงานที่ชาวพม่าหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทำได้แก่ อาชีพประมง อาชีพโรงงานอุตสาหกรรม อาชีพบริการร้านอาหาร และอาชีพก่อสร้าง 3. พฤติกรรมทางสังคม การดำเนินวิถีชีวิตของชาวพม่าหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเหล่านี้ ไม่พยามยามปรับตัวให้เข้ากับชาวไทย เช่น การพูดภาษาไทย การเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีด้วยกันและมีการแต่งงานกันระหว่างชาวไทยกับชาวพม่าน้อยมากโดยเฉพาะชายพม่ากับหญิงไทยและในทางตรงกันข้ามจะเป็นการแต่งงานระหว่างชายไทยกับหญิงพม่ามากกว่า ซึ่งก็เป็นการดำเนินวิถีชีวิตแรงงานชาวพม่าเพื่อความเป็นอยู่ในสังคมเดียวกันกับชาวพม่าเท่านั้น
4. พฤติกรรมทางด้านเศรษฐกิจ การดำเนินวิถีชีวิตของชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ที่ทำงานในประเทศไทย ชายส่วนใหญ่จะทำงานประมง ส่วนหญิงจะทำงานบริการ ร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ในงานโรงงานอุตสาหกรรม ชายและหญิงจะพอ ๆ กัน ส่วนรายได้ของแรงงานชาวพม่านี้ชายส่วนใหญ่จะมีรายได้ในช่วง 2,001-3,000 บาท ส่วนหญิงจะมีรายได้อยู่ในช่วง 1,001-2,000 บาทเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับที่ทำในพม่าจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแรงงานชาวพม่ามีรายได้ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งส่งผลทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นตามมาด้วย การใช้จ่ายส่วนใหญ่แรงงานชาวพม่าจะซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จะเป็นเท่านั้น จากนั้นจะเก็บออมไว้แล้วส่งเงินกลับบ้าน และซื้อทองเก็บไว้ แรงงานชาวพม่าจะมีลักษณะเดียวกันเป็นส่วนใหญ่คือมีเงินแล้วก็จะกลับไปภูมิลำเนาเดิมในประเทศของตนเอง ไม่คิดที่จะตั้งรากฐานถาวรในประเทศไทย จากการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจชาวพม่า รัฐบาลควรมีนโยบายต่อชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างรอบคอบและเข็มงวด เพราะการเข้าประเทศของชาวพม่ามีจำนวนมากขึ้น และเข้ามาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และที่สำคัญปัจจุบันมีนโยบายในการผ่อนปรนให้ผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายให้มีโอกาสในการทำงานมากขึ้น ในพื้นที่ 34 จังหวัด อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีการหลั่งไหลของชาวพม่ามากขึ้น รัฐบาลควรจะต้องมีมาตรการที่ชัดเจน และการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ.
A Study of the Way of Life of lllegal Burmese Immigrants in Ranong Province. The study was conducted for 3 main purposes. First, it was aimed at finding out the important factors influencing their migration and the way they contacted the human trafficking agencies. Secondly, it focused on studying the economic behavior of the illegal Burmese immigrants i.e., their way of life -- by considing the wage, expenses, saving. The third purpose was to study their socio-cultural behavior. A Burmese interpretator was hired to interview 200 illegal Burmese !aborers in Ranong. The subjects were purposively selected to get the subjects from various occupations, i.e., those in the fishing industry, those in industrial factories, those working at restaurants or food shops and those in construction work. Percentage, mean and Chi-square were employed to analyed the data. The findings were reported below :
1. General personal backgrounds. Most of the illegal Burmese immigrants were males. Their ages were not beyond 30. They were of Burmese race rather than other races. They completed Grade 5 or below. The number of the married was more or less the same as that of the single. 2. Factors contributing to their migration. Most of the illegal Burmese laborers in Thailand came from Tawai, Marid and Moramang by boat, starting from Song lsland. Those who came from Rangoon flew by plane to Song Island first and after that they went to Saphanpla Pier in Muang District, Ranong Province. Another group came in fishing boats diredly to the employer's pier. The reasons why they went to look for jobs in Thailand were that Burma was ruled by dictatorship, and that famine was widespread there. In Thaialnd it was easy for them to find jobs. In seeking employment, they would contact their relatives or friends before they went to Thailand. So when they arrived in Thailand, they could get jobs immediately. Only a few came to stay with their relatives of friends first and looked for a job by themselves after that. The occupations that they worked in were fishing boat crew, factory workers, waiters/waitresses and construction workers.
3. Social behavior. The illegal Burmese laborers did not try to adapt themselves to the Thai culture. For example, they did not want to learn to speak Thai, or join in any activity. There were few intermarriges between Thais and the illegal Burmese immigrants. If there were any, it was between a Thai man and a Burmese woman. 4. Economic behavior. Most illegal Burmese laborers worked in fishing industry, while most women worked at restaurants. In factories. the figures were more of less the same. Most Burmese women earned 2,001-3,000 baht a month whereas, most Burmese women earned 1,001-2,000 baht a month. When compared with their income in Burma, the monthly income they earned in Thailand was much higher, so they had a better living condition. Most of them would spend money on necessary things only and saved some to send back to their country. Some bought gold to save instead of money. They did not think of setting permanently in Thailand.
It was recommended that the government should have a strict measure to control the illegal immigration of Burmese people, as the number was formidably increasing. At present, there was a lenient policy to allow the foreign laborers to work in 34 provinces. it was time for the Thai government to do something about this issue, as the nation's stability as vulnerable at present.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539