การนำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2002-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2009 ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
by ฉมานันท์ แก้วอินต๊ะ
Title: | การนำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2002-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2009 ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
Other title(s): | Implementation of the 2nd National Elderly Plan (2002-2021), the 1st Revised Version (2009) : a case study of Wiangsa District of Nan Province |
Author(s): | ฉมานันท์ แก้วอินต๊ะ |
Advisor: | สุวิชา เป้าอารีย์, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2011 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2011.47 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนำแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงไปปฏิบัติ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงไปปฏิบัติ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข การนำแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงไปปฏิบัติ ผู้ ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และบุคคลผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ รวมจำนวน 49คน คือกลุ่ม เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติตามนโยบายระดับจังหวัด จำนวน 2 คนกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติตาม นโยบายระดับท้องถิ่นจำนวน 32 คน ประธานชมรมผู้สูงอายุจำนวน15คน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิง คุณภาพเป็นหลัก ได้แก่แนวทางการสนทนาหรือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมไปจนถึงการสังเกต พฤติกรรม กระบวนการกลุ่ม และการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ผลการศึกษา พบว่า การนำแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงไปปฏิบัติองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เป็นผู้การดำเนินกิจกรรมต่างๆด้านผู้สูงอายุ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทั้งผู้สูงอายุที่เป็น กลุ่มเป้าหมาย ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจและไม่ได้มีการศึกษาเรื่องแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงอย่าง จริงจัง ข้อค้นพบที่เกิดขึ้นในการศึกษาครั้งนี้คือการดำเนินกิจกรรมทางด้านผู้สูงอายุขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ยึดหลักการพัฒนาตามแผนพัฒนาขององค์กรนั้นๆ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ สามารถทราบได้ว่ากรอบการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงเป็นเช่นไร อีกทั้งยังไม่ทราบว่าลักษณะการดำเนินกิจกรรมทางด้านผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาของหน่วยงานตนเองนั้น มี ความสอดคล้องเป็นไปตามยุทธศาสตร์ มาตรการในการดำเนินงานของแผนผู้สูงอายุฯฉบับ ปรับปรุงอีกด้วยการนำแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงไปปฏิบัติในครั้งนี้ประสบความล้มเหลวเพราะปัจจัยที่ สำคัญ ดังนี้1)การขาดการประชาสัมพันธ์ ขาดการเผยแพร่ และการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในการดำเนินงานให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอย่างทั่วถึง2) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้ ความ เข้าใจในเรื่องแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงเพราะไม่มีการรับรู้ในเรื่องแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุง ตั้งแต่เริ่มแรกของการดำเนินงาน จึงไม่มีผลการนำแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงไปปฏิบัติในขั้นตอน อื่นๆเช่นกัน ปัญหาและอุปสรรคได้แก่1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เฉพาะในส่วนงานที่ตนเอง รับผิดชอบเท่านั้นยังไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องการนำแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงไปปฏิบัติ ขาดการบูรณาการในการทำงานร่วมกันและยังขาดความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ ผู้สูงอายุ2) งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานยังไม่มีความเพียงพอและยังไม่เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกบผู้สูงอายุในระดับท้องถิ่นเท่าที่ควร 3)การขาดการสนับสนุนเชิงนโยบายจาก รัฐบาลและขาดการส่งเสริมการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุให้เป็นไปตามแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุง อย่างจริงจังที่จะทำให้หน่วยงานทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญ ทำให้เกิดการ ดำเนินงานด้านผู้สูงอายุที่เริ่มมาจากระดับฐานรากในขั้นของการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัย ผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรปรับปรุงและพัฒนาบทบาทหน้าที่ความ รับผิดชอบ และสมรรถนะในการดำเนินงานของตนเองให้มีความพร้อมทั้งในด้านความรู้ ความ เข้าใจ มีความกระตือรือร้นสนใจที่จะศึกษาในแผนผู้สูงอายุฯฉบับปรับปรุงอย่างจริงจังและสามารถ นำแผนไปสู่การปฏิบัติได้อยางมีประสิทธิภาพ 2) ให้ความสำคัญในเรื่องศักยภาพและความพร้อม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับท้องถิ่นในการนำแผนผู้สูงอายุฯ ฉบับปรับปรุงไปสู่การปฏิบัติโดยให้องค์กรหรือบุคลากรเหล่านี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิด วางแผน มาตรการ แนวทางในการดำเนินกิจกรรมทางด้านผู้สูงอายุ3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาค ส่วนควรมีการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและลดความซ้ำซ้อน ในการดำเนินงาน เกิดความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมเกิดการรับรู้ในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมกัน สามารถที่จะนำความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่นั้นมาลงมือในส่วนของการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011 |
Subject(s): | การวางแผนผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ -- นโยบายของรัฐ -- ไทย -- น่าน -- เวียงสา |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 11, 206 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2081 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|