• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

จิตสำนึกทางการเมืองของชาวนา : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

by ปริญญาพร ขุขันธิน

Title:

จิตสำนึกทางการเมืองของชาวนา : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

Other title(s):

Peasant political consciousness : a case study of Ban Sa Kaew Nonghong District in Buriram Province

Author(s):

ปริญญาพร ขุขันธิน

Advisor:

แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

วิเคราะห์สังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1991

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่อง จิตสำนึกทางการเมืองของชาวนา เป็นการศึกษาถึงการดำรงอยู่ (Being) และการเกิดจิตสำนึกโดยศึกษาการก่อเกิดของจิตสำนึกในลักษณะกระบวนการ (Process) และเน้นภาคปฏิบัติการ (Practice) ของมนุษย์ (Subject)
จากการศึกษาในหมู่บ้านอ่างแก้ว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าการมีการรวมกลุ่มของชาวนาเป็นภาคปฏิบัติการของชาวนา โดยมีการกระตุ้นของปัญญาชน (Intellectual) ของชาวนาบ้านอ่างแก้วเอง ที่มีประสบการณ์ทั้งภายในหมู่บ้านของตนอย่างดีและยังมีประสบการณ์นอกหมู่บ้าน เช่น ในระดับชาติซึ่งเรียกว่ามีประสบการณ์เหนือหมู่บ้าน อันเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสังคมหมู่บ้านกับสังคมภายนอก ทำให้การมีกลุ่มของชาวนาสามารถพัฒนาถึงระดับที่สามารถมีองค์กรของตนเอง ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านอ่างแก้ว โดยมีร้านค้าสาธิตการเกษตรเป็นองค์กรรูปธรรม
การศึกษาจิตสำนึกนี้เป็นการศึกษาการดำรงอยู่ภายใต้สภาพ เศรษฐกิจ การเมือง และสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งนี้จิตสำนึกเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างการดำรงอยู่กับการปฏิบัติการของมนุษย์ ซึ่งการศึกษาจิตสำนึกนั้นศึกษาภายใต้มิติ 3 ด้าน ได้แก่มิติด้านเหตุผลและความเข้าใจ (Cognition and Rationality) มิติด้านอารมณ์และความรู้สึก (Affectional) และมิติด้านการลงมือปฏิบัติการ (Conation) นอกจากนี้จิตสำนึกยังแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับจิตสำนึกแบบทันทีทันใดและระดับจิตสำนึกแบบทางการเมือง ซึ่งเป็นการพัฒนายกระดับจากระดับจิตสำนึกแบบทันทีทันใดนั่นเอง.
จากการศึกษาจิตสำนึกโดยผ่านมิติต่าง ๆ ในผู้นำชาวนา 10 คน และชาวนาทั่วไป 20 คน พบว่า ระดับจิตสำนึกแบบทันทีทันใด จำนวนชาวนาทั่วไปมีจิตสำนึกอยู่ในระดับนี้จำนวนมากถึงร้อยละ 80 และผู้นำชาวนาที่มีระดับจิตสำนึกในระดับนี้ร้อยละ 40 ในขณะที่ระดับจิตสำนึกทางการเมืองนั้น มีชาวนาทั่วไปที่มีระดับจิตสำนึกอยู่เพียงร้อยละ 20 และผู้นำชาวนามีระดับจิตสำนึกทางการเมืองเกินครึ่งร้อยละ 60 นอกจากนี้ยังพบว่าในมิติด้านปฏิบัติการนั้นชาวนาบ้านอ่างแก้วได้มีการปฏิบัติการ โดยผ่านการปฏิบัติการรวมกลุ่มกันในรูปแบบของสหกรณ์ร้านค้า เพื่อการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และบางส่วนของชาวนาเหล่านี้สามารถพัฒนายกระดับจากปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจขึ้นมาเป็นปฏิบัติการทางด้านการเมืองด้วย.
การที่กระบวนการชาวนาสามารถพัฒนาสูงถึงระดับจิตสำนึกทางการเมืองได้นั้น เนื่องจากการได้ผ่านการยกระดับจิตสำนึก อันได้แก่ ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ปัจจัยการสั่งสมประสบการณ์ ปัจจัยการมีโอกาสติดต่อกับบุคคลภายนอก และพบว่ามีปัจจัยเพิ่มเติมได้แก่ ปัจจัยการคมนาคม และปัจจัยการมีสื่อมวลชนในหมู่บ้าน ในขณะที่ไม่พบว่ามีปัจจัยเปลี่ยนแปลงฉับพลัน
ผลจากการมีจิตสำนึกของชาวนาบ้านอ่างแก้ว ทำให้ชาวนามีความเป็นอิสระสูง ชอบแสดงออกและมีการพูดคุยถกเถียงภายในกลุ่มชาวนา.
การที่ชาวนาบ้านอ่างแก้วสามารถมีจิตสำนึกได้นั้น เนื่องจากการผ่านสื่อกลางในการปฏิบัติการ อันได้แก่ ประการแรก กลุ่มเกษตรกรทำนา ซึ่งเป็นการทำงานของผู้นำที่ปฏิบัติการในฐานะผู้กระทำ (Actor) ซึ่งเป็นการหล่อหลอม (Formation) ให้เกิดความตื่นตัวทางศาสนาและทางการเมือง ปัจจัยการเกิดจากการจัดองค์กร (Organize) ของผู้นำชาวนา และปัจจัยการถ่ายทอดเนื้อหาทางอุดมการทั้งทางโลกและทางธรรมของผู้นำ ประการที่สอง เป็นการปฏิบัติการทางด้านอุดมการ ซึ่งมีการช่วงชิงความเป็นใหญ่ (Hegemony) ทางอุดมการอยู่ตลอดเวลาภายในหมู่บ้าน ซึ่งพบว่า มีการต่อสู้ระหว่างอุดมการหลัก (Dominant Ideology) กับอุดมการต่อต้าน (Counter Ideology) นอกจากนี้ยังมีการต่อสู้ทางอุดมการระหว่างรุ่น (Generation) และการต่อสู้ทางอุดมการของคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ ซึ่งการต่อสู้ทางอุดมการต่าง ๆ นั้น ชาวนาบ้านอ่างแก้วจะเป็นผู้ตัดสินใจที่จะให้อุดมการใดครองความเป็นใหญ่ทางอุดมการเหนือหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นการชี้ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้านในอนาคตด้วย.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.

Subject(s):

ชาวนา -- ไทย -- แง่การเมือง
จิตสำนึก

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

ก-ฉ, 4, 133 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1981
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b2038ab.pdf ( 136.53 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b2038.pdf ( 2,569.59 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×