• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การบูรณาการระหว่างการนับถือพุทธศาสนา จิตลักษณะ และสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการปรับตัวเมื่อสูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิตของผู้ใหญ่ไทย

by เกียรติภูมิ ชาภักดี

Title:

การบูรณาการระหว่างการนับถือพุทธศาสนา จิตลักษณะ และสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการปรับตัวเมื่อสูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิตของผู้ใหญ่ไทย

Other title(s):

Integration of Buddhist belief and practice, psychological characteristics and sithational factors on adjustment after bereavement of Thai Adults

Author(s):

เกียรติภูมิ ชาภักดี

Advisor:

ดุจเดือน พันธุมนาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2012.32

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ มีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหาปัจจัย เชิงเหตุของการปรับตัวของผู้ใหญ่ไทยเมื่อสูญเสียบุคคลสําคัญในชีวิต รวมทั้งการแสวงหากลุ่ม เสี่ยงที่มีพฤติกรรมการปรับตัวในปริมาณน้อย พร้อมกับเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผ่านปัจจัย ปกป้องที่สําคัญ การวิจัยเรื่องนี้มีกรอบแนวคิดพื้นฐานในการวิจัยมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎีและหลักการที่สําคัญทางจิตพฤติกรรมศาสตร์ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มญาติของผู้สูญเสีย จํานวน 450 คน แบ่งเป็นกลุ่มญาติเพศชาย 229 คน (50.89%) และกลุ่มญาติเพศหญิง 221 คน(49.11%) จากในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล มีอายุเฉลี่ย 35.16 ปี ซึ่งได้มากจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นกําหนดโควตา ตัวแปรในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มการนับถือศาสนา 3 ตัวแปร คือ ความเชื่อทาง พุทธศาสนา วิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา และวิถีชีวิตทางพุทธศาสนา 2) กลุ่มจิตลักษณะเดิม 4 ตัว แปร คือ สุขภาพจิต ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการปรับตัวทางจิต สังคม 3) กลุ่มสถานการณ์ 3 ตัวแปร คือ ประสบการณ์การสูญเสีย การสนับสนุนจากครอบครัว และการสนับสนุนจากองค์กร 4) กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ 2 ตัวแปร คือ การมองโลกใน แง่ดี และการเปรียบเทียบทางสังคม และ 5) กลุ่มการปรับตัว 3 ตัวแปร คือ การปรับตัวด้านอารมณ์ การปรับตัวด้านสังคม และการปรับตัวด้านเศรษฐกิจ ผลการวิจัยที่สําคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการที่แรก ตัวทํานายกลุ่มการนับถือศาสนา จิตลักษณะเดิม สถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถทํานาย 1) การปรับตัวด้าน อารมณ์ในกลุ่มรวมได้ 47.2% โดยมีตัวทํานายที่สําคัญเรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ สุขภาพจิติถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา การเปรียบเทียบทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การปรับตัวทาง จิตสังคม และความเชื่อทางพุทธศาสนา และทํานายได้สูงสุดในกลุ่มญาติที่มีความสัมพันธ์ไม่ ใกล้ชิด 70.1% 2) ปรับตัวด้านสังคมในกลุ่มรวมทํานายได้ 54.4% โดยมีตัวทํานายที่สําคัญ เรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ สุขภาพจิต การสนับสนุนจากครอบครัว การปรับตัวทางจิตสังคม การสนับสนุนจากองค์กร การเปรียบเทียบทางสังคม ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน วิถีปฏิบัติทาง พุทธศาสนา วิถีชีวิตทางพุทธศาสนา แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และประสบการณ์การสูญเสีย และ ทํานายได้สูงสุดในกลุ่มญาติที่มีความสัมพันธ์ไม่ใกล้ชิด 79.7% และ 3) การปรับตัวด้านเศรษฐกิจ ในกลุ่มรวมทํานายได้ 45.0% โดยมีตัวทํานายที่สําคัญเรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ การมองโลก ในแง่ดี การเปรียบเทียบทางสังคม ประสบการณ์การสูญเสีย ความเชื่อทางพุทธศาสนา การ สนับสนุนจากองค์กร สุขภาพจิต แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และ ทํานายได้สูงสุดในกลุ่มญาติที่มีการศึกษาน้อย 64.5% ประการที่สอง ผลการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้นปรากฏว่า การปรับตัวของญาติที่สูญเสีย บุคคลสําคัญได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ ประการแรก การปรับตัวด้านอารมณ์ ได้รับ อิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุเรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) สุขภาพจิต 2)แรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ 3)การเปรียบเทียบทางสังคม 4) วิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา 5)การปรับตัวทางจิตสังคม และ 6) ความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปร ปรวนของการปรับตัวด้านอารมณ์ได้ 46% ประการที่สอง การปรับตัวด้านสังคมได้รับอิทธิพล ทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุเรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) สุขภาพจิต 2) ลักษณะมุ่งอนาคต ควบคุมตน 3) การสนับสนุนจากครอบครัว 4) การสนับสนุนจากองค์กร 5) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 6) วิถีชีวิตทางพุทธศาสนา 7) การปรับตัวทางจิตสังคม 8) วิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา และ 9) ประสบการณ์การสูญเสีย โดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของ การปรับตัวด้านอารมณ์ได้ 53% และประการสุดท้าย การปรับตัวทางเศรษฐกิจได้รับอิทธิพล ทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุเรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การเปรียบเทียบทางสังคม 2) การ มองโลกในแง่ดี 3) ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน 4) การสนับสนุนจากองค์กร 5) สุขภาพจิต 6) ความเชื่อทางพุทธศาสนา 7) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ 8) ประสบการณ์การสูญเสีย โดยตัว แปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปรับตัวด้านอารมณ์ได้ 44% ประการสุดท้าย กลุ่มญาติที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนา คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมการ ปรับตัว 3 ด้านน้อย คือ 1) กลุ่มญาติที่มีผู้สูญเสียที่เป็นที่พึ่งหลักของครอบครัว 2) กลุ่มญาติที่มี รายได้มาก และ 3) กลุ่มญาติที่มีความสัมพันธ์ไม่ใกล้ชิด โดยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรได้รับการ พัฒนาสุขภาพจิต และการปรับตัวทางจิตสังคม

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012

Subject(s):

การปรับตัว (จิตวิทยา)

Keyword(s):

จิตลักษณะ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

13, 330 แผ่น : 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2083
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b175654.pdf ( 1.65 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×