• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การยอมรับบทบาทพัฒนากรเขตชานเมือง : ศึกษาเปรียบเทียบการคาดหวังบทบาทพัฒนากรโดยพัฒนากร และโดยคณะกรรมการสภาตำบล

by เกศรา อดุลยพิจิตร

Title:

การยอมรับบทบาทพัฒนากรเขตชานเมือง : ศึกษาเปรียบเทียบการคาดหวังบทบาทพัฒนากรโดยพัฒนากร และโดยคณะกรรมการสภาตำบล

Other title(s):

The suburban community development worker's role acceptance : an assessment of the community development worker's and the Tambol Council Committee's role expectations

Author(s):

เกศรา อดุลยพิจิตร

Advisor:

รพี สุวรรณะชฎ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

วิเคราะห์สังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1991

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้ มุ่งวิเคราะห์การยอมรับ "บทบาท" พัฒนากรใน 3 ประเด็นคือ คุณสมบัติ หน้าที่ และสิทธิของพัฒนากร โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และวิธีการทางสถิติวิเคราะห์ เปรียบเทียบ 1) การคาดหวังบทบาทพัฒนากร โดยพัฒนากร และโดยคณะกรรมการสภาตำบล 2) การคาดหวังบทบาทพัฒนากร โดยพัฒนากร และโดยคณะกรรมการสภาตำบลในทัศนะของพัฒนากร ผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหวังบทบาทจากกลุ่มตัวอย่างพัฒนากร ในเขตจังหวัดชานเมือง ที่จังหวัดนนทบุรี และนอกเขตจังหวัดชานเมือง ที่จังหวัดอ่างทอง และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภาตำบล ในเขตจังหวัดชานเมือง ที่ตำบลบางสีทอง และตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภาตำบลนอกเขตจังหวัดชานเมือง ที่ตำบลองครักษ์ และตำบลบางระกำ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวนรวมทั้งสิ้น 114 คน
ผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้า และนำแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของนักมนุษยวิทยา นักสังคมวิทยาและนักจิตวิทยา แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวัง แนวคิดเกี่ยวกับการคาดหวังบทบาท แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งในบทบาท และแนวคิดเกี่ยวกับความเครียดในบทบาท เป็นกรอบในการ 1) ศึกษาการคาดหวังบทบาทพัฒนากร โดยพัฒนากร โดยคณะกรรมการสภาตำบล และโดยคณะกรรมการสภาตำบลในทัศนะของพัฒนากร 2) ศึกษาการยอมรับบทบาทพัฒนากร และ 3) ศึกษาบทบาทจริงของพัฒนากร-ทั้งในและนอกเขตจังหวัดชานเมือง.
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบทบาทพัฒนากร-ในเขตจังหวัดชานเมือง : เพื่อให้พัฒนากรในเขตจังหวัดชานเมือง ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสภาตำบล และประชาชนเพิ่มมากขึ้น ผู้ศึกษาใคร่เสนอการปรับปรุงใน 3 ประเด็น ดังนี้ :- 1) ตัวบุคคล คือตัวพัฒนากรเอง : กองฝึกอบรม กรมการพัฒนาชุมชน ควรฝึกอบรมพัฒนากรก่อนและระหว่างประจำการ โดยเน้นให้พัฒนากรเข้าใจในวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และปรัชญาของการพัฒนาชุมชน บทบาทพัฒนากร ความรู้ทางเทคนิค และทักษะที่จะนำเอาความรู้วิชาการต่าง ๆ ไปใช้ให้เกิดผล และควรจัดสัมมนาพัฒนากรในเขตจังหวัดชานเมือง อย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ควรปรับปรุงสิทธิของพัฒนากรที่จะได้รับทราบข้อมูล การดำเนินงานเกี่ยวกับแผนงานโครงการ และงบประมาณของหน่วยงานอื่น สิทธิที่จะเลือกทำงานในวันหยุด โดยมีวันหยุดในวันธรรมดาทดแทน และปรับปรุงสวัสดิการเกี่ยวกับค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงของพัฒนากร เพื่อเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน 2) วิธีการดำเนินงานพัฒนาชุมชนในเขตจังหวัดชานเมือง : นโยบายการพัฒนาชุมชนในเขตจังหวัดชานเมือง ควรแตกต่างจากนโยบายการพัฒนาชุมชนนอกเขตจังหวัดชานเมือง กล่าวคือ นโยบายการพัฒนาชุมชนในเขตจังหวัดชานเมือง ควรเน้นการทำงานเป็นกลุ่ม โดยส่งเสริมให้มีการประสานงาน และความร่วมมือ (2.1) ภายในหน่วยงานพัฒนาชุมชนระดับอำเภอ (2.2) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ (2.3) จากกลุ่มองค์กรพื้นฐานต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 3) โครงสร้าง หน่วยงานในการพัฒนา และการจัดรูปองค์กร เพื่อการพัฒนาในเขตจังหวัดชานเมือง : ควรสนับสนุนให้บุคคลหลายฝ่าย เช่น นักการเมือง ตำรวจ ตลอดจนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้จังหวัด อำเภอ ในการดำเนินงานพัฒนา ตลอดจนเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับระเบียบของ กระทรวง กรม ซึ่งเป็นข้อบังคับ และเป็นกรอบนโยบายในการปฏิบัติงานของพัฒนากร.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.

Subject(s):

พัฒนากร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

xiv, 331 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1980
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8445.pdf ( 5,892.11 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×