การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จังหวัดอ่างทอง
Files
Publisher
Issued Date
2010
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
183 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b165505
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุพิชฌาย์ ธนารุณ (2010). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จังหวัดอ่างทอง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2024.
Title
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จังหวัดอ่างทอง
Alternative Title(s)
Application of geographic information system for flood risk area assessment in Angthong Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุทกภัยใน พื้นที่จังหวัดอ่างทอง 2) ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับหลักการวิเคราะห์ศักยภาพ เชิงพื้นที่ในการกําหนดและจัดทําแผนที่ แสดงพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจังหวัดอ่างทอง 3) เสนอแนะ แนวทางในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง คือ ปริมาณ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดอ่างทองมีปริมาณมากจนเกินความจุของลําน้ํา ทําให้ระดับ น้ําสูงขึ้นจนล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่บริเวณสองฝั่งงลําน้ำ รองลงมาคือ มีฝนตกหนักในพื้นที่จนเกิด ภาวะน้ำท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ํา นอกจากนี้ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดอ่างทองยังเอื้ออํานวย ต่อการเกิดอุทกภัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนกลาง จึงเป็นพื้นที่รองรับน้ำหลากจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ปัจจัยทางด้านกายภาพจึงถือเป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อ การเกิดอุทกภัยในพื้ นที่จังหวัดอ่างทอง สําหรับการกําหนดและจัดทําแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจังหวัดอ่างทอง โดยการ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่โดยวิธีการให้ค่า น้ำหนักคะแนนความเหมาะสมของปัจจัย (Weighting) และค่าน้ำหนักคะแนนระดับของปัจจัย (Rating) ซึ่งกําหนดโดยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปริมาณน้ำฝน พื้นที่น้ําท่วมใน อดีต (ช่วงปีพ.ศ.2545 – 2551) ความลาดชันของพื้นที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลความหนาแน่น ของทางน้ํา ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย สิ่งกีดขวางทางน้ำ(เส้นทางคมนาคม) ความสามารถใน การระบายน้ำของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (สิ่งปกคลุมดิน) พบว่า จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยสูง เป็นพื้นที่ 952.01 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 595,006 ไร่ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 99.23 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยปานกลาง เป็นพื้นที่ 7.37 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,606 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.77 ของพื้ที่ทั้งหมด ดังนั้น เพื่อลดความรุนแรงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น แนวทางในการป้องกันและ บรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยจึงควรบูรณาการมาตรการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งมาตรการที่ใช้ โครงสร้างทางวิศวกรรม มาตรการที่ไม่ใช่โครงสร้างทางวิศวกรรม และมาตรการพยากรณ์และ เตือนภัยน้ำท่วม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาอุทกภัยของจังหวัดอ่างทองเป็นไปอย่างยั่งยืนต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010