ความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
2009
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
15, 180 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศีลวัต ศรีสวัสดิ์ (2009). ความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2050.
Title
ความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Knowledge and understanding in the Philosophy of Sufficiency Economy of people domiciliating in Bangkok Area
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษา เรื่องความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่มีภูมิลําเนาในเขต กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันและเป็น แนวทางการเผยแพร่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการศึกษาครั้งนี้ทําการศึกษาจากกลุ่ม ตัวอย่างจากผู้ที่มีภูมิลําเนาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุไม่ต่ํากว่า 15 ปีจํานวน 400 ราย ในช่วง เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 โดยนําข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่า มัชฌิมเลขคณิต (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Inductive Statistics) ได้แก่ สถิติการ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t – test) การวิเคราะห่ความแปรปรวนทางเดียว (F – test: One – way Analysis of Variance) และค่าสัมประสิทธสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัว แปรตาม ผลการศึกษา พบว่าผู้ที่มีภูมิลําเนาในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความ เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่อายุสถานภาพสมรส ลักษณะครอบครัว สถานะของการอยู่อาศัย ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ระดับ การศึกษา พื้นฐานการศึกษาอาชีพ ประสบการณ์ทํางาน การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพีย ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การออมเงิน และการบริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณประโยชน์ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ เพศถิ่นที่กําเนิด ถิ่นที่เติบโต ศาสนาความถี่ของการ ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการได้รับการอบรมความรู้ความเข้าใจ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาระหนี้สิน สถานภาพทางสังคม ประสบการณ์เข้าร่วมกิจกรรมที่ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและการอาศัยในชุมชนที่นําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ ภาครัฐควรส่งเสริมให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้ความ เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการเปิดให้มีหลักสูตรรวมถึงการเขียนตํารา/หนังสือเรียนที่ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้นควบคู่กับการพัฒนารูปแบบให้น่าสนใจมากขึ้น เพื่อจะได้เข้าถึงประชาชนทุกลําดับชั้น เนื่องจากปัจจุบันจะเห็นว่าการนําเสนอผ่านสื่อมวลชน สามารถให้ความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับผู้ที่มีการศึกษาสูงได้ค่อนข้างดีแล้ว แต่ยังไม่สามารถสื่อสารให้ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ําเข้าใจได้ควรใช้รูปแบบการนําเสนอแบบใหม่ ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009