ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ
by ชุติมา ตุ๊นาราง
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ |
Other title(s): | Factors influencing public participation in solid waste management in Samutprakarn Municipality |
Author(s): | ชุติมา ตุ๊นาราง |
Advisor: | บุญจง ขาวสิทธิวงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2010 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการแสดงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมต่อสังคม(CSRDIW) 2551 และ 2552โดยศึกษาถึงตัวแปรที่มีนัยสำคัญใน การจำแนกกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการCSRDIWกับผู้ไม่ได้เข้าร่วมโครงการCSRDIWออกจากกัน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยมีกลุ่มสถานประกอบการอุตสาหกรรมจำนวน 170 โรงงาน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ CSRDIW 2551 และ 2552 จำนวน 85 โรงงานและกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ CSRDIW 2551 และ 2552จำนวน 85 โรงงาน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาและใช้เทคนิคการวิเคราะห์จำแนกประเภท Discriminant Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของตัวแปรต่างๆที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วม โครงการCSRDIW 2551 และ 2552นอกจากนี้ได้ดำเนินการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ดูแลรับผิดชอบโครงการ CSRDIW จำนวน 1 ราย และเจ้าหน้าที่ที่ดูแล โครงการ CSRDIW ของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 5 ราย ผลการศึกษาพบว่าสมการที่ได้สามารถทำนายการเข้ากลุ่มของกลุ่มตัวอย่างได้ถึง 81.2% โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการแสดงความรับผิดชอบของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม(CSRDIW) 2551 และ 2552ตามลำดับจากมากไป น้อย อันดับแรกได้แก่ ปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัจจัยด้านการส่งออกไปต่างประเทศ ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และปัจจัยด้านลักษณะของการลงทุนเป็นบริษัทของคนไทย จาก การศึกษายังพบอีกว่าสถานประกอบการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับโครงการในระดับน้อยและบางส่วนรับรู้ข้อมูลหลังจากที่โครงการดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ผลจากการสัมภาษณ์พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม โดยพบว่า ปัจจัยที่ทำให้สถานประกอบการเข้าร่วมโครงการCSR-DIW คือด้านวิสัยทัศน์และนโยบายของ ผู้บริหารและด้านประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ ข้อเสนอแนะสำหรับการส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการดำเนินงานด้าน CSR ได้แก่ ควรมีการกระตุ้นให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการดำเนินการด้านCSR และเข้าร่วมโครงการ CSR-DIW ควรสนับสนุนช่วยเหลือสถานประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในการดำเนินการ รวมทั้งควรมีการประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กรแก่ผู้ประกอบการให้ทั่วถึงมากขึ้น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010 |
Subject(s): | การกำจัดขยะ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 12, 195 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2068 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|