• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

บทบาททางการเมืองของผู้นำชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

by ปรีชา นันทพฤกษา

Title:

บทบาททางการเมืองของผู้นำชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Other title(s):

Political roles of community key leaders : a case study of Muang District in Khon Kaen Province

Author(s):

ปรีชา นันทพฤกษา

Advisor:

พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

พัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางการเมืองของผู้นำชุมชนที่ปฏิบัติในขณะที่มีการเลือกตั้ง เพื่อศึกษาถึงการซื้อสิทธิขายเสียงของประชาชนเพิ่มขึ้นหรือลดลง และเพื่อศึกษาถึงแนวความคิดและบทบาทคาดหวังของผู้นำชุมชน ในการที่จะรณรงค์หรือหาแนวทางให้การเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ปราศจากการซื้อสิทธิขายเสียง.
การวิจัยครั้งนี้เริ่มด้วยการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อที่จะนำไปสู่การหาผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นการให้ประชาชนชี้แนะว่าในชุมชนหรือหมู่บ้านของตนมีใครบ้างที่เป็นผู้นำทางการ ผู้นำธรรมชาติและผู้นำสถานการณ์ โดยสุ่มตัวอย่างประชาชน จำนวน 751 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 53.34 ในตำบลหนองตูม ซึ่งเป็นตำบลที่มีผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผลจากการสำรวจประชาชนเพื่อนำมาจัดกลุ่มอภิปราย ได้ตัวอย่างผู้นำรวมทั้งสิ้น 40 คน ผู้นำทั้ง 40 คนเหล่านี้ได้รับการเชิญให้มาร่วมทำการอภิปรายกลุ่ม โดยเทคนิควิธีการทาง Focus Group.
ผลจากการวิจัยพบว่า สาเหตุที่ประชาชนในตำบลหนองตูมไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดในอำเภอเมือง เพราะกลุ่มผู้นำทางการรับนโยบายจากทางราชการแล้วมาประสานงานกับกลุ่มผู้นำธรรมชาติ กลุ่มผู้นำสถานการณ์ เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้ตำบลหนองตูมมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 การประชาสัมพันธ์ทำโดยเปิดหอกระจายข่าว ติดโปสเตอร์ทั้งหมู่บ้าน ใช้สื่อครู-นักเรียน เด็ก-ผู้ใหญ่ ให้ช่วยกันกระจายให้ทุกคนในหมู่บ้านไปลงคะแนนเสียง และไม่ให้มีการรับเงินจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง หากใครรับเงินมาแล้วก็ไม่ต้องไปลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครที่แจกเงิน และให้ลงคะแนนเสียงเป็นพรรค ไม่ให้ลงคะแนนเป็นรายบุคคล ผลจากการประชาสัมพันธ์ของกลุ่มผู้นำทั้งสามกลุ่มทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงลดลงมาก
ในเรื่องความพึงพอใจของผู้นำชุมชนต่อ สส. ในอดีตนั้น จากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้นำทั้งสามกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่า สส.ที่ผ่านมาในอดีตมีลักษณะของพ่อค้า นายทุนที่มาแจกเงิน แจกข้าวของ เป็นการลงทุนซื้อสิทธิของประชาชน หลังจากที่ตนเองได้เป็น สส.แล้วก็ถอนทุน โดยการออกกฎหมายที่ช่วยอำนวยผลประโยชน์ให้แก่นายทุน ขึ้นราคาสินค้าโดยไม่เห็นแก่ความเดือดร้อนของประชาชน สำหรับการเลือกตั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 กลุ่มผู้นำทั้งสามมีความพึงพอใจมากที่ได้ สส.ใหม่ ๆ เข้ามานั่งในสภา แต่ก็มีข้อติงว่า สส.ที่เพิ่งรับเลือกตั้งไปยังไม่มีผลงานมีเพียงการอภิปราย และประท้วงกันในสภาเท่านั้น
ในเรื่องบทบาททางการเมืองของผู้นำในการเลือกตั้งที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มผู้นำทางการได้รับคำสั่งจากทางราชการ และได้มีการเตรียมการเลือกตั้ง ด้วยการประสานงานกันระหว่างกลุ่มผู้นำธรรมชาติ และกลุ่มผู้นำสถานการณ์มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์กันอย่างทั่วถึงในหมู่บ้าน กลุ่มผู้นำทางการสำรวจความถูกต้องของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อถึงวันเลือกตั้ง มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยกลุ่มผู้นำทางการและกลุ่มผู้นำธรรมชาติจะเป็นกรรมการนับคะแนน กลุ่มผู้นำสถานการณ์เป็นผู้รักษาความสงบควบคู่กับตำรวจ อีกทั้งนำรถจักรยานยนต์ ไปรับประชาชนมาลงคะแนนและเปิดหีบเลือกตั้งเพื่อนับคะแนน การวางแผน ประสานงาน แบ่งงานกันทำอย่างเป็นขั้นตอน ส่งผลให้ตำบลหนองตูมมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุดในเขตอำเภอเมือง.
ในด้านรูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งในอนาคต พบว่า กลุ่มผู้นำทางการและกลุ่มผู้นำสถานการณ์เห็นว่า ควรมีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ให้มีพรรคการเมืองเหลือเพียง 2 พรรค เป็นการขจัดปัญหาวุ่นวาย แตกแยกไม่ลงรอยกันของนักการเมือง และบทบาทของผู้นำทางการที่จะทำในอนาคต คือ จะทำหน้าที่เผยแพร่ประชาธิปไตย โดยวางแผนที่จะมีการอบรมประชาชนในหมู่บ้านทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง แต่ทั้งนี้ทางราชการจะต้องให้ความสนับสนุนด้านงบประมาณด้วย.
จากผลการวิจัยที่ค้นพบทั้งหมดสรุปได้ว่า บทบาททางการเมืองของกลุ่มผู้นำชุมชนทั้งกลุ่มผู้นำทางการ กลุ่มผู้นำธรรมชาติ และกลุ่มผู้นำสถานการณ์ มีบทบาทสอดคล้องกันเป็นการช่วยเหลือ ช่วยกันทำงานเพื่อชุมชนอย่างเต็มกำลัง เต็มความสามารถ ดำเนินการในกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ จนประสบผลสำเร็จในจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการทำให้ตำบลหนองตูม มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุดในเขตอำเภอเมือง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

ผู้นำชุมชน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

144 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1905
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b4363ab.pdf ( 40.94 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b4363.pdf ( 2,082.25 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×