• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ประสิทธิผลของโครงการพิธีปาฐกถาธรรมเพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียงภายใต้แนวทางการสามัคคีวัดในการเผยแผ่ธรรม : กรณีวิจัยปฏิบัติการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางศีลธรรมในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา

by สุโรจนา ศรีอักษร

Title:

ประสิทธิผลของโครงการพิธีปาฐกถาธรรมเพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียงภายใต้แนวทางการสามัคคีวัดในการเผยแผ่ธรรม : กรณีวิจัยปฏิบัติการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางศีลธรรมในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา

Other title(s):

The effectiveness of the project of Dhamma lecture ceremony for the prevention of right buying and selling under the temple cooperation in Dhamma teaching : action researchs to compare experimental groups and controlled groups of moral training process in constituency C Nakorn Ratchasima

Author(s):

สุโรจนา ศรีอักษร

Advisor:

แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

พัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียง 2) ให้ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองด้วยการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในวันที่ 13 กันยายน 2535 และ 3) ให้ประชาชนรู้จักเลือกพรรคการเมืองที่ดีหรือนักการเมืองที่ดีเหมาะสม
ในการปฏิบัติการโครงการครั้งนี้ได้เลือกเขตเลือกตั้งที่ ค. จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้กิจกรรมของฝ่ายรณรงค์ขององค์กรกลางระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2535 ถึง 10 กันยายน 2535 โดยศึกษาวิจัยในพื้นที่ 4 อำเภอคือ อำเภอโชคชัย อำเภอครบุรี อำเภอห้วยแถลง อำเภอจักราช รวม 18 หมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตสุขาภิบาลและในเขตสุขาภิบาลบางส่วน มีประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางศีลธรรมรวมทั้งสิ้น 394 ราย.
ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ยึดหลักแนวคิดทฤษฎีปัจจัยนำเข้า-ปัจจัยส่งออก (Input Output Theory) ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานของหลักคิดที่เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยน (conversion process) โดยปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นปัจจัยส่งออก (Outout) มี 2 ด้าน คือ ด้านปริมาณ (quantity) และด้านคุณภาพ (quality) ปัจจัยนำออกดังกล่าวแสดงผลสะท้อนกลับ (Feed Back) ทำให้ทราบว่าปัจจัยนำเข้า (Input) ที่เข้ามากระทบต่อสังคมเป็นอย่างไร และขบวนการปรับเปลี่ยนของสังคมมีขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยนปัจจัยนำเข้ามากน้อยเพียงใด โดยนำแนวคิดทฤษฎีนี้มาเป็นกรอบแนวคิดในการกำหนดตัวแปรอิสระ (Inpependent Variables) ที่เป็นปัจจัยนำเข้า แล้วจำแนกออกเป็นชุดตัวแปรประกอบได้หลายด้าน ดังนี้คือ (1) ตัวแปรด้านลักษณะชุมชน ได้แก่ ลักษณะชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ลักษณะชุมชนชนบท (2) ตัวแปรด้านภูมิหลังบุคคล ได้แก่ ด้านประชากร ประกอบด้วย เพศ อายุ สมาชิกในครอบครัว ด้านสังคมประกอบด้วยระดับการศึกษา สภานภาพทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยอาชีพ รายได้ การเป็นเจ้าของปัจจัยทางการผลิตคือที่ดิน แลด้านการเมืองประกอบด้วย ความข้องเกี่ยวกับการซื้อขายเสียงในระดับชาติ และในระดับท้องถิ่น ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน (3) ตัวแปรด้านบทธรรม ได้แก่ เบญจศีล มรรค 8 และประการสุดท้าย (4) ตัวแปรด้านพิธีกรรม ได้แก่ ขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ คือสมาทานศีล 5 ฟังธรรมทอดผ้าป่าประชาธิปไตย จุดเทียนธรรมย้ำจุดยืน แผ่เมตตา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ลาพระสงฆ์ โดยมี ประสิทธิผลของโครงการเป็นตัวแปรตาม (Dependent Variables) คือ (1) ตัวแปรตามด้านเชิงปริมาณ (Quantity) ประกอบด้วย การรับหรือไม่รับสติกเกอร์ขององค์กรกลาง, การติด หรือไม่ติดสติกเกอร์ ถ้าหากติดสติกเกอร์ติดด้านในบ้านหรือนอกบ้าน, การชักชวนหรือไม่ ชักชวนในคนในครอบครัวให้ไปลงคะแนนเสียง, การชักชวนหรือไม่ชักชวนเพื่อนบ้านให้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 13 กันยายน 2535 (2) ตัวแปรตามเชิงคุณภาพ (Quality) ประกอบด้วยการตื่นตัวไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การรู้จักเลือกพรรคการเมืองที่ดี นักการเมืองที่ดีเหมาะสม
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้จัดเก็บข้อมูลด้วยคำถามสัมภาษณ์ (Schedule Interview) ภายหลังการเลือกตั้ง 13 กันยายน 2535 วิธีการประมวลข้อมูลใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ ทำการวิเคราะห์ ได้แก่ (1) สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เพื่อทราบลักษณะพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างรวมโดยอาศัยค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (2) สถิตเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) เพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ และการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยอาศัยค่า t-test, ค่าของความแปรปรวน (ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันโปรดักเมนท์ (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis)
ข้อค้นพบในการปฏิบัติโครงการพิธีปาฐกถาธรรม สรุปได้ดังนี้
1. ลักษณะชุมชนที่ต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของโครงการ.
2. ภูมิหลังบุคคลที่ต่างกัน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านประชากร และด้านสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโครงการ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในระหว่างกลุ่มผู้ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางศีลธรรมกับผู้ไม่ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางศีลธรรม ในการเมืองระดับชาติ ได้แก่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งในอดีต และปัจจุบัน คือการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535.
3. ความจำ ความเข้าใจ และความประทับใจในบทธรรมไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโครงการ.
4. ความจำ ความเข้าใจ และความประทับใจในพิธีกรรมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับประสิทธิผลของโครงการในเชิงบวก
5. ระหว่างกลุ่มที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางศีลธรรมไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโครงการในกรณีที่บุคคลจะไม่ซื้อสิทธิขายเสียง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

พุทธศาสนากับการเมือง

Keyword(s):

พุทธศาสนา
การเมือง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

13, 155 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1920
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9380ab.pdf ( 197.01 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9380.pdf ( 2,251.49 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×