การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
by ประวิทย์ จันทร์แฉ่ง
Title: | การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
Other title(s): | Drought risk area assessment in Kampaengsaen District, Nakhonpathom Province Using Geographic Information System |
Author(s): | ประวิทย์ จันทร์แฉ่ง |
Advisor: | จินตนา อมรสงวนสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2010 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2010.96 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อความแห้งแล้ง และวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อ ความแห้งแล้ง รวมทั้งหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ใช้ใน การศึกษากับความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมีปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวกับ ลักษณะทางธรรมชาติ คือ ปริมาณน้ำฝนต่อปี, ปริมาณน้ำบาดาล,ลักษณะเนื้อดิน และการระบายน้ของดิน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทาง กายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ คลองชลประทาน และการใช้ประโยชน์จาก ที่ดิน โดยกำหนดให้ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำนวน 17 คน ให้คะแนนความสำคัญ ( Weighting) และค่าน้ำหนักระดับปัจจัย (Rating) ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยง ต่อความแห้ง แล้งกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความเสี่ยงต่อ ความแห้งแล้งด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression Analysis) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อ ความ แห้งแล้งในพื้นที่โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่ศึกษาพบว่า ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 มากที่สุดคือ การระบายน้ำของดิน (X5 ) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.911 รองลงมาคือลักษณะเนื้อดิน (X4 ) ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.852 ส าหรับปัจจัยอื่น ๆ ที่ใช้ในการศึกษามีค่าความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน และผลการศึกษา ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้ง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010 |
Subject(s): | ภัยแล้ง -- ไทย -- นครปฐม -- กำแพงแสน
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ -- ไทย -- นครปฐม -- กำแพงแสน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 14, 151 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2031 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|