การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
by ณัฐชยา อุ่นทองดี
Title: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other title(s): | Public participation in prevention and solution of haze Air Pollution in Mae Hong Son Province |
Author(s): | ณัฐชยา อุ่นทองดี |
Advisor: | จุฑารัตน์ ชมพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและ แก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2)ศึกษาปัจจัยความสําเร็จและปัญหา หรืออุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจาก หมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 3) นําเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ป้ องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview)กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเกิด จาก 1) การเผาในที่โล่ง (Open Burning) ทั้งในพื้นที่ป่า พื้นที่ทําการเกษตรและพื้นที่ชุมชน 2)ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นแอ่งกระทะมีภูเขาสูงล้อมรอบซึ่งมีผลต่อการ สะสมของหมอกควัน และเป็นป่าเบญจพรรณที่มีการผลัดใบ และ3) มลพิษทางอากาศจาก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์และจังหวัดใกล้เคียง สําหรับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่าข้อมูลที่ภาครัฐให้กบประชาชนมีความเหมาะสมและประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ กระบวนการมีส่วนร่วมมีความ โปร่งใสในระดับหนึ่งโดยมีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการ/ กิจกรรม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ ประชาชนบางส่วนแสดงความคิดเห็นต่อมาตรการ/ กิจกรรม นอกจากนี้ยังพบวาเป็นกระบวนการที่มีความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทั้งหน่วยงานภาครัฐและประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าบุคลากรและงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดําเนินงานทําให้การมีส่วนร่วมไม่ครอบคลุมและไม่ ต่อเนื่อง สําหรับรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการ รับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ และประชาชนบางส่วนมีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นต่อแนวทางการดําเนินงานตามมาตรการ/ กิจกรรมในการป้องกนและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควัน แต่ไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนกับหน่วยงานภาครัฐ มีเพียงผู้นําชุมชนที่รับ มาตรการหรือนโยบายมาร่วมวางแผนกบสมาชิกในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่มีส่วน ร่วมในการดําเนินงาน/การปฏิบัติ ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จของการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย1) ปัจจัย ส่วนบุคคล ได้แก่ การมีความตระหนักและจิตสํานึก การมีความรู้ความเข้าใจและการได้รับ ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศจากหมอกควันและ2)ปัจจัยด้านการจัดการ ได้แก่ศักยภาพของผู้นํา ชุมชนและการสนับสนุนจากหน่วยงานสําหรับปัญหาหรืออุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความแตกต่างทางภาษา การไม่มีเวลาและการไม่ได้รับ ข้อมูลข่าวสารและ2)ปัจจัยเชิงโครงสร้าง/ การบริหารงานของภาครัฐ ได้แก่ การติดต่อสื่อสารการ เดินทางและการขาดความต่อเนื่องในการดําเนินงาน ข้อเสนอแนะสําหรับแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกนและแก้ไข ได้แก่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจและความ ตระหนักแก่ประชาชน ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรหรือวิธีการอื่นเพื่อเป็นทางเลือกในการจัดการ กับเศษวัสดุทางการเกษตร และสุดท้ายในส่วนของภาคประชาชนต้องเปิดใจและยอมรับการเข้ามา ดําเนินการที่จัดขึ้นโดยภาครัฐ รวมทั้งยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 222 แผ่น : ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2028 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|