สังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน
by วลัญชา สุพรรณธริกา
Title: | สังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน |
Other title(s): | Green sustainability happiness society |
Author(s): | วลัญชา สุพรรณธริกา |
Advisor: | สมพจน์ กรรณนุช, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2012 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสังคมอุดมสุขที่ยังยืน 2) เพื่อจัดทําเกณฑ์ ตัวชี้วัดสังคมอุดมสุขที่ยังยืน และ 3) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน และประเมินความเป็นสังคมอุดม สุขที่ยังยืนของชุมชนราชธานีอโศก โดยมีวิธีการศึกษา คือ ศึกษาวรรณกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนรูปแบบสังคมอุดมสุข โดยใช้หลักการการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นข้อบ่งชี้ สังคมอุดมสุขที่ยังยืน และใช้เป็นมาตรฐานสําหรับการศึกษาพื้นที่ตัวอย่าง คือ ชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาภาคสนามประกอบด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสอบถาม และการสัมภาษณ์เพื่อค้นหาลักษณะเฉพาะตามรูปแบบสังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบสังคมอุดมสุขที่ยั่งยืนประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพอนามัยของมนุษย์ สวัสดิการของมนุษย์ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมกายภาพและชีวภาพ และ ระบบนิเวศโดยรวม การพัฒนาของสังคมที่ดี คือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล โดยไม่ก่อ ผลกระทบทางลบต่อองค์ประกอบต่าง ๆ โดยเป้าหมายของสังคมอุดมสุขที่ยังยืน คือ สมาชิกในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีทั้ งกายและจิตใจ ได้รับการจัดสวัสดิการที่ดี ครบถ้วน ได้อยูในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปราศจากมลพิษ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งระบบนิเวศมีความมั่นคงยังยืน จัดทําเกณฑ์ชี้วัดได้ 47 ตัว การพัฒนาชุมชนของราชธานีอโศก มีลักษณะเป็นสังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน โดยสามารถผ่านเกณฑ์ชี้วัดสังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน ทั้ งหมด 47 ประเด็น มีความเป็นสังคมอุดมสุขที่ยังยืนในระดับสูง สามารถอธิบายได้ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพอนามัยของมนุษย์สมาชิกชุมชนมีสุขภาพที่ดีทั้งทางกายทางใจ กล่าวคือ มี ร่างกายที่แข็งแรง ได้รับปัจจัย 4 ที่ครบถ้วน อุดมสมบูรณ์มีความเป็นอยู่กินใช้แบบไร้สารพิษ มีบริการด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาลแก่สมาชิกทุกคน และสมาชิกชุมชนมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่มี ภาวะเครียด เอื้อเฟื้อเสียสละเพื่อผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม 2) ด้านสวัสดิการของมนุษย์ ชุมชนมีความอยู่ดีกินดี สามารถผลิตปัจจัยพื้นฐาน และมอบบริการ ให้แก่สมาชิกได้อย่างครบถ้วน สามารถพึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาจากภายนอก สมาชิก ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมสังคมที่ดี ปราศจากปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามัคคี ปลูกฝั่งคุณธรรมให้แก่สมาชิก สนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ โดยมีปฏิสัมพันธ์กบโลกภายนอก นําความรู้และเทคโนโลยีมาพัฒนาชุมชนได้อย่างเหมาะสม มีแหล่ง นันทนาการและศิลปะที่ส่งเสริมคุณธรรม กล่อมเกลาจิตใจ 3) ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมกายภาพ ชีวภาพ ของชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่เสื่อมโทรม สามารถเอื้อต่อคุณภาพชีวิตแก่สมาชิกได้ ทั้งในแง่ทรัพยากรพื้นฐานการผลิต และในแง่ปัจจัย แวดล้อม มีคุณภาพที่ดี ปราศจากมลพิษ เป็นผลมาจากชุมชนมีการดําเนินกิจกรรมที่ลดการก่อมลพิษ และใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้หลักการหมุนเวียนทรัพยากร 4) ระบบนิเวศโดยรวม ระบบนิเวศของชุมชนมีความสมดุล มีความมั่นคง ไม่พบความเสื่อมโทรม กล่าวคือ การดําเนินกิจกรรมของชุมชนลดการเบียดเบียนระบบนิเวศ ไม่ทําลายระบบนิเวศ ด้วยการทํากสิกรรมธรรมชาติ มีการอนุรักษ์ป่าทำเป็นการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และ มีวิถีชีวิตที่กลมกลืนกบธรรมชาติ ปรับการใช้ชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ตนอาศัย ปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้ชุมชนราชธานีอโศกสามารถเข้าข่ายสังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน เนื่องจาก 1) การใช้หลักศีลธรรม หลักธรรมอื่นๆของพุทธศาสนามาบริหารปกครองชุมชน ทําให้แนวทางการ พัฒนาชุมชนตั้งอยูบนศีลธรรม เน้นพัฒนาให้เกิดคนดีมีคุณธรรม โดยมีผู้นําชุมชน เป็นผู้พาปฏิบัติ จึงทําให้เกิดสังคมที่ดี มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ 2) มีการดําเนินชีวิตที่สอดคล้องกบธรรมชาติ เลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน มีแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากตัวแบบและเกณฑ์ชี้วัดสังคมอุดมสุขที่ยังยืน ชุมชนอื่นๆ หรือหน่วยงานภาครัฐ สามารถนําไปใช้เป็นแนวการพัฒนาชุมชน หรือนโยบายในการพัฒนาสังคมเป้าหมายเพื่อความสุข ของประชาชนต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 175 แผ่น : ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2076 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|