แนวทางการเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมไทยในการปฏิบัติตามระเบียบผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานของสหภาพยุโรป
by สุทธิสาร์ ดำรงค์เผ่า
Title: | แนวทางการเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมไทยในการปฏิบัติตามระเบียบผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานของสหภาพยุโรป |
Other title(s): | A readiness approach for Thai Industries to EU Directive on Energy-Using Products (EUP) |
Author(s): | สุทธิสาร์ ดำรงค์เผ่า |
Advisor: | วรางคณา ศรนิล, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2011 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2011.73 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบของระเบียบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ พลังงาน (Energy-using Products: EuP) ของสหภาพยุโรปต่อภาคอุตสาหกรรมไทย และ เสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมไทยในการปฏิบัติตามระเบียบ EuP โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระเบียบ EuP และสถานประกอบการนําร่องที่เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับระเบียบ EuP ของสถาบันไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์และการสํารวจข้อมูลจากแบบสอบถามสถานประกอบการประเภทผลิตภัณฑ์ที่ใช้ พลังงานที่มีการส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรปเพื่อเป็นข้อมูลทั้งหมดมาประกอบการวิเคราะห์สภาวะ แวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและภายนอก ที่เกี่ยวข้องและประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางต่างๆโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนําเสนอแนวทางใน การเตรียมพร้อมภาคอุตสาหกรรมไทยให้ปฏิบัติตามระเบียบ EuP ผลการศึกษาพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญได้รับผลกระทบจากระเบียบ EuP ซึ่งมีทั้ง ผลกระทบทางบวกและลบ โดยส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในระดับสูง ส่วนผลกระทบในระดับ ปานกลางได้แก่ ด้านวัตถุดิบ/เครื่ องมือ/ อุปกรณ์และเทคโนโลยีด้านบุคลากร และด้านบริหาร จัดการ อย่างไรก็ตาม สถานประกอบการได้มีการเตรียมความพร้อมตามระเบียบ EuP ในด้าน ต่างๆ โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบและการบริหารจัดการที่มีความพร้อมในระดับสูง เพราะมีการ ดําเนินการตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศอยู่แล้ว เช่น CE Marking, WEEE และ RoHs ส่วนด้านเศรษฐศาสตร์มีความพร้อมในระดับปานกลาง และด้านทักษะความรู้และบุคลากร มีความพร้อมในระดับต่ํา กล่าวคือสถานประกอบการยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความ เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระเบียบ EuP จากการวิเคราะห์ SWOT Analysis และการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ทําให้ได้แนวทางในการเตรียมความพร้อมฯ 4 แนวทางหลักคือ 1) การเสริมสร้างความรู้/ความตระหนัก และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน 2) มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ 3) การพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ EuP และ 4) การประสานความร่วมมือในการดําเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011 |
Subject(s): | ระเบียบผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานของสหภาพยุโรป
อุตสาหกรรม -- แง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม -- การอนุรักษ์พลังงาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม -- ไทย -- แง่สิ่งแวดล้อม |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 13, 166 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2054 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|