• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย : กรณีศึกษาชาวนาจังหวัดลพบุรี

by สุพัดชา โอทาศรี

Title:

การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย : กรณีศึกษาชาวนาจังหวัดลพบุรี

Other title(s):

Existence of Thai farmers : a case study of farmers in Lopburi Province

Author(s):

สุพัดชา โอทาศรี

Advisor:

สุวิชา เป้าอารีย์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2011

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2011.46

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย ใน จังหวัดลพบุรี 2) ศึกษาเงื่อนไขของการดำรงอยุ่ของอาชีพชาวนาไทยในจังหวัดลพบุรีและ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทยในจังหวัดลพบุรีผู้ ศึกษาได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญรวมทั้งสิ้น 45 คน คือ ชาวนาในจังหวัดลพบุรีจํานวน 33 คน และเจ้าหน้าทที่เกษตรระดับจังหวัด และระดับเกษตรอำเภอ ในจังหวัดลพบุรีจํานวน 12 คน โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรม และกระบวนการกลุ่ม ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจําแนกข้อมูลเป็นหมวดหมู่หาความหมายและความเชื่อมโยงของประเด็นต่างๆ ภายใต้บริบทที่เป็นอยู่แล้วนั้นเสนอผลการศึกษาเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทยในจังหวัดลพบุรีมี จํานวนชาวนาที่อยู่ในพื้นที่เขตชลประทานเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากการมีแหล่งน้ำทที่อุดมสมบรูณ์ พื้นที่เหมาะสมแก่การทำนา มีเครื่องมือทางการเกษตรที่ทันสมัย ช่วยทุ่นแรงให้กับชาวนาได้ทํานา ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยั งมีแรงงานภาคเกษตรที่ช่วยในการทำนาแทนชาวนาได้อีกด้วย ตลอดจนการสนับสนุนทางนโยบายการเกษตรของรัฐบาล แต่สําหรับชาวนาที่อยู่นอกเขตพื้นที่ชลประทานกลับมีจํานวนชาวนาลดลงจากเดิม ทั้งนี้เพราะไม่มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ต้องรอเพียง นํ้าฝนในการทํานาเท่านั้น จึงสามารถทำนาได้เพียงปีละหนึ่งคร้ัง นอกจากนี้ต้นทุนการทำนาก็สูงขึ้น ราคาผลผลิตตกต่ำ อีกท้ังยังประสบภัยธรรมชาติต่างๆ จึงทําให้ชาวนาที่อยู่นอกเขตพื้นที่ ชลประทานบางส่วนเปลี่ยนไปทำไร่อ้อยแทนการทำนา เพราะว่าได้ราคาดีและมีวิธีปฏิบัติที่ง่ายกว่า การทำนาอย่างไรก็ตามจานวนของชาวนาในจังหวัดลพบุรีในอนาคต โดยรวมอาจจะมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น เป็นเพราะความแตกต่างทางการสนับสนุนเชิงนโยบายของรัฐบาลแต่ละรัฐบาลในด้านเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของชาวนาไทยในจังหวัดลพบุรีสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของชาวนาไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านที่ดินและแหล่ง นํ้า ปัจจัยด้านวิธีการทำนา ปัจจยด้านการเงิน ปัจจยด้านนโยบาย และปัจจัยด้านวิถีการดำเนินชีวิต และ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลิกทานาของชาวนาไทย ได้แก้ ปัจจยด้านการย้ายถิ่น ปัจจัยด้าน ความหลากหลายของอาชีพในจังหวัดลพบุรีและปัจจัยด้านการสืบทอดของลูกหลาน ปัญหาและอุปสรรคที่ เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของชาวนาในจังหวัดลพบุรี 1) ปัญหาเรื่อง แหล่งน้ำ และภัยทางธรรมชาติเนื่องจากไม่มีการจัดการบริหารเรื่องแหล่งน้ำทที่ดีถึงแม้เป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตชลประทานแต่ก็ยังพบปัญหาการขาดแคลนน้ําสําหรับชาวนาที่อยู่นอกเขตพื้นที่ ชลประทาน และปัญหาการจัดการกับน้ำที่มีในปริมาณที่มากเกินไป ไม่มีสถานที่สําหรับระบายน้ำ เมื่อถึงฤดูนํ้ าหลาก 2) ปัญหาการแทรกแซงจากนักการเมืองท้องถิ่น ทําให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงาน เกษตรอำเภอและเกษตรจังหวัดไม่สามารถควบคุมการกำหนดระยะเวลาการทำนาให้กับชาวนาใน จังหวัดลพบุรี3) ปัญหาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ 4) ความไม่แน่นอนของราคาผลผลิตและการขนส่งที่เป็นไปด้วยความลำบากระยะทางไกลจึงไม่สามารถขาย ผลผลิตตามโรงสีได้จึงจำเป็นต้องขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อถึงที่แทน ถึงแม้ราคาจะต่ำกว่าก็ตาม 5) ปัญหาจากการสนับสนุนเชิงนโยบายในลักษณะประชานิยมของรัฐบาล ที่ให้การ ช่วยเหลือชาวนามากเกินไป ทําให้ต่อไปชาวนาจะไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้จะรอคอยการ ช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอยางเดียว ซึ่งจะทำให้รัฐบาลต้องแบกภาระมากขึ้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาได้แก่ 1) ควรมีการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย การดำเนินตามแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่ด้วยการปลูกพืชให้หลากหลายมากกว่าการทำนาเพียง อย่างเดียวให้ชาวนารู้จักพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ไม่จําเป็นต้องรอคอยความช่วยเหลือจากภาครัฐ 2) ควรส่งเสริมความรู้ให้กับชาวนาให้มีความรู้มากขึ้น เช่น เรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว การใช้วัสดุใน ท้องถิ่น ต้องเข้าใจวิถีชีวิตของตนเองอยู่กับธรรมชาติให้ได้ 3)ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนภาค เกษตรกรรมให้มากขึ้นและจริงจังอีกทั้งยังต้องมีการปลูกฝังอาชีพทำนาสนับสนุนแหล่งเงินทุนแก่ ชาวนาแต่ต้องตัดการให้เชิงประชานิยม

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011

Subject(s):

ชาวนา -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

11, 179 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2080
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b175667.pdf ( 2.42 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×