ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ทมก ไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
Publisher
Issued Date
1993
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
10, 212 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง (1993). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ทมก ไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1984.
Title
ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ทมก ไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
Effectiveness of policy implementation protecting election dishonesty of the TIP project : a case of action research in the election area C Nakornrajchasima province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการเกี่ยวกับการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติในระดับพื้นที่ที่อยู่ในสถานการณ์ของการรณรงค์เลือกตั้ง โดยปฏิบัติการตามรูปแบบ (Model) ใหม่ที่มีประสิทธิผลสูง เหมาะสมต่อสถานการณ์การเลือกตั้งของไทยมากที่สุด
วิธีการศึกษา การศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ในเชิงปริมาณนั้น เป็นการศึกษาถึงการรับรู้เกี่ยวกับ ท.ม.ก. การมีส่วนร่วมโดยแสดงพฤติกรรมแจ้งหรือไม่แจ้งโดยใช้แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณาเป็นด้านหลัก ส่วนในเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาโดยเน้นการปฏิบัติการในพื้นที่ของผู้วิจัย สัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังศึกษาจากเอกสารด้วย แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด
ผลการศึกษา พบว่าประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติของ ท.ม.ก. นั้น มีประสิทธิผลค่อนข้างต่ำ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ทั้งเป้าในการรับรู้และเป้าพฤติกรรม
ส่วนการวิจัยปฏิบติการของคณะวิจัยปฏิบัติการพัฒนาสังคมนิด้า-เกริกนั้น มีประสิทธิผลมากกว่าทั้งปริมาณและคุณภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการ ท.ม.ก. เดิม โดยการวิจัยปฏิบัติการนั้นยึดถือตัวแปรหลัก 3 ตัวแปร คือ
1. ด้านนโยบาย โดยเน้นความแจ่มชัดเป้านโยบายและการถ่ายทอดเป้านโยบาย โดยจำแนกเป้าหมายเป็นเป้ารับรู้และเป้าพฤติกรรม
2. ด้านกระบวนการบริหารนโยบายนั้น ให้ความสำคัญมาก มีตัวแปรย่อยอีก 8 ตัว คือ การสื่อสารและสื่อข้อความ การเพิ่มศูนย์รับแจ้งเบาะแสในท้องถิ่น การวิเคราะห์และสืบเสาะเบาะแสที่แจ้งการระดมส่วนร่วมหรือความร่วมมือของประชาชน การนำพาสู่กระบวนการของระบบราชการ การให้ที่หลบภัยและสร้างความอุ่นใจแก่ประชาชน การปลอบขวัญประชาชน และการติดตามเรื่อง และการเยี่ยมเยียนประชาชน
3. ด้านทรัพยากรการบริหาร ได้แยกประเด็นตามแนวคิด M4 อันประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และขวัญกำลังใจ
กล่าวโดยสรุป การนำนโยบายต่าง ๆ ไปปฏิบัติ โดยเฉพาะนโยบายที่มาจากรัฐบาลเบื้องบน ชนชั้นปกครองจะไม่มีประสิทธิผลถ้าขาดความเข้าใจประชาชนที่แท้จริง และถ้าขาดการมองปัจจัยต่าง ๆ ให้รอบด้าน ดังเช่น การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้ การนำนโยบายนั้น ๆ มาปฏิบัติจะกลายเป็นการสูญเปล่า.
วิธีการศึกษา การศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ในเชิงปริมาณนั้น เป็นการศึกษาถึงการรับรู้เกี่ยวกับ ท.ม.ก. การมีส่วนร่วมโดยแสดงพฤติกรรมแจ้งหรือไม่แจ้งโดยใช้แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณาเป็นด้านหลัก ส่วนในเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาโดยเน้นการปฏิบัติการในพื้นที่ของผู้วิจัย สัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังศึกษาจากเอกสารด้วย แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด
ผลการศึกษา พบว่าประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติของ ท.ม.ก. นั้น มีประสิทธิผลค่อนข้างต่ำ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ทั้งเป้าในการรับรู้และเป้าพฤติกรรม
ส่วนการวิจัยปฏิบติการของคณะวิจัยปฏิบัติการพัฒนาสังคมนิด้า-เกริกนั้น มีประสิทธิผลมากกว่าทั้งปริมาณและคุณภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการ ท.ม.ก. เดิม โดยการวิจัยปฏิบัติการนั้นยึดถือตัวแปรหลัก 3 ตัวแปร คือ
1. ด้านนโยบาย โดยเน้นความแจ่มชัดเป้านโยบายและการถ่ายทอดเป้านโยบาย โดยจำแนกเป้าหมายเป็นเป้ารับรู้และเป้าพฤติกรรม
2. ด้านกระบวนการบริหารนโยบายนั้น ให้ความสำคัญมาก มีตัวแปรย่อยอีก 8 ตัว คือ การสื่อสารและสื่อข้อความ การเพิ่มศูนย์รับแจ้งเบาะแสในท้องถิ่น การวิเคราะห์และสืบเสาะเบาะแสที่แจ้งการระดมส่วนร่วมหรือความร่วมมือของประชาชน การนำพาสู่กระบวนการของระบบราชการ การให้ที่หลบภัยและสร้างความอุ่นใจแก่ประชาชน การปลอบขวัญประชาชน และการติดตามเรื่อง และการเยี่ยมเยียนประชาชน
3. ด้านทรัพยากรการบริหาร ได้แยกประเด็นตามแนวคิด M4 อันประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และขวัญกำลังใจ
กล่าวโดยสรุป การนำนโยบายต่าง ๆ ไปปฏิบัติ โดยเฉพาะนโยบายที่มาจากรัฐบาลเบื้องบน ชนชั้นปกครองจะไม่มีประสิทธิผลถ้าขาดความเข้าใจประชาชนที่แท้จริง และถ้าขาดการมองปัจจัยต่าง ๆ ให้รอบด้าน ดังเช่น การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้ การนำนโยบายนั้น ๆ มาปฏิบัติจะกลายเป็นการสูญเปล่า.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.