การศึกษาสังคมพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืชสมุนไพรในระบบนิเวศป่าบุ่ง ป่าทาม ป่าอาลอ-โดนแบน ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
by สุมณฑา ก่อแก้ว
Title: | การศึกษาสังคมพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืชสมุนไพรในระบบนิเวศป่าบุ่ง ป่าทาม ป่าอาลอ-โดนแบน ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ |
Other title(s): | The study of herbal plant community and local wisdom on the use of herbal plants in Arlor-Donban Seasonally-Flooded Forest Ecosystem, Tambon Nadee, Muang Distric, Surin Province |
Author(s): | สุมณฑา ก่อแก้ว |
Advisor: | จินตนา อมรสงวนสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2008 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษาสังคมพืชสมึนไพรูชภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืช สมุนไพรปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้พืชสมุนไพรของประชาชนทั่วไปตำบลนาดี และเพื่อหา แนวทางในการจัดการพืชสมุนไพรในระบบนเวศป่าบุ้ง ป่าทาม ป่าอาลอ-โดนแบน ตำาบลนาดี อําเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ใช้การวางแปลงชั่วคราวเพื่อศึกษาสังคมพืชป่าอาลอ-โดนแบนแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืชสมุนไพรและใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้พืชสมุนไพรของประชาชนตำบลนาดีโดยการสุ่มตัวอย่างแบบ ชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling)จำนวน 100 ราย นําผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์หาแนวทาง จัดการพืชสมุนไพรในระบบนิเวศป่าบุ้ง ป่าทามอาลอ-โดนแบนใช้โปรแกรมSPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ได้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการทดสอบไคสแควร์(Chi-Square Test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าป่าอาลอ-โดนแบน 3 ระบบนเวศย่อยคือระบบนิเวศป่าบุ้งระบบนเวศ ป่าทามและระบบนิเวศป่าโคกซี่งจัดเป็นป่าชั้นรอง (Secondary Forest) ที่กําลังอยู่ในขั้นทดแทน (Succession) หากมีการป้องกันไฟป่าอย่างดีจะเข้าสู่สังคมป่าดงดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) สํารวจพบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 72 ชนิดไม้ยืนต้นที่มีความเด่นมากที่สุดคือพยอมมีค่าดรรชนีความสำคัญ ร้อยละ 61.738 ไม้หนุ่มหรือไม้พุ่มที่มีความเด่นมากที่สุดคือหูลิงมีค่าดรรชนีความสำคัญร้อยละ 95.594 ไม้พื้นล่างพบว่าหญ้าความหนาแน่นมากที่สุด 12 ต่อตารางเมตรความถี่พบว่า ถอบแถบน้ํามีค่าความถี่มากที่สุดร้อยละ 44 ดรรชนีความหลากหลายของไม้ยืนต้นเท่ากับ 1.110 สําหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืชสมุนไพรพบว่ามีการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรจากที่สำรวจพบ 14 ชนิดจาก 30 สูตรยาวิธีการรักษาโดยการทำหรือพอกการต้มพืชสมุนไพรการอบไอน้ําและ เป่าควบคู่กับการใช้พืชสมนไพรส่วนของพืชที่นํามาใช้ปรุงยามากที่สุดคือรากลําต้นและกิ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชสมุนไพรของประชาชนตำบลนาดพบว่าความเชื่อในท้องถิ่นมี ความสัมพันธ์กับการใช้พืชสมุนไพรของประชาชนตำบลนาดีและแนวทางการจัดการพืชสมุนไพรใน ป่าอาลอ-โดนแบนได้แก่การรักษาพื้นที่ป่าไม้การวิจัยและพัฒนาการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรการใช้ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืชสมุนไพรและการส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้พืชสมุนไพร |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008 |
Subject(s): | พืชสมุนไพร -- ไทย -- สุรินทร์
สมุนไพร -- ไทย -- สุรินทร์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- สุรินทร์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 11, 106 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2044 |
Files in this item (EXCERPT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|