• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

by จันทนา มณีอินทร์

Title:

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Other title(s):

Infectious waste management of local authorities

Author(s):

จันทนา มณีอินทร์

Advisor:

จำลอง โพธิ์บุญ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2013

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นีมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ นโยบาย วิธีการดําเนินการคัดแยก เก็บรวบรวม ขนส่ง และกาจัดมูลฝอยติดเชื้อ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการดําเนินการดังกล่าวเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้ แบบสอบถาม การสังเกตการณ์ในพื้นที่ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อใช้วิธีการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สําหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อใช้เทคนิค SWOT Analysis ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายและ ความพร้อมในการ ดําเนินารจัดการมูลฝอยติดเชื้อเพียงร้อยละ 2.3 องค์กรปกครองสวนท้องถิ่นจํานวนร้อยละ81.9 ไม่มีการเก็บข้อมูลปริมาณมูลฝอยติดเชือ มีการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อออกจากขยะมูลฝอยชุมชน เพียงร้อยละ 3.7 ซึ่งการคัดแยกดังกล่าวมาจากแหล่งกำเนิดร้อยละ50 คัดแยกโดยองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นร้อยละ42.9และไม่ระบุว่ามีการคัดแยกจากแหล่งใด้ร้อยละ 7.1 การเก็บรวบรวมและ ขนส่งมูลฝอยติดเชื้อดําเนินการโดยสถานบริการสาธารณสุขร้อยละ54.9 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ4.8 เอกชนร้อยละ3.2 ไม่มีการเก็บข้อมูลจํานวนร้อยละ37.1 การกำจัดมูลฝอยติด เชื้อดําเนินการโดยสถานบริการสาธารณสุขร้อยละ53.9 องค์กรปกครองสวนท้องถิ่นร้อยละ3.7 เอกชนร้อยละ3.7 และไม่มีการเก็บข้อมูลร้อยละ38.7โดยสามารถจัดกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) องค์กรปกครองสวนท้องถินขนาดเล็ก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบลและเทศบาล ตําบลไม่มีนโยบายการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยให้สถานบริการพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเองเนื่องจากขาดความพร้อมและศักยภาพในการจัดการ และ กฎหมายยกเว้นให้ในสวนของการดําเนินการเก็บรวบรวม ขนส่ง และกาจัดมูลฝอยติดเชื้อ 2) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง ได้แก่ เทศบาลเมือง วนใหญ่ไม่มีการ จัดการมูลฝอยติดเชื้อ สถานบริการพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของตนเอง บางแห่งมีนโยบายและดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อง มีการออกเทศบัญญัติเพื่อใช้บังคับ ภายในท้องถิ่นซึ่งขึนอยู่ผู้บริหารในการกำหนดนโยบายตลอดจนความพร้อมและศักยภาพของ เทศบาลเมืองแต่ละแห่ง 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ได้แก่เทศบาลนครและองค์การบริหาร จังหวัด ส่วนใหญไม่มีการดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ มีเพียงบางแห่งที่มีการดําเนินการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อแบบครบวงจรหรือบางส่วน ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้กาหนดนโยบายในการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อที่ชัดเจนโดยพิจารณาจากความพร้อมและศักยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มีศักยภาพเพียงพอในการ ดําเนินการ แต่บางแห่งอาจขาดความพร้อมในด้านวิธีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ กฎหมายให้ ทางเลือกในหลายรูปแบบ อย่างไรกตาม องค์กรปกครองสวนท้องถิ่นขนาดใหญ่เหมาะสําหรับการ จัดให้มีระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบครบวงจรมากที่สุดเมื่อเทียบกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นทั้ง 3 กลุ่ม สําหรับปัจจัยที่มีผลิตประสิทธิภาพใน การดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ จํานวนประชากร ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ ผู้บริหาร นโยบายการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และความพร้อมและ ศักยภาพขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่น และปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อของภาครัฐกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและความรวมมือจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในท้องถิ่น

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

225 แผ่น : ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2001
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b180561.pdf ( 4.07 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×