วิสัยทัศน์ทางการเมืองของชนชั้นนำ-ข้าราชการเกี่ยวกับการก้าวสู่ภาพลักษณ์ของรัฐบาลธรรมรัฐภายใต้กลไกและกติกาการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองพุทธศักราช 2540
by สุทัศน์ สิงหเสนี
Title: | วิสัยทัศน์ทางการเมืองของชนชั้นนำ-ข้าราชการเกี่ยวกับการก้าวสู่ภาพลักษณ์ของรัฐบาลธรรมรัฐภายใต้กลไกและกติกาการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองพุทธศักราช 2540 |
Other title(s): | The political vision of bureaucratic elite toward an image of good governance government under the newly enacted election rules and regulations of the 2540 BE reformed constitution |
Author(s): | สุทัศน์ สิงหเสนี |
Advisor: | แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | พัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 1999 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิสัยทัศน์ทางการเมืองของชนชั้นนำ-ข้าราชการเกี่ยวกับการก้าวสู่ภาพลักษณ์ ของรัฐบาลธรรมรัฐนั้น มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาระดับวิสัยทัศน์ของชนชั้นนำข้าราชการว่ามีวิสัยทัศน์หรือไม่ หากมีมีในระดับแคบ-สั้นหรือกว้าง-ไกล และศึกษาทิศทางวิสัยทัศน์ของชนชั้นนำ-ข้าราชการว่ามีทิศทางในแง่ดีหรือแง่ร้าย รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับและทิศทางของวิสัยทัศน์โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มข้าราชการระดับสูง ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 6-11 จากกระทรวงทบวงต่างๆ 14 กระทรวงใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 ราย ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเชิงสัดส่วนหลายขั้นตอน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ / วิสัยทัศน์ทางการเมืองของชนชั้นนำ-ข้าราชการเกี่ยวกับการก้าวสู่ภาพลักษณ์ของรัฐบาลธรรมรัฐนั้น ปรากฎว่าชนชั้นนำ-เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้าง-ไกลและมีทิศทางเชิงบวกกล่าวคือ เชื่อว่าแนวคิดเกี่ยวกับรัฐบาลธรรมรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองพุทธศักราช 2540 จะมีส่วนสร้างความโปร่งใสและความมีประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาล / ในการทดสอบปัจจัยที่สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ทางการเมือง ทั้งในแง่ระดับและทิศทางของวิสัยทัศน์พบว่าระดับวิสัยทัศน์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติถึง 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) การรับรู้ถึงข่าวสารข้อมูลทางการเมือง 2) การผ่านการบ่มเพาะทางการเมือง 3) การผ่านสังคมประกิตทางการเมืองและ 4) ความมีประสิทธิผลของการบริหารการเลือกตั้ง ส่วนด้านทิศทางของวิสัยทัศน์พบว่า มีเพียงตัวแปรการบริหารการเลือกตั้งเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับทิศทางของวิสัยทัศน์ ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่พบความสัมพันธ์ |
Description: |
Methodology: Chi square test |
Subject(s): | การเลือกตั้ง -- ไทย
วิสัยทัศน์ ธรรมรัฐ วัฒนธรรมทางการเมือง -- ไทย การสื่อสารทางการเมือง -- ไทย สังคมประกิตทางการเมือง -- ไทย ไทย -- การเมืองและการปกครอง |
Keyword(s): | วิสัยทัศน์ทางการเมือง |
Resource type: | Thesis |
Extent: | 9, 112, 10 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Access rights: | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1968 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View nida-ths-b98790.pdf ( 2,476.83 KB ) |
Files in this item (EXCERPT) |
|
View nida-ths-b98790ab.pdf ( 98.39 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|