การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง
by พีรยา วัชโรทัย
Title: | การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง |
Other title(s): | Local authority's solid waste management : a case study of Muangklang Municipality, Rayong Province |
Author(s): | พีรยา วัชโรทัย |
Advisor: | จำลอง โพธิ์บุญ, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์นีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตําบล เมืองแกลง และ2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลตอความสําเร็จในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาล ตําบลเมืองแกลง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่ ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย ผู้นําชุมชนและประชาชนในพืนที่ รวมทั้งการ สังเกตการณ์การดําเนินการจัดการขยะมูลฝอย และสภาพพื้นที่ของเทศบาลตําบลเมืองแกลง จังหวัด ระยอง วิเคราะห์ปัจจัยความสําเร็จโดยเทคนิคการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตําบลเมืองแกลงเริมต้น จากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะจากบ้านเรือนเทศบาล มีการคัดแยกขยะมีการสงเสริมให้บุคากรที่เกี่ยวข้อง ในองค์กรพัฒนาศักยภาพตนเองด้านการ จัดการขยะมีการวางเป้าหมายในด้านการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งมียุทธศาสตร์และโครงการภายใต้ ยุทธศาสตร์เป็นตัวขับเคลื่อนใช้ระบบ ISO 14001 ในการทํางานด้านสิ่งแวดล้อม ผู้นําชุมชนและ เจ้าหน้าที่เป็นตัวกลางประสานการทํางานระหว่างเทศบาลประชาชน การวิเคราะห์ปัจจัยภายในของการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตําบลเมืองแกลง พบว่า ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ มี การปฏิบัติงานเชิงประจักษ์ บุคลากที่ เกี่ยวข้องมีความกระตือรือร้น มีความชํานาญด้านการจัดการขยะมูลฝอยแต่ยังขาดแคลนบุคลากรระดับ ปฏิบัติการ มีการแบ่งงานตามหน้าที่อย่างชัดเจน มีการนําระบบมาตรฐาน ISO 14001 มาใช้ในการ บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมนโยบายแผนโครงการยึดหลักการมีส่วนรวมของประชาชน มีช่องทางการประชาสัมพันธ์หลายทางเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนมีวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ เหมาะสม กับเทศบาลการ วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกพบว่า ผู้นําชุมชน และประชาชนมีความกระตือรือร้น และมีจิตสํานึกในด้านสิ่งแวดล้อมแต่ยังมีประชากรแฝงที่ ไม่ให้ความรวมมือในการ จัดการสิ่งแวดล้อม หน่วยงานของรัฐและองค์กรด้านสิงแวดล้อมเข้ามาช่วยสนับสนุนการพัฒนาการ จัดการขยะมูลฝอยของเทศบาล |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 186 แผ่น : ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1993 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|