การประเมินผลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : กรณีศึกษา สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดสมุทรสงคราม
by กนกวรา พวงประวงค์
Title: | การประเมินผลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : กรณีศึกษา สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดสมุทรสงคราม |
Other title(s): | The evaluation of student loan fund : a case study of vocational education institutions in Samutsongkhram Province |
Author(s): | กนกวรา พวงประวงค์ |
Advisor: | สุวิชา เป้าอารีย์, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2011 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2011.49 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาใน ด้านจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิต และผลลัพธ์ โดยมีสถานศึกษาระดับ อาชีวศึกษาในจังหวัดสมุทรสงครามเป็นกรณีศึกษา ค้นหาญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา วิธีการประเมินผลในครั้งนี้ได้นำรูปแบบการประเมิน ได้แก่ การประเมินเชิงระบบ (InputOutput Model) ของKatz and Kahn และรูปแบบการประเมิน IPOO มาดัดแปลงและ ประยุกต์ใช้ในการประเมินผล โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาในระดับอาชีวศึกษาที่เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษารายใหม่ในปีการศึกษา 2554 โดยแบ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม (Questionnaire)จ านวน 362 คน และการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนา กลุ่ม Focus Group) สถานศึกษาละ 3 คนรวมจำนวน9 คน กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและ อาจารย์ผู้ปฏิบัติงานด้านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก (InDepth Interview) สถานศึกษาละ 2 คน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาแห่งละ 1 คน และอาจารย์ผู้ปฏิบัติงานด้านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแห่งละ คน รวมจำนวน 6 คน ซึ่งในการประเมินผลครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน(Standard Deviation) ผลการศึกษา พบว่า 1. ผลการดำเนินงานในภาพรวม ได้แก่ 1.1 การประเมินปจจัยนำเข้า ปรากฏผลว่า นักเรียนนักศึกษา ผู้บริหาร สถานศึกษา และอาจารย์ผู้ปฏิบัติงาน มีความเห็นสอดคล้องกันว่าปัจจัยนำเข้ามีความเพียงพอและเหมาะสมดีในระดับหนึ่ง โดยในด้านความ จำเป็นและคุณค่าของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษาเป็นด้านที่มีการดำเนินงานได้ดีที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24) 1.2 การประเมินกระบวนการดำเนินงาน ปรากฏผลว่า นักเรียนนักศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และอาจารย์ผู้ปฏิบัติงานมีความเห็นสอดคล้องกันว่า กระบวนการ ดำเนินงานเป็นระบบดีในระดับหนึ่ง โดยในด้านการให้บริการเป็นด้านที่มีการดำเนินงานได้ดี ที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12) 1.3 การประเมินผลผลิต ปรากฏผลว่า นักเรียนนักศึกษามีความเห็นว่าผลผลิต จากการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21) ส่วนผู้บริหารสถานศึกษา และอาจารย์ผู้ปฏิบัติงานมีความเห็นสอดคล้องกันว่า การดำเนินงานสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ใน ระดับหนึ่งเท่านั้น 1.4 การประเมินผลลัพธ์ ปรากฏผลว่า นักเรียนนักศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และอาจารย์ผู้ปฏิบัติงานมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ผลลัพธ์จากการดำเนินงานสร้างความ พึงพอใจและสร้างเสริมจิตสำนึกในการใช้จ่ายเงินและจิตสำนึกต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21) 2. ปัญหาหรืออุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินงาน ได้แก่ (1) ความไม่เพียงพอของ งบประมาณที่ทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจัดสรรให้แก่สถานศึกษา รวมไปจนถึงความ ไม่เพียงพอของค่าครองชีพของนักเรียนนักศึกษา (2) ความกระชั้นชิดของระยะเวลาในการ ประสานงานทางด้านข่าวสารและคำสั่งระหว่างกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม และสถานศึกษา (3) ความไม่เพียงพอของจำนวน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา (4) การขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่างๆ ในการกู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษาของนักเรียนนักศึกษา และ (5) ความล่าช้าของระบบอินเทอร์เน็ตภายในสถานศึกษา 3. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ได้แก่ 3.1 รัฐบาลควรมีการเพิ่มงบประมาณให้แก่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มากขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการในการกู้ยืมเงินที่แท้จริงของนักเรียนนักศึกษา ทุกคน และควรเพิ่มวงเงินกู้ให้มีความเหมาะสมกับค่าครองชีพในปจจุบันมากขึ้น 3.2 ควรมีการติดต่อประสานงานที่เป็นระบบและเอื้อต่อการปฏิบัติงานระหว่าง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม และ สถานศึกษา 3.3 ควรมีการจัดสรรบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในแต่ละสถานศึกษาให้มีจำนวน เพียงพอและเหมาะสมกับการดำเนินงาน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011 |
Subject(s): | กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา -- ไทย -- สมุทรสงคราม --การประเมิน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 14, 246 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2084 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|