• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ

by นภา ศรีพรรธนกุล

Title:

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ

Other title(s):

Factors affecting the success of quality control circle

Author(s):

นภา ศรีพรรธนกุล

Advisor:

จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

สาขาการวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1990

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ 12 ปัจจัย ที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ ที่นำมาใช้ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนงานบริการ และบริษัทเอกชนงานอุตสาหกรรม และตัวแปรสำคัญในการอธิบายพฤติกรรมในการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ การรับความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพและทัศนคติต่อกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ.
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกลุ่มคุณภาพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนงานบริการ และบริษัทเอกชนงานอุตสาหกรรม รวม 364 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายในการคัดเลือกหน่วยงานและกลุ่มตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่าง ได้สมาชิกกลุ่มคุณภาพ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือประกาศนียบตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นพนักงานระดับปฏิบัติ และทำงานด้านบริการ รายได้อยู่ระหว่าง 6,000-8,000 บาท เป็นสมาชิกกลุ่มคุณภาพมานาน 1-3 ปี และทำกลุ่มคุณภาพมาแล้วจำนวน 1-5 เรื่อง.
การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนแรกเป็นสถิติเชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test ส่วนที่สองเป็นการทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แคนนอนิคัล
ผลการศึกษาพบว่า.
1. ด้านความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ พบว่า พนักงานของบริษัทเอกชนงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ มีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการทำกลุ่มคุณภาพ และบุคคลที่ทำงานในหน่วยงานราชการ ส่วนใหญ่มีความรู้น้อย และมีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีต่อการทำกลุ่มคุณภาพ.
2. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ในการจัดอันดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ 3 อันดับแรก พบว่า.
2.1 ปัจจัยเกี่ยวกับหน่วยงานและลักษณะงาน พบว่า ความสามัคคีกลมเกลียวของบุคคลในหน่วยงาน เป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ การสนับสนุนของผู้บังคับบัญชา และลักษณะงาน มีความสำคัญอันดับ 3 ส่วนระยะเวลาในการทำงานของแต่ละคน และประเภทของหน่วยงาน มีความสำคัญน้อยมาก อย่างไรก็ดี เมื่อถามเกี่ยวกับลักษณะงาน พบว่า งานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เหมาะสมที่จะทำกลุ่มคุณภาพมากที่สุด รองลงมาได้แก่ งานบริการ อันดับสาม คือ งานธุรการ ส่วนงานด้านวิชาการจะทำกลุ่มคุณภาพได้ผลไม่ดีนัก
2.2 ปัจจัยเกี่ยวกับภูมิหลัง และอายุของสมาชิกกลุ่มคุณภาพ พบว่า ระดับการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ตำแหน่งในหน่วยงาน และอายุเป็นอันดับถัดไป สำหรับรายได้ และเพศ มีความสำคัญน้อยมาก เกี่ยวกับเรื่องอายุ สมาชิกคาดว่า กลุ่มอายุ 21-30 ปี จะทำกลุ่มคุณภาพได้ผลดีที่สุด รองลงมาได้แก่ อายุ 31-40 ปี ส่วนกลุ่มอายุสูงกว่า 40 ปี และต่ำกว่า 20 ปี คาดว่าจะได้ผลไม่ดีนัก
2.3 ปัจจัยเกี่ยวกับนโยบาย และการสนับสนุนการทำกลุ่มคุณภาพ พบว่า นโยบายและการสนับสนุนที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และการสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม อันดับรองลงมา ได้แก่ การคำนึงถึงขวัญ และกำลังใจของคนในหน่วยงาน สนับสนุนการทำกลุ่มคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และการจัดสรรเวลาให้สำหรับเรื่องการบริหารงาน ให้ผู้ร่วมงานเกิดความผูกพันกับหน่วยงาน การกระจายอำนาจให้หน่วยงานย่อยมีอำนาจตัดสินใจ มีความสำคัญเป็นอันดับ 3.
2.4 ปัจจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้บังคับบัญชาที่สำคัญ คือ ต้องมีความรู้ในเรื่องการทำกลุ่มคุณภาพเป็นอย่างดี รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานทุกระดับ ช่วยเหลือและร่วมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ และควรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา สำหรับผู้บริหารระดับสูงนั้น เพียงให้การสนับสนุนการทำกลุ่มคุณภาพทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง ยึดปรัชญาการทำงานโดยการพัฒนาคน และมีทัศนคติที่ดีต่อการทำกลุ่มคุณภาพก็พอ
2.5 ปัจจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจที่สำคัญอันดับหนึ่ง ได้แก่ การจัดอภิปราย สัมมนา หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำแนวทางในการแก้ปัญหา การจัดให้มีการเสนอผลงาน ให้รางวัลการทำกลุ่มคุณภาพ แต่หน่วยงานราชการให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยมาก ส่วนแรงจูงใจอันดับสาม คือ การพัฒนาวิทยาการ เทคนิค เครื่องมือ วารสารเกี่ยวกับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ.
3. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ในการจัดอันดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ 3 อันดับแรก พบว่า.
3.1 ปัจจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่มที่เป็นอุปสรรคมากที่สุด คือ สมาชิกเกิดความเบื่อหน่าย เนื่องจากมีความสับสนในการทำกิจกรรมให้ถูกต้อง สมาชิกมีเวลาว่างไม่ตรงกัน เกิดการขัดแย้งเนื่องจากเข้าใจวัตถุประสงค์ไม่ตรงกัน และมีการขัดแย้งกันเป็นส่วนตัวก่อนมาเข้ากลุ่ม
3.2 ปัจจัยเกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่เป็นอุปสรรค อันดับแรก คือ มีงานประจำที่ต้องทำให้เสร็จตามเวลา เบื่อหน่ายในงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ มีการแก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น และมีทัศนคตที่ไม่ดีต่อผู้บังคับบัญชา.
3.3 ปัจจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของสมาชิกที่เป็นอุปสรรคสำคัญ คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ไม่ยอมรับฟัง คำวิพากษ์ วิจารณ์ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่ยอมรับว่ากลุ่มคุณภาพจะแก้ปัญหาได้ และไม่ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับพฤติกรรมการทำกลุ่มคุณภาพ (จำนวนเรื่องที่ทำ) พบว่าลักษณะงาน และระดับการศึกษา เป็นปัจจับสำคัญและอธิบายได้ดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความรู้ ตำแหน่งในหน้าที่ ส่วนตัวแปรอายุ อธิบายเพิ่มได้น้อย แต่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการวิเคราะห์เรื่องความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ พบว่า ระดับการศึกษาอธิบายได้ดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ ทัศนคติ และพฤติกรรม ส่วนตำแหน่งในหน่วยงาน อายุ รายได้ แม้จะอธิบายเพิ่มได้น้อย แต่ก็มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวิเคราะห์เรื่องทัศนคติ พบว่า ความรู้ และเพศ อธิบายได้ดีพอ ๆ กัน และตัวแปรรายได้ พฤติกรรม อธิบายได้รองลงมา ทั้ง 4 ตัวแปรนี้มีนัยสำคัญทางสถิติ
ในการวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการดำเนินการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพในหน่วยงานอย่างจริงจัง โดยให้การสนับสนุนปัจจัยที่ส่งเสริมการทำกลุ่มคุณภาพให้สำเร็จ และขจัดอุปสรรคที่จะขัดขวางการทำกลุ่มคุณภาพให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งได้แก่ การสร้างศรัทธา การยอมรับ และความเชื่อมั่นว่า กลุ่มคุณภาพสามารถแก้ปัญหาในหน่วยงานได้ การมีแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มคุณภาพ ตลอดจนเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถปรับใช้กับสถานการณ์เฉพาะได้ การจัดการฝึกอบรม ซึ่งต้องมีการวางแผนเป็นขั้นตอน โดยผู้บังคบบัญชาเข้าร่วมอย่างตั้งใจ ให้ความช่วยเหลือ และสามารถให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี มีการเตรียมบุคลากรให้พร้อมก่อนเริ่มลงมือทำกิจกรรม ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้นำกลุ่มคุณภาพ ผู้ปฏิบัติงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน รวมทั้งมีการจัดสรรเวลา และงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และสุดท้าย คือ การดำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเทคนิคบางประการ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารงานและการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.

Subject(s):

กลุ่มสร้างคุณภาพงาน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

viii, 187 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1983
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7399ab.pdf ( 199.69 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7399.pdf ( 3,899.89 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×