ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสภาตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา
Publisher
Issued Date
1994
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[13], 285 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมบูรณ์ สอนประภา (1994). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสภาตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1931.
Title
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสภาตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา
Alternative Title(s)
Factors related to effectiveness of Tambol Council Committee : a case study of Chacheongsoa Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานของ กสต. 2) เพื่อศึกษาถึงความเห็นของ คปต. ในการดำเนินงานของ กสต. 3) เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาชนบทของ กสต. และ 4) เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของ กสต. และข้อเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานพัฒนาชนบทของ กสต.
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) จำนวน 359 คน และคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) จำนวน 84 คน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 443 คน
ผลการศึกษาพบว่า.
1. ประสิทธิผลของคณะกรรมการสภาตำบลไม่ได้ขึ้นอยู่กับ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และความสอดคล้องในอาชีพของ กสต. แต่ประการใด ดังนั้น กสต. ทุกคนจึงมีโอกาสที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลเท่าเทียมกัน แต่มีความมีมนุษยสัมพันธ์ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ การได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง การประสานงานภายใน กสต. และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของตำบล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ กสต.
2. ตัวแปรการประสานงานภายใน กสต.และความมีมนุษยสัมพันธ์ของ กสต.มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ กสต. รองลงมาคือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของตำบล การได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องและความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ กสต. ตามลำดับ.
3. คปต.มีความเห็นว่า กสต.ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้ดีในระดับหนึ่งรวมทั้งการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของตำบล และร่วมแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ.
4. ปัญหาในการปฏิบัติงานของ กสต.ที่สำคัญ คือ (1) ความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ กสต. (2) การได้รับงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตามแผน (3) การขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการทำงาน ไม่มีความเสียสละ และ (4) การขาดความเป็นเอกภาพในการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ จัดส่งลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่
จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ (1) การเสริมสร้างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ กสต. สามารถทำได้โดยการฝึกอบรม กสต. ให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ให้มีมนุษย์สัมพันธ์มีการประสานงานและมีความร่วมมือ (2) การพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นคณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) ควรคำนึงถึงคุณสมบัติส่วนตัวในด้านการมีมนุษยสัมพันธ์การสร้างกิจกรรมร่วมในตำบลและความเข้าใจในบทบาทหน้าที่มากกว่าอย่างอื่น (3) ควรปรับปรุงระบบบริหารงานของสภาตำบล ให้มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกับสถานภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยการปรับปรุงและแก้ไขระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการปกครองท้องถิ่นให้ทันต่อสภาวะการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ กสต.เกิดความกระตือรือร้น ที่จะปรับตัวเองให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มมากยิ่งขึ้น (4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน จะต้องให้การสนับสนุนและให้โอกาสแก่บุคคลทุกคนให้ทำงานและฝึกอบรมโดยต่อเนื่องและสม่ำเสมอในระหว่างที่บุคคลเหล่านั้นยังดำรงตำแหน่งอยู่ในคณะกรรมการสภาตำบล
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) จำนวน 359 คน และคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) จำนวน 84 คน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 443 คน
ผลการศึกษาพบว่า.
1. ประสิทธิผลของคณะกรรมการสภาตำบลไม่ได้ขึ้นอยู่กับ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และความสอดคล้องในอาชีพของ กสต. แต่ประการใด ดังนั้น กสต. ทุกคนจึงมีโอกาสที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลเท่าเทียมกัน แต่มีความมีมนุษยสัมพันธ์ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ การได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง การประสานงานภายใน กสต. และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของตำบล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ กสต.
2. ตัวแปรการประสานงานภายใน กสต.และความมีมนุษยสัมพันธ์ของ กสต.มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ กสต. รองลงมาคือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของตำบล การได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องและความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ กสต. ตามลำดับ.
3. คปต.มีความเห็นว่า กสต.ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้ดีในระดับหนึ่งรวมทั้งการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของตำบล และร่วมแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ.
4. ปัญหาในการปฏิบัติงานของ กสต.ที่สำคัญ คือ (1) ความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ กสต. (2) การได้รับงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตามแผน (3) การขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการทำงาน ไม่มีความเสียสละ และ (4) การขาดความเป็นเอกภาพในการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ จัดส่งลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่
จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ (1) การเสริมสร้างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ กสต. สามารถทำได้โดยการฝึกอบรม กสต. ให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ให้มีมนุษย์สัมพันธ์มีการประสานงานและมีความร่วมมือ (2) การพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นคณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) ควรคำนึงถึงคุณสมบัติส่วนตัวในด้านการมีมนุษยสัมพันธ์การสร้างกิจกรรมร่วมในตำบลและความเข้าใจในบทบาทหน้าที่มากกว่าอย่างอื่น (3) ควรปรับปรุงระบบบริหารงานของสภาตำบล ให้มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกับสถานภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยการปรับปรุงและแก้ไขระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการปกครองท้องถิ่นให้ทันต่อสภาวะการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ กสต.เกิดความกระตือรือร้น ที่จะปรับตัวเองให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มมากยิ่งขึ้น (4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน จะต้องให้การสนับสนุนและให้โอกาสแก่บุคคลทุกคนให้ทำงานและฝึกอบรมโดยต่อเนื่องและสม่ำเสมอในระหว่างที่บุคคลเหล่านั้นยังดำรงตำแหน่งอยู่ในคณะกรรมการสภาตำบล
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.