• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยและกลยุทธ์การขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนในประเทศไทย

by เบญจมาศ เอี่ยมหนู

Title:

ปัจจัยและกลยุทธ์การขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนในประเทศไทย

Other title(s):

Factors and strategy for the registration of carbon reduction label in Thailand

Author(s):

เบญจมาศ เอี่ยมหนู

Advisor:

วิสาขา ภู่จินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2010

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2010.102

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขอขึ้นทะเบียนฉลากลด คาร์บอนของภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตในประเทศไทย รวมถึงศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการ ขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอน เพื่อน ามาก าหนดกลยุทธ์ในการขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอน ให้กับภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ทำการขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอน อีกทั้งเพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานในการขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนของ อุตสาหกรรมในประเทศไทยด้วย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการ สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบการขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 หน่วยงาน และใช้การสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฉลาก ลดคาร์บอนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจำนวน 6 บริษัท และการใช้แบบสอบถามกับโรงงานอุตสาหกรรม การผลิตในประเทศไทย จ านวน 400 โรงงาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การแจงนับ ความถี่, ค่าสถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ไคสแควร์, F-test ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนของ ภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตในประเทศไทย คือ ขนาดอุตสาหกรรมและรูปแบบการขายสินค้า สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนของโรงงาน อุตสาหกรรมในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ การขาดการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในเรื่องของ ฉลากลดคาร์บอนให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคทั่วไปทราบ รวมถึงขั้นตอนกระบวนการเก็บ ข้อมูลที่ค่อนข้างยุ่งยากและล่าช้า และการไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของฉลากลดคาร์บอนในภาค ธุรกิจเล็กๆ รวมถึงการไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ประกอบการอื่นๆ ซึ่งสามารถนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์การขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอนโดยกำหนดเป็นประเด็นหลักดังนี้ 1) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมสนับสนุน 2) กลยุทธ์ด้านการรณรงค์ 3) กลยุทธ์ด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ 4) กลยุทธ์ ด้านกระบวนการผลิต สำหรับข้อเสนอแนะในการขอขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1) ควรส่งเสริมและสนับสนุนใน เรื่องของงบประมาณในการขอขึ้นทะเบียนฉลากลดคาร์บอน โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก 2) ควรส่งเสริมและสนับสนุนในสินค้าที่มีฉลากลดคาร์บอนบนผลิตภัณฑ์ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว 3) ควรเร่งการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของฉลากลดคาร์บอน 4) ควรปรับปรุงกระบวนการ/ กฎเกณฑ์ใน การขอขึ้นทะเบียนให้เหมาะสมกับลักษณะของเทคโนโลยีและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 5) ควรมีการคิดค่าใช้จ่ายตามกระบวนหรือขั้นตอนของการขอขึ้นทะเบียนในแต่ละขั้นตอน เพื่อลด ปัญหาการสิ้นเปลืองงบประมาณในกรณีที่บริษัทที่มาขอขึ้นทะเบียนขอยกเลิกกลางคันในระหว่าง การขอขึ้นทะเบียน

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010

Subject(s):

ผลิตภัณฑ์สีเขียว

Keyword(s):

ฉลากลดคาร์บอน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

12, 150 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2070
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b171194.pdf ( 1.99 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×